โมเดลการพัฒนาผลสัมฤทธิ์การปฏิบัติราชการของสถานีตำรวจในสังกัดตำรวจภูธรภาค 4 Model for Developing the Performance of Police Stations under of Provincial Police Region 4
Main Article Content
บทคัดย่อ
ตำรวจเป็นหน่วยงามีหน้าที่ดูแลความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์ของประชาชนซึ่งต้องขับเคลื่อนการปฏิบัติงานให้บรรลุผลสัมฤทธิ์ต่อประชาชนและความมุ่งหมายของรัฐบาลและสำนักงานตำรวจแห่งชาติ การวิจัยระยะที่ 1 มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับผลสัมฤทธิ์การปฏิบัติราชการของสถานีตำรวจ และ 2) วิเคราะห์ปัจจัยเชิงสาเหตุโมเดลสมการโครงสร้างการพัฒนาผลสัมฤทธิ์การปฏิบัติราชการของสถานีตำรวจ กลุ่มตัวอย่าง คือ เจ้าหน้าที่ตำรวจ จำนวน 380 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง (SEM) และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (CFA) การวิจัยระยะที่ 2 เพื่อสร้างและยืนยันโมเดลการพัฒนาผลสัมฤทธิ์การปฏิบัติราชการของสถานีตำรวจ ประกอบด้วย 1) การยกร่างรูปแบบจากผลการวิจัยในระยะที่1 จากนั้นเป็นการวิพากษ์โดยเชี่ยวชาญ จำนวน 9 คน ด้วยการสนทนากลุ่ม นำผลการเสนอแนะจากการสนทนากลุ่มมาปรับปรุง และยืนยันรูปแบบโดยการสัมมนาอิงผู้เชี่ยวชาญเพื่อยืนยันความเหมาะสมของรูปแบบประชากรเป้าหมายเป็นผู้เชี่ยวชาญทางการบริหารงานตำรวจ จำนวน 20 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง การวิเคราะห์ข้อมูลใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหา ค่าฐานนิยม ค่ามัธยฐาน และค่าพิสัยระหว่างควอไทล
ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลสัมฤทธิ์การปฏิบัติราชการของสถานีตำรวจ ในสังกัดตำรวจภูธรภาค 4 โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อแยกเป็นรายด้านพบว่าอยู่ในระดับมากทุกด้าน
2. ปัจจัยเชิงสาเหตุโมเดลสมการโครงสร้างการพัฒนาผลสัมฤทธิ์การปฏิบัติราชการของสถานีตำรวจสังกัดตำรวจภูธรภาค 4 มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยพิจารณาจากค่า ไค-สแควร์ ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติสถิติ (x2/df = 1.596) ค่า CFI ค่าดัชนีวัดระดับความสอดคล้องเปรียบเทียบ เท่ากับ .974 ค่า TLI เท่ากับ.949 และเมื่อพิจารณา ค่าความคลาดเคลื่อนในการประมาณค่าพารามิเตอร์ (RMSEA) เท่ากับ 0.042 และค่ารากของค่าเฉลี่ยกำลังสองของความคลาดเคลื่อนมาตรฐาน (SRMR) เท่ากับ 0.031 โดยพบว่าปัจจัยเชิงสาเหตุทุกตัวสามารถส่งอิทธิพลทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อผลสัมฤทธิ์การปฏิบัติราชการของสถานีตำรวจ ในสังกัดตำรวจภูธรภาค 4
3. โมเดลการพัฒนาผลสัมฤทธิ์การปฏิบัติราชการของสถานีตำรวจในสังกัดตำรวจภูธรภาค 4 โดยผู้เชี่ยวชาญ (Connoisseurship) พบว่า โมเดลมีความสอดคล้องกันมาก (=4.76, Median = 4.80, IR =0.24, Mod =4.84, Mo-Mdn =0.04) ซึ่งประกอบด้วย การพัฒนาสัมพันธภาพ การพัฒนาภาวะผู้นำแปลงสภาพ การพัฒนากำลังคน และการพัฒนาใช้นโยบายตำรวจผู้รับใช้ชุมชน โดยโมเดลการพัฒนาผลสัมฤทธิ์การปฏิบัติราชการของสถานีตำรวจในสังกัดตำรวจภูธรภาค 4 เรียกว่า “PoLICE MODEL”
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
จีรวัฏฐ์ บุญวัฒนาภรณ์. (2557). ผลสัมฤทธิ์การบริหารจัดการของกองบังคับการปราบปราม กองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง สำนักงานตำรวจแห่งชาติ. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตรมหาวิทยาลัยศรีปทุม.
