คุณภาพการให้บริการร้านสงเคราะห์ผู้ต้องขังเรือนจำจังหวัดมหาสารคาม Service quality of the prison welfare shop in Maha Sarakham Provincial Prison

Main Article Content

ศิระสิทธิ์ โจ่ยสา
เสาวลักษณ์ โกศลกิตติอัมพร
สัญญา เคณาภูมิ

บทคัดย่อ

การให้บริการของร้านสงเคราะห์ผู้ต้องขังในเรือนจำเป็นองค์ประกอบหนึ่งที่มีบทบาทสำคัญในการฟื้นฟูและปรับตัวของผู้ต้องขัง เป็นการสร้างทัศนคติที่ดีต่อสังคม ซึ่งส่งผลต่อการกลับสู่สังคมและการใช้ชีวิตอย่างมีคุณค่าในอนาคต การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับคุณภาพการให้บริการร้านสงเคราะห์ผู้ต้องขังเรือนจำจังหวัดมหาสารคาม 2) เพื่อเปรียบเทียบคุณภาพการให้บริการร้านสงเคราะห์ผู้ต้องขังเรือนจำจังหวัดมหาสารคาม จำแนกตาม เพศ อายุ และระยะเวลาที่ถูกคุมขัง และ 3) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะเกี่ยวกับคุณภาพการให้บริการ ร้านสงเคราะห์ผู้ต้องขังเรือนจำจังหวัดมหาสารคาม เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ต้องขังเรือนจำจังหวัดมหาสารคาม จำนวน 335 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ 0.932 สถิติที่ใช้ ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test และ การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว


ผลการวิจัย พบว่า 1) คุณภาพการให้บริการร้านสงเคราะห์ผู้ต้องขังเรือนจำจังหวัดมหาสารคาม โดยรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง (equation= 2.61, S.D. = 0.24)  2) เปรียบเทียบความคิดเห็นต่อระดับคุณภาพการให้บริการร้านสงเคราะห์ผู้ต้องขังเรือนจำจังหวัดมหาสารคาม จำแนกตาม เพศ อายุ และระยะเวลาที่ถูกคุมขัง มีความคิดเห็นต่อระดับคุณภาพการให้บริการแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) ข้อเสนอแนะ ควรจัดให้สินค้ามีเพียงพอต่อความต้องการตลอดเวลา ควรมีกล่องแสดงความเห็นหรือช่องทางที่ผู้ต้องขังสามารถแนะนำ ติชม เกี่ยวกับคุณภาพการให้บริการของร้านสงเคราะห์ได้ ควรเพิ่มสินค้าประเภทเดียวกันโดยมีหลากหลายยี่ห้อให้เลือกมากขึ้นและควรคัดเลือกผู้ต้องขัง ที่เป็นพนักงานขายที่สุภาพ มีอัธยาศัยดี และมีจิตอาสาบริการ

Article Details

How to Cite
โจ่ยสา ศ., โกศลกิตติอัมพร เ., & เคณาภูมิ ส. (2024). คุณภาพการให้บริการร้านสงเคราะห์ผู้ต้องขังเรือนจำจังหวัดมหาสารคาม: Service quality of the prison welfare shop in Maha Sarakham Provincial Prison. วารสารวิชาการรัตนบุศย์, 6(3), 507–519. สืบค้น จาก https://so07.tci-thaijo.org/index.php/rtnb/article/view/5918
บท
บทความวิจัย

References

เรือนจำจังหวัดมหาสารคาม. (2566). รายงานประจำปี 2566. มหาสารคาม: เรือนจำจังหวัดมหาสารคาม.

กรมราชทัณฑ์. (2513). ระเบียบกรมราชทัณฑ์ว่าด้วยร้านสงเคราะห์ผู้ต้องขัง พ.ศ. 2513. กรุงเทพฯ: กรมราชทัณฑ์.

บุญชม ศรีสะอาด. (2558). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: สุริยาสาส์น.

สถาบันมาตรฐานสากลภาครัฐแห่งประเทศไทย. (2541). การพัฒนาระบบมาตรฐานสากลของประเทศไทย ด้านการจัดการและสัมฤทธิ์ผลของงานภาครัฐ. กรุงเทพฯ : สกายบล็อกและการพิมพ์.

สมชาย ภูมิเพชร. (2565). การวิเคราะห์ประสิทธิภาพการบริหารงานในเรือนจำขนาดกลาง: กรณีศึกษา จังหวัดมหาสารคาม. วารสารการบริหารการปกครอง, 5(1), 45-63.

Anno, B.J. (2004). Correctional healthcare services and prisoner satisfaction: A study of the U.S. prison system. Journal of Correctional Health Care, 10(1), 1-15.

Covington, S. (2007). Women and addiction: A gender-responsive approach. The Clinical InnovatorsSeries. Center City, MN: Hazelden.

Coyle, A. (2009). Managing prisons in a time of change. International Centre for Prison Studies, King’s College London. London: Harper Collins.

Cronbach, L.J. (1951). Coefficient Alpha and the Internal Structure of Tests. Psychometrika, 16, 297 – 334.

Derkzen, D., Booth, L., Taylor, K. and McMullen, T. (2013). Mental health needs of federal female offenders. Psychological Services, 10(1), 24-36.

Johnsen, B. (2011). The relationship between inmate perceptions of prison conditions and inmate adjustment in Norway. European Journal of Criminology, 8(2), 95-111.

Lattimore, P.K., Visher, C.A. and Lindquist, C.H. (2012). Reentry services for prisoners and their impact on recidivism. Justice Quarterly, 34(1), 136–165.

Likert, R. (1967). The Human Organization : Its Management and Values. New York: McGraw –Hill Book Company.

Marshall, T., Simpson, S. and Stevens, A. (2000). Health care in prisons: A health care needs assessment. BMJ, 320(7240), 231-234.

Sarre, R. (2001). The impact of prison conditions on inmate health and rehabilitation: A study from Australia Australian and New Zealand. Journal of Criminology, 34(3), 364-379.

Saylor, W.G. and Gaes, G.G. (1996). The effects of inmate characteristics on service delivery in correctional institutions. Journal of Criminal Justice, 24(4), 365-379.

Van, Z. and Smit, D. (2002). Prisoner perceptions of service quality in European correctional facilities. International Journal of Offender Therapy and Comparative Criminology, 46(2), 169-183.

Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. (3ed). New York : Harper and Row Publication.