แนวทางการพัฒนาการบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัลตามหลักไตรสิกขา Guidelines for the Development of Educational Administration in the Digital Age According to the Threefold Training

Main Article Content

พระนำเกียรติ วิสุทโธ
พระมหาบุญทัย ปภสฺสโร (รสหอม)
สุรินทร์ นำนาผล

บทคัดย่อ

          บทความนี้มุ่งศึกษาการศึกษาแนวทางการพัฒนาการบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัลตามหลักไตรสิกขา โดยเน้นการผสมผสานความรู้ทางดิจิทัลกับหลักธรรมเพื่อสร้างระบบบริหารที่มีคุณธรรมและยั่งยืน ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่า การบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัลตามหลักไตรสิกขา สามารถส่งเสริมการพัฒนาด้านบุคลากร การเรียนรู้ และการพัฒนาการบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัลได้อย่างมีประสิทธิภาพและสามารถรับมือกับการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21 ได้อย่างยั่งยืน 4 ด้านสำคัญ ได้แก่ 1) การบริหารงานวิชาการ คือ ใช้หลักอธิปัญญาเพื่อส่งเสริมความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ การพัฒนาหลักสูตรให้ทันสมัย และสร้างองค์ความรู้ใหม่ 2) การบริหารงานงบประมาณ คือ ใช้หลักอธิศีลเพื่อให้การปฏิบัติงานถูกต้องตามกฎระเบียบ สุจริต และโปร่งใส 3) การบริหารงานบุคคล คือ ใช้หลักอธิจิตเพื่อพัฒนาความตั้งมั่นในงาน และสุขภาพจิตที่ดีของบุคลากร 4) การบริหารงานทั่วไป คือ ใช้หลักอธิศีลเพื่อสร้างระเบียบวินัยและเพิ่มประสิทธิภาพในการประสานงานกับทุกภาคส่วน การบริหารสถานศึกษาในลักษณะนี้สามารถยกระดับคุณภาพการจัดการศึกษา และเตรียมความพร้อมให้สถานศึกษารองรับการเปลี่ยนแปลงในอนาคตได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน

Article Details

How to Cite
วิสุทโธ พ., ปภสฺสโร (รสหอม) พ. ., & นำนาผล ส. . (2025). แนวทางการพัฒนาการบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัลตามหลักไตรสิกขา: Guidelines for the Development of Educational Administration in the Digital Age According to the Threefold Training. วารสารวิชาการรัตนบุศย์, 7(1), 491–500. สืบค้น จาก https://so07.tci-thaijo.org/index.php/rtnb/article/view/6407
บท
บทความวิชาการ

References

กระทรวงศึกษาธิการ.(2546).การบริหารสถานศึกษาที่เป็นนิติบุคคล. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงศึกษาธิการ.

จุฑามาส จันทร์มณี. (2562). บทบาทของผู้บริหารในการพัฒนาบุคลากรยุคดิจิทัลของโรงเรียนมัธยมศึกษาในอำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 3.วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ทวีศักดิ์ บังคม. (2550). ปัญหาและแนวทางแก้ไขการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนเอกชนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาชลบุรี เขต 1.งานนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2547). ธรรมนูญชีวิต. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.

พระอธิการสกายแลบ ธมฺมธโร (นามโท). (2561). การบริหารสถานศึกษาตามหลักไตรสิกขาในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 1.วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระอนันต์ ธมฺมวิริโย (นามทอง), สุนทร สายคำ, & ประจิตร มหาหิง. (2564). การบริหารงานวิชาการในยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 1. Journal of Modern Learning Development, 6(1), 271.

ภคพร เลิกนอก. (2563). การบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัลสำหรับผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 4. วารสารบัณฑิตศึกษามหาจุฬาขอนแก่น, 7(2), 157.

พระอนันต์ ตโมนุโท (พิศาล ไพโรจน์). (2560). การบริหารงานวิชาการของโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา สู่มาตรฐานสากล. วารสารสถาบันวิจัยญาณสงวร, 8(2), 321.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560–2579. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2544). แนวทางการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาเพื่อพร้อมรับการประเมินภายนอก. กรุงเทพมหานคร: พิมพ์ดี.

สุรชัย โสภาพรม. (2549). ความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานจังหวัดอุบลราชธานีที่มีต่อการกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษาเขตพื้นที่การศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และฉบับที่ 2 พ.ศ. 2545. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. อุบลราชธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.

เอกชัย กี่สุขพันธ์. (2559). การบริหารสถานศึกษายุคดิจิทัล (School Management in Digital Era). สืบค้นเมื่อ 3 มกราคม 2568, จาก https://www.trueplookpanya.com/dhamma/content/52232.

อติพร เกิดเรือง. (2560). การส่งเสริมการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 เพื่อรองรับสังคมไทยในยุคดิจิทัล. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง, 6(1), 80–81.

Hoy, W. K., & Miskel, C. G. (1996). Educational administration: Theory, research, and practice (5th ed.). New York, NY: McGraw-Hill.