ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของพนักงานโรงงานฟอกหนังในเขตประกอบการฟอกหนังจังหวัดสมุทรปราการ Factors Influencing Pro-Environmental Behavior of Tanning Factory's Employees in Samut Prakan Province

Main Article Content

เขมินท์ สิริสุวรรณกิจ
อมรินทร์ เทวตา

บทคัดย่อ

อุตสาหกรรมฟอกหนังเป็นอุตสาหกรรมที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมเป็นอย่างมาก ถือได้ว่าพนักงานฟอกหนังก็เป็นส่วนหนึ่งของอุตสาหกรรมที่สร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมเช่นกัน ดังนั้นพนักงานโรงงานฟอกหนังเองควรมีส่วนร่วมในการส่งเสริมพฤติกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับการรับรู้ความตระหนักต่อสิ่งแวดล้อม ทัศนคติต่อสิ่งแวดล้อม ความรู้ด้านสิ่งแวดล้อมและพฤติกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม 2) อิทธิพลของความตระหนักต่อสิ่งแวดล้อม ความรู้ด้านสิ่งแวดล้อม ที่ส่งผลต่อทัศนคติต่อสิ่งแวดล้อม 3) อิทธิพลของความตระหนักต่อสิ่งแวดล้อม ความรู้ด้านสิ่งแวดล้อม และทัศนคติต่อสิ่งแวดล้อม ที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของพนักงานฟอกหนังในเขตประกอบการฟอกหนังจังหวัดสมุทรปราการ เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง คือ พนักงานโรงงานฟอกหนังในเขตประกอบการฟอกหนัง จังหวัดสมุทรปราการ ผู้วิจัยจึงเก็บข้อมูลจำนวนทั้งหมด 280 คน ใช้การสุ่มตัวอย่างตามความสะดวก (Convenience Sampling) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าร้อยละ ค่าแจกแจงความถี่ การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรอิสระ สมการโครงสร้าง


ผลการวิจัยพบว่า ความตระหนักต่อสิ่งแวดล้อมมีอิทธิเชิงบวกต่อทัศนคติต่อสิ่งแวดล้อม (β) = 0.746 ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.01)  ความรู้ด้านสิ่งแวดล้อมมีอิทธิเชิงบวกต่อทัศนคติต่อสิ่งแวดล้อมอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (β) = -0.016 ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ (p > 0.05)  ความตระหนักต่อสิ่งแวดล้อมมีอิทธิเชิงบวกต่อพฤติกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม(β) = 0.211 ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) ความรู้ด้านสิ่งแวดล้อมมีอิทธิเชิงบวกต่อพฤติกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม (β) = 0.577 ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.01) ทัศนคติต่อสิ่งแวดล้อมมีอิทธิเชิงบวกต่อพฤติกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิต (β) = 0.047 ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ (p > 0.05) จึงสรุปได้ว่าความตระหนักต่อสิ่งแวดล้อมและความรู้ด้านสิ่งแวดล้อมมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

Article Details

How to Cite
สิริสุวรรณกิจ เ., & เทวตา อ. (2024). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของพนักงานโรงงานฟอกหนังในเขตประกอบการฟอกหนังจังหวัดสมุทรปราการ: Factors Influencing Pro-Environmental Behavior of Tanning Factory’s Employees in Samut Prakan Province. วารสารวิชาการรัตนบุศย์, 6(3), 520–534. สืบค้น จาก https://so07.tci-thaijo.org/index.php/rtnb/article/view/5926
บท
บทความวิจัย

References

กรกนก ธนตฤณชาติ. (2564). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ของพนักงานในบริษัทผู้ผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์เเห่งหนึ่ง. บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต.กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

จิตติมา เจริญพานิช, ศรีสุดา นิเทศน์ธรรม, & เอมม่า อาสนจินดา. (2558). การสร้างท่อบําบัดน้ำทิ้งที่เกิดจากกระบวนการฟอกหนัง.ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.

ณัฐชา วงศ์ศรีบุปผชาติ, & ณฐา ธรเจริญกุล. (2566). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าที่ใช้บรรจุภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อมของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร. Ramkhamhaeng University Journal: Graduate School, 6(3), 77-90.

ธเนศ เกษศิลป์. (2561). ปัจจัยที่มีผลต่อทัศนคติและพฤติกรรมในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาในโรงเรียนที่ตั้งอยู่ใกล้คลองสาธารณะ: กรณีศึกษา โรงเรียนทีปังกรวิทยาพัฒน์ (ทวีวัฒนา) ในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร. Panyapiwat Journal, 13(3), 283-296.

น้ำผึ้ง นาพันธ์. (2561). พฤติกรรมอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติชายฝังทะเลของประชาชนในชุมชนวัดชองลม ตำบลนาเกลือ อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี. รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต.ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.

ภาวิณี กาญจนาภา. (2562). อิทธิพลของทัศนคติที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในพื้นที่เขตกรุงเทพมหานคร. วารสารความปลอดภัยและสุขภาพ, 12(2), 58-74.

มารียัม เจ๊ะเต๊ะ. (2556). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในโรงเรียนของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น : กรณีศึกษา โรงเรียนธรรมวิทยามูลนิธิ อำเภอเมือง จังหวัดยะลา. วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต.กรุงเทพฯ: สถาบันบัณฑิตพัฒนาบริหารศาสตร์.

รพีพรรณ ศิริโภคานนท์. (2556). การศึกษาความสมัพันธ์ระหว่างทัศนคติต่อสิ่งแวดล้อมกับพฤติกรรมการบริโภคที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. บริหารธรุกิจมหาบัณฑิต.กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.

สัตยา ทิพย์รัตน์. (2565). สมรรถนะทางสิ่งแวดล้อมที่ส่งผลต่อพฤติกรรมความรับผิดชอบทางสิ่งแวดล้อมของพนักงานเทศบาลในพื้นที่อำเภอบางกล่ำ จังหวัดสงขลา. ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต.สงขลา:มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

สมาคมอุตสาหกรรมฟอกหนังไทย. (2563).TTIA สมาคมอุตาหกรรมฟอกหนังไทย. สืบค้นเมื่อ 13 เมษายน 2567 จาก https://thaitanning.org/.

อนุชา น้อยวงศ์. (2563). คลังสารสนเทศของสถาบันนิติบัญญัติ. สืบค้นเมื่อ 4 เมษายน 2567 จาก https://dl.parliament.go.th/backoffice/viewer2300/web/viewer.php.

อัฐภิญญา ปัทมภาสสกุล. (2562). ปัจจัยความตระหนักเรื่องสิ่งแวดล้อม สุขภาพ รูปลักษณ์ภายนอก ความรู้ เรื่องนิเวศวิทยา และอิทธิพลระหว่างบุคคลที่ส่งผลต่อทัศนคติ และความตั้งใจ ซื้อเครื่องสำอางธรรมชาติของสตรีในกรุงเทพมหานคร. สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต.กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

เอกธนัช โตงิ้ว. (2565). การสำรวจความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ทางสิ่งแวดล้อมและความตั้งใจซื้อของผู้บริโภคในการซื้อผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม. ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต.กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Kline, R. B. (2011). Principles and practice of structural equation modeling. 3rd ed. New York: Guilford.

Stern, P. C. (2000). Toward a coherent theory of environmentally significant behavior. Journal of Social Issues, 56(3), 407-424.