การจัดการทรัพยากรทางศิลปะ กรณีมีส่วนร่วมให้เกิดประโยชน์ในตลาดสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี Artistic Resource management: A case study of participation in Sam Chuk Market, Suphan Buri Province

Main Article Content

วันชัย แก้วไทรสุ่น

บทคัดย่อ

พื้นที่ทางวัฒนธรรมของประเทศยังมีทรัพยากรทางศิลปะอยู่เป็นจำนวนมาก หากยังขาดการจัดการที่จะนำมาให้เกิดประโยชน์ในชุมชน ดังตัวอย่างที่ตลาดสามชุกมีแหล่งทรัพยากรทางศิลปะ และได้มีการจัดการจนได้รับรางวัลระดับโลกที่ผ่านมา จึงเป็นพื้นที่ตัวอย่างให้กับชุมชนอื่น ๆ นำไปใช้ วัตถุประสงค์ของการวิจัยเรื่องนี้ เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูล ประวัติความเป็นมา ประเมินคุณค่าทรัพยากรทางศิลปะที่นำมาใช้ประโยชน์ในตลาดสามชุก  เพื่อวิเคราะห์การมีส่วนร่วมการจัดการทรัพยากรทางศิลปะในตลาดสามชุก และเพื่อเสนอรูปแบบการจัดการมรดกทางศิลปะแบบมีส่วนร่วม เป็นโมเดลให้กับแหล่งวัฒนธรรมอื่น ๆ 


          ผลการศึกษาพบว่า 1) ประวัติความเป็นมาเริ่มจากช่วงก่อนปี พ.ศ. 2457 มีชุมชนการค้าเกิดขึ้นที่ฝั่งตรงข้ามวัดสามชุก จากนั้นมีการเคลื่อนย้ายมาที่บ้านสามเพ็ง จนปีพ.ศ. 2457 กลายเป็นชุมชนตลาดสามชุก เวลาผ่านมาเป็นร้อยปี ชุมชนมีทรัพยากรทางศิลปะที่โดดเด่นเกิดขึ้น ช่วงแรกสร้างศาลเจ้าพ่อหลักเมืองพร้อม ๆ กับสร้างตลาด ต่อมาช่วงวิกฤตทางเศรษฐกิจได้เริ่มมีการจัดการเชิงอนุรักษ์อาคารร้านค้า สร้างพิพิธภัณฑ์ ทำบ้านพูดได้ และช่วงหลังโควิด-19 มีกิจกรรมทางศิลปะที่สำคัญคือ งานสตรีทอาร์ต งานทั้งหมดเป็นการนำเอาทุนวัฒนธรรมมานำเสนอซึ่งล้วนมีคุณค่าทางวัฒนธรรม 2) การวิเคราะห์การมีส่วนร่วม การสร้างศาลเจ้าพ่อหลักเมือง การอนุรักษ์อาคาร การสร้างพิพิธภัณฑ์และบ้านพูดได้ พบว่าทุกกิจกรรมมีการทำงานแบบมีส่วนร่วมเป็นโครงการที่ใหญ่ใช้เวลานาน ผู้มีส่วนร่วมจากหลายหน่ายงานและต้องมีองค์ความรู้เฉพาะด้าน โครงการสตรีทอาร์ตได้รับความร่วมมือจากสถาบันการศึกษาที่มีความเชี่ยวชาญด้านศิลปะ และมีกระบวนการมีส่วนร่วมตามแนวทางทฤษฎี 3) การนำเสนอโมเดลแบ่งออกเป็น 3 รูปแบบ ได้แก่ 1) การประเมินคุณค่าจากความเชื่อ โดยชุมชนในพื้นที่มีส่วนร่วมในการสืบสานอัตลักษณ์ 2) การอนุรักษ์อาคารร้านค้าและจัดเป็นพิพิธภัณฑ์หรือบ้านพูดได้ ใช้ทุนวัฒนธรรมที่จับต้องได้และต้องอาศัยความรู้เฉพาะด้าน 3) การนำทุนวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้จากวิถีชีวิตในอดีตมาสร้างคุณค่าและถ่ายทอดผ่านภาพเขียน โดยได้รับความร่วมมือจากสถาบันการศึกษาด้านศิลปะ

Article Details

How to Cite
แก้วไทรสุ่น ว. (2025). การจัดการทรัพยากรทางศิลปะ กรณีมีส่วนร่วมให้เกิดประโยชน์ในตลาดสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี: Artistic Resource management: A case study of participation in Sam Chuk Market, Suphan Buri Province. วารสารวิชาการรัตนบุศย์, 7(1), 281–294. สืบค้น จาก https://so07.tci-thaijo.org/index.php/rtnb/article/view/7040
บท
บทความวิจัย

References

สุนทรภู่.(2512).โครงนิราศสุพรรณ.กรุงเทพฯ: ศิวพร.

ธนิก เลิศชาญฤทธิ์. (2554). การจัดการทรัพยากรวัฒนธรรม. กรุงเทพฯ: ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน).

ปรัชญา เวสารัชช์. (2528). การมีส่วนร่วมของประชาชนในกิจกรรมเพื่อพัฒนาชนบท. กรุงเทพฯ: สถาบันไทยคดีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

พรรณงาม เง่าธรรมสาร, ปรีดา คงแป้น. (2552). ย้อนมอง...สามชุกตลาดร้อยปี...กว่าจะถึงวันนี้. มปพ.

พรรณวลัย คีรีวงศ์วัฒนา, สมหมาย แจ่มกระจ่าง. (2555). การจัดการทรัพยากรทางวัฒนธรรม: การอนุรักษ์จิตรกรรมฝาผนังในภาคตะวันออก.วารสารการศึกษาและพัฒนาสังคม, 8(1), 33–46.

พิชัย สดภิบาล. (2565). ทิศทางการพัฒนาตลาดเก่าในเชิงอนุรักษ์เพื่อรองรับประชาคมอาเซียน. กรุงเทพฯ: โครงการตำราและเอกสารการพิมพ์ คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม สถาบันเทคโนโลยีเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.

พิชัย สดภิบาล. (2567). การจัดการศิลปกรรมนิทัศน์ “7 สิ่งที่ต้องเรียนรู้จากกลยุทธ์การจัดการอย่างยั่งยืนในการมีส่วนร่วมในสังคม” (ฉบับปฐมฤกษ์). กรุงเทพฯ: คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี.

พระใบฎีกาสุพจน์ ตปสีโล. (2556). ศึกