ศึกษาวิเคราะห์คุณค่าของบุญประเพณีฮีตสิบสอง An Analytical Study of the Value of Tradition Merit of Heet Sibsong
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาบุญประเพณีฮีตสิบสอง 2) เพื่อศึกษาคุณค่าของบุญประเพณี ฮีตสิบสอง 3) เพื่อวิเคราะห์คุณค่าของบุญประเพณีฮีตสิบสอง การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยใช้วิธีการศึกษาเอกสารผู้วิจัยได้ศึกษาค้นคว้าเอกสาร
ผลการวิจัยพบว่า บุญประเพณีฮีตสิบสองเป็นบุญพิธีที่ปฏิบัติประจำแต่ละเดือนในรอบปีสืบทอดต่อเนื่องมาโดยนำวัฒนธรรมประเพณี ความเชื่อประสมประสานระหว่างพุทธศาสนา พราหมณ์และความเชื่อเรื่องภูตผีปีศาจ วิญญาณ เปรตเทวดาอารักษ์ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ มีอิทธิพลต่อวิถีชีวิตของชาวอีสานตั้งแต่เกิดจนตาย ความสำคัญของบุญประเพณีฮีตสิบสอง เพื่อได้รับทราบจุดหมายของบุญพิธี แนวการปฏิบัติต่าง ๆ เพื่อวิถีชีวิตที่อยู่ดีมีสุขและเป็นการอนุรักษ์ เกิดคุณค่าเป็นความสัมพันธ์ทางสังคมและวิถีชีวิตชาวบ้านที่อยู่กันแบบถ้อยทีถ้อยอาศัยและเกื้อกูลกัน เกิดความสัมพันธ์ทางสังคมและแนวทางที่มีผลถึงครอบครัว พร้อมกับการปลูกฝังและขัดเกลาจิตใจให้ลูกหลานได้เติบโตเป็นคนดีมีศีลธรรม ความสัมพันธ์ระหว่างบ้านกับวัดที่เป็นศูนย์กลาง จิตวิญญาณ สถานที่จัดงาน และ ความสัมพันธ์ระหว่างจริยธรรมกับสุนทรีย์ ความคิด และแนวทางการปฏิบัติ องค์ประกอบในบุญพิธีมีส่วนสำคัญในการช่วยส่งเสริม คือสร้างความรู้สึกทางจิตใจเพื่อความมั่นคงและปลอดภัยที่สามารถดำเนินชีวิตต่อไปได้ เกิดคุณค่าในด้านสุนทรียศาสตร์ และจริยศาตร์ ในบทบาทความรู้สึกทางจิตใจที่มั่นคงปลอดภัย เป็นเครื่องมือของสังคม การอนุรักษ์ ความเพลิดเพลินสวยงาม และบทบาทศิลปวัฒนธรรมประจำถิ่น
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กาญจนา แก้วเทพและสุขสม หินวิมาน. (2559).การวิเคราะห์สื่อ : แนวคิดและเทคนิค.กรุงเทพฯ : คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
กาญจนา คำผา. (2559). แนวทางการสืบทอดประเพณีฮีตสิบสองเพื่อการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน.ปรัชญาดุษฏีบัณฑิต. สาขาวิชาพัฒนศึกษา. ภาควิชาพื้นฐานทางการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ชลิต ชัยครรชิต.(2531).พัฒนาการชุมชนอีสานก่อนประวัติศาสตร์. ศิลปวัฒนธรรม 9,3 (มกราคม), 30-37.
ทวีศักดิ์ เยี่ยมเจริญ และคณะ.(2553).ประเพณีฮีตสิบสองคองสิบสี่เพื่อสร้างความสามัคคีของประชาชน.กรุงเทพฯ : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.
บุญทอม บุญรัตน์. (2550). การจัดระบบการเรียนรู้ฮีต 12 คอง 14 และประเพณีอันดีงานในชุมชนเพื่อ ส่งเสริมคุณธรรม. ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
พระครูโสมมนัสบัณฑิต (ปณฺฑิโต/ศรีหาบง). (2566). ศึกษาวิเคราะห์จริยธรรมในประเพณีบุญผะเหวดของชาวพุทธอำเภอเฝ้าไร่ จังหวัดหนองคาย. วารสารพุทธปรัชญาวิวัฒน์,7(2),579-588.
พระสุขี ชาครธมโม. (2553). ศึกษาวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงของประเพณีฮีตสิบสอง : ศึกษากรณีตำบลเมืองเก่า อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย.
พระสุพล สุพโล (ต้องโพนทอง). (2566). การศึกษาวิเคราะห์หลักพุทธจริยศาสตร์ในงานบุญผะเหวดของชาวจังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารพุทธปรัชญาวิวัฒน์,10(3),255-266.
วัชรวร วงศ์กัณหา. (2555). ศาสนาชาวบ้าน: ภูมิปัญญาด้านการผสมผสานความเชื่อในฮีตสิบสองต่อการสร้างความมั่นคงทางสังคมและวัฒนธรรมจังหวัดมหาสารคาม. วิทยานิพนธ์สาขาวิชาวัฒนธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
สุจิราลักษณ์ สุดา. (2556). ความเชื่อพิธีกรรมในประเพณีฮีตสิบสองของภาคอีสาน : กรณีศึกษาหมู่บ้านกุดชุม อำเภอกุดชุม จังหวัดยโสธร.วิทยานิพนธ์ศิลปะศาสตรมหาบัณฑิต (ไทยศึกษา) บัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
อุดม บัวศรี. (2537). ผญาก้อม ปรัชญาชีวิตอีสาน. ขอนแก่น : สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยขอนแก่น.