กลไกการท่องเที่ยววัฒนธรรมเชิงสร้างสรรค์ ตำบลหินโคน อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ Mechanisms of Creative Cultural Tourism in Hin Khon Subdistrict,Lam Plai Mat District, Buriram Province
Main Article Content
บทคัดย่อ
ชุมชนหินโคนอำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์เป็นชุมชนที่ศักยภาพการท่องเที่ยวที่หลากหลาวทางธรรมชาติ วัฒนธรรม โบราณวัตถุ และภูมิปัญญา กิจกรรมที่ดึงดูดสนใจ มีส่วนร่วมของคนในชุมชนและหน่วยงานภาครัฐช่วยส่งเสริมและพัฒนาแหล่งท่องเที่ยววัฒนธรรมเชิงสร้างสรรค์เป็นกลไกสำคัญในการจัดการท่องเที่ยววัฒนธรรม ดังนั้นการวิจัยมีวัตถุประสงค์ 1) ศึกษาศักยภาพแหล่งท่องเที่ยววัฒนธรรมตำบลหินโคน และ 2) วิเคราะห์กลไกการท่องเที่ยววัฒนธรรมเชิงสร้างสรรค์ตำบลหินโคน ผู้ให้ข้อมูลหลัก คือ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับการท่องเที่ยววัฒนธรรมเชิงสร้างสรรค์ จำนวน 1 รูป 29 คน ได้แก่ ผู้นำทางศาสนา ผู้นำชุมชน ปราชญ์ชาวบ้าน คนในชุมชน วัฒนธรรมจังหวัดบุรีรัมย์ โรงเรียนบ้านหินโคน และองค์การบริหารส่วนตำบลหินโคน เครื่องมือการวิจัยเป็นแบบสัมภาษณ์และการสนทนากลุ่ม
ผลการวิจัย พบว่า ศักยภาพของแหล่งท่องเที่ยวบ้านหินโคน ประกอบด้วย 1) ด้านทรัพยากร 2) ด้านสิ่งอำนวยความสะดวก 3) ด้านการเข้าถึงแหล่งท่องเที่ยว 4) ด้านการมีส่วนร่วมของชุมชน 5) ด้านการบริหารจัดการ และ 6) ด้านกิจกรรมการท่องเที่ยวในชุมชน ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับการท่องเที่ยววัฒนธรรมเชิงสร้างสรรค์มีส่วนร่วมในการประชุมวิเคราะห์ปัญหาและวางแผน การดำเนินการจัดการท่องเที่ยว การจัดสรรผลประโยชน์ การติดตามและประเมินผลการท่องเที่ยว ดังนั้นการมีส่วนร่วมของคนในชุมชนทำให้เกิดเป็นกลไกการท่องเที่ยววัฒนธรรมเชิงสร้างสรรค์ ตำบลหินโคน อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ คือ คำว่า “RACPA” ประกอบด้วย R = Resources คือ ทรัพยากรของชุมชนที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวให้มาเที่ยว ประกอบด้วย แหล่งท่องเที่ยวและภูมิปัญญาของชุมชนหินโคน A = Activity คือ ภูมิปัญญาที่ชุมชนนำมาทำเป็นกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยประสบการณ์จริงที่ C = Creative คือ การพัฒนาศักยภาพเชิงสร้างสรรค์ผ่านกิจกรรมการท่องเที่ยว, P = Public participation คือ การบริหารจัดการการท่องเที่ยวอย่างมีส่วนร่วมของภาคประชาชน และ A = Agency support คือ การได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานภาครัฐ
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
คณะกรรมการการท่องเที่ยวนโยบายการท่องเที่ยวแห่งชาติ.(2564). เเผนพัฒนาการท่องเที่ยวแห่งชาติฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2560 – 2564). สืบค้นเมื่อ 10 กรกฎาคม 2566. จาก https://www.mots.go.th/news-view.php?nid=1353.
ชัยชนะ สีละมุน ,สุรวุฒิ สายบุตร และสุเทพ ความรัมย์ (2567).การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของชุมชนบ้านร่อนทอง อำเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์. วารสารราชภัฏสุรินทร์วิชาการ, 2(1), 19-30.
ณัฏฐพัชร มณีโรจน์ (2560). การจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชน. วารสารการท่องเที่ยวิชาการระดับชาติ, 13 (2), 25 – 46.
พอใจ สิงหเนตร และคณะ. (2566) กลไกการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนของบ้านเหมี้ยง อำเภอปาน จังหวัดลำปาง. วารสารเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นสู่ความยั่งยืน, 5 (1), 71-92.
สุรีย์ บุญญานุพงศ และคณะ ( 2559). รายงานวิจัยแผนงานการบริหารจัดการและการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม เส้นทางอารยธรรมล้านนาเชื่อมโยงกับ สปป.ลาว สหภาพเมียนม่าร์และ สาธารณรัฐประชาชนจีน(ตอนใต้). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
สิรี ปันทะนุ และคณะ (2566).แนวทางการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมเวียงกุมกาม โดยการมีส่วนร่วมของชุมชนอย่างยั่งยืน ตำบลหนองผึ้ง อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่. วารสารช่วงผญา, 17 (1), 54 -65.
สำนักงานสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2564). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13. สืบค้นเมื่อ10 กรกฎาคม 2566. จากhttp://nscr.nesdc.go.th/nesdp/.
อมรา วีระวัฒน์และนรินทร์ สังข์รักษา (2562). การจัดการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรคอย่างยั่งยืนในเขตมรดกโลกพระนครศรีอยุธยา : พันธกิจที่ต้องทบทวน. Veridian E-Journal, 11(2), 3084 – 3097.
อัจฉริยาพร คันธมาลาเจริญ. (2564). การพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวในแนวทางการท่องเที่ยว 4.0 กรณีศึกษาพื้นที่ตำบลกื้ดช้าง อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่. ปริญญาการวางแผนภาคและเมืองมหาบัณฑิต สาขาวิชาการวางแผนผังเมืองและสภาพแวดล้อม.เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัยแม่โจ้.
Cohen, J.M.,& Uphoff, N.T. (1980). Participations place in rural development: Seeking clarity through specificity. New York: World Development.