ฉันทิช มณฑา.(2565 บทคัดย่อ). ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการดำเนินงานของตำรวจสันติบาลในภาคตะวันออก. งานนิพนธ์หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา.
บุญชม ศรีสะอาด. (2545). วิธีการทางสถิติสำหรับการวิจัย (ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: สุรีริยาสาสน์การพิมพ์.
บุณฑริกา แจ้งเจริญกิจ. (2556). บรรยากาศองค์การที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีของ องค์การ ของบุคลากรสำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล.วิทยานิพนธ์ ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหิดล.
ปิยะ อุทาโย และคณะ. (2563). การพัฒนาการบริหารจัดการงานตำรวจของไทยและการยกระดับความร่วมมือกับองค์กรตำรวจของประเทศสมาชิกอาเซียนในการดูแลความปลอดภัยสาธารณะจากปัญหาอาชญากรรมข้ามชาติ. รายงานวิจัย สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.).
เปรมชัย สโรบล. (2550). ปัจจัยการบริหารที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า.ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร.
รัชนู เรืองโอชา. (2554). ความสัมพันธ์ระหว่างการรับร้ บรรยากาศองค์การ การเสริมสร้างพลัง อำนาจในงานเชิงโครงสร้าง และความพึงพอใจในงานของบุคลากร ศูนย์เทคโนโลยี โลหะและวัสดุแห่งชาติ. งานวิจัยส่วนบุคคล ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ลลิตา ปาละกูล และ อรนันท์ กลันทปุระ.(2565).ประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของข้าราชการตำรวจสำนักงานยุทธศาสตร์ตำรวจ. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยเวสเทิร์น มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 8 (3),162-175.
วีระยุทธ ชาตะกาญจน์.(2551). เทคนิคการบริหารสำหรับนักบริหารการศึกษามืออาชีพ. กรุงเทพ ฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุวัฒน์ ศิรินิรันดร์. (2549). การวางแผนกลยุทธ์. กรุงเทพฯ: ซี แอนด์ เอ็น.
สำนักงานจเรตำรวจ.(2566). สรุปรายงานผลการตรวจราชการของ จต.รอบ 12 เดือน. บันทึกข้อความ ที่ 0013.14/1411 ลงวันที่ 8 พฤศจิกายน 2566.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ. (2547). คู่มือการวางระบบการบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ ระดับกระทวง.กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ.
สำนักงานตำรวจแห่งชาติ. (2561). คู่มือการบริหารงานป้องกันและปราบปรามอาชญากรรม. สำนักงานตำรวจแห่งชาติ.
สำนักงานตำรวจแห่งชาติ. (2567). แนวทางการบริหารราชการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567. สำนักงานตำรวจแห่งชาติ.
สมโภชน์ อเนกสุข. (2564). วิธีการเชิงปริมาณ และวิธีการเชิงคุณภาพ สู่วิธีการวิจัยแบบผสม. e-Journal of Education Studies, Burapha University, 3 (1),1-16.
อนันตาพร อุปถัมภ์ และคณะ. (2561). ผลสัมฤทธิ์การบริหารจัดการต่อปัญหาการลักลอบหลบหนีเข้าเมืองตามช่องทางธรรมชาติในพื้นที่ชายแดนไทย-เมียนมาของกองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน. โครงการวิจัยการสนับสนุนงบประมาณจากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) สำนักงานตำรวจแห่งชาติ.
อธิการ แสนสุวรรณศร. (2563). ปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์การปฏิบัติราชการของโครงการชลประทานสกลนคร. ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารฐัประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
Brown, W.B., & Moberg. D. J.(1980). Organization theory and Management: A macro approach. New York: Joho Wiley and Sons.
Kline, R. B. (2005). Principles and practice of structural equation modeling (2nd ed.). New York: Guilford.
Kaplan, Robert.S. and Norton, David, P. (1999). The Balanced Scorecard: Measures that Drive Performance. Massachusetts: Harvard BusinessSchool Press.