การบริหารความร่วมมือในมิติใหม่ : ความต้องการจำเป็นเพื่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาขนาดกลาง ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน Management Collaboration in a New Dimension: Essential Needs for Enhancing Educational Quality in Medium-Sized Basic Education Institutions

Main Article Content

ดิเรก เตชะมา
เทื้อน ทองแก้ว
สุภาภรณ์ ตั้งดำเนินสวัสดิ์

บทคัดย่อ

ปัญหาของสถานศึกษาขนาดกลางประสบคือการจัดการเรียนการสอนและพัฒนาคุณภาพการศึกษา โดยมีปัจจัยหลายอย่างที่ส่งผลกระทบ ได้แก่ การขาดแคลนทรัพยากร เช่น จำนวนครูและงบประมาณที่ไม่เพียงพอ นอกจากนี้ยังพบว่าจำนวนนักเรียนลดลง การพัฒนาจึงต้องการความร่วมมือจากทุกภาคส่วนเพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กับสถานศึกษา การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพที่เป็นจริงและสภาพที่คาดหวัง เพื่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาขนาดกลาง ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2) ศึกษาความต้องการจำเป็น เพื่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาขนาดกลาง ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน รูปแบบการวิจัยแบ่งเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ศึกษาสภาพที่เป็นจริงและสภาพที่คาดหวัง เพื่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาขนาดกลาง ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ระยะที่ 2 ศึกษาความต้องการจำเป็น เพื่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาขนาดกลาง ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ใช้วิธีการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง ประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา 222 คน ครูผู้สอน 370 คน รวม 592 คน โดยใช้วิธีการสุ่มแบบจัดชั้น เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถาม  มีค่า IOC ระหว่าง 0.60-1.00 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าดัชนีลำดับความต้องการจำเป็นด้วยเทคนิค PNI Modified และการวิเคราะห์เมทริกซ์ (Matrix Analysis)


ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพที่เป็นจริง อยู่ในระดับปรับปรุง (equation= 3.43, S.D. = .154) สภาพที่คาดหวัง โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (equation= 4.55, S.D. = .385) 2) ความต้องการจำเป็นเพื่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาขนาดกลาง ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า สถานศึกษามีความต้องการจำเป็น โดยรวมค่า PNI Modified = 0.32 โดยเรียงลำดับจากมากไปน้อย คือ ด้านการบริหารจัดการ ด้านวัสดุสิ่งของและวัสดุอุปกรณ์ ด้านคนหรือบุคคล และด้านเงินหรืองบประมาณ และผลการวิเคราะห์เมทริกซ์ (Matrix Analysis) แสดงให้เห็นว่าจุดแข็งของสถานศึกษาอยู่ที่ช่อง 2 ทั้ง 4 ด้าน


สรุปผลการวิจัย คุณภาพการศึกษาอยู่ในระดับปานกลาง ขณะที่ความคาดหวังสูง จึงต้องการพัฒนาชัดเจน โดยปัจจัยสำคัญ คือ คน เงิน วัสดุ และการบริหารจัดการ พร้อมสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างสถานศึกษาและส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีเพื่อการพัฒนาที่ทันสมัย

Article Details

How to Cite
เตชะมา ด., ทองแก้ว เ., & ตั้งดำเนินสวัสดิ์ ส. (2024). การบริหารความร่วมมือในมิติใหม่ : ความต้องการจำเป็นเพื่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาขนาดกลาง ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน: Management Collaboration in a New Dimension: Essential Needs for Enhancing Educational Quality in Medium-Sized Basic Education Institutions. วารสารวิชาการรัตนบุศย์, 6(3), 535–550. สืบค้น จาก https://so07.tci-thaijo.org/index.php/rtnb/article/view/5984
บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ.(2556).หลักสูตรพัฒนาผู้นำการเปลี่ยนแปลง เพื่อรองรับการกระจายอำนาจสำหรับผู้บริหาร การศึกษาและผู้บริหารสถานศึกษา. นครปฐม : สถาบันพัฒนาครูคณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษา.

กริช ธีรางศุ.(2563).แนวทางการพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือ สำหรับสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 24 กาฬสินธุ์.ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาการศึกษา.มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

ชาวลิต ยิ้มแย้ม. (2566). ความต้องการจำเป็นและแนวทางการพัฒนาการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตการศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1.วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. สกลนคร: มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

เทื้อน ทองแก้ว. (2566). การศึกษาดูงานมหาวิทยาลัยเดล ทู ประเทศญี่ปุ่น. ภาควิชานโยบายการจัดการและภาวะผู้นำทางการศึกษา คณะคุรุศาสตร์ จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย.

บุญจันทร์ สีสันต์. (2563). วิธีวิจัยทางการบริหารการศึกษา.พิมพ์ครั้งที่ 2.กรุงเทพฯ : เซอร์วิส ซัพพลาย.

บุญเลิศ แก้วคำ.(2562). การพัฒนารูปแบบการบริหารกลุ่มเครือข่ายโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

พระพงศธร ประมวลการ. (2561). สภาพปัญหาการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษาขนาดกลาง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 1. วารสาร มมร. ล้านนาวิชาการ, 7(1),1-9.

วิสิทธิ์ศักดิ์ ชัยเกิด. (2559). การพัฒนารูปแบบการจัดการเครือข่ายความร่วมมือเพื่อการยกระดับคุณภาพการศึกษาของ โรงเรียนประถมศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ศักรินทร์ สมพิศนภา. (2565). การพัฒนารูปแบบการบริหารเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการโรงเรียนประถมศึกษาขนาด เล็กของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสังกัดคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. การศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ศักรินทร์ สมพิศนภา. (2565). การพัฒนารูปแบบการบริหารเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็กของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา สังกัดคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต1. (2566). แผนพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2566 – 2570. ชลบุรี : กลุ่มนโยบายและแผนสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 1.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 2. (2566).แผนพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2566 – 2570. ชลบุรี : กลุ่มนโยบายและแผนสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 2.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 3. (2566).แผนพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2566 – 2570. ชลบุรี : กลุ่มนโยบายและแผนสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 3.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.(2554).คู่มือการสร้างเครือข่ายร่วมพัฒนาและการส่งเสริมศักยภาพผู้เรียน. กรุงเทพฯ : ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา.(2557). สรุปผลการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสามระดับมัธยมศึกษา พ.ศ 2554-2557.กรุงเทพฯ : สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา.

สุวิมล ว่องวาณิช. (2548). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย.

อุดมสิน คันธภูมิ. (2558). การพัฒนารูปแบบเครือข่ายความร่วมมือในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนสำหรับโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาการศึกษาคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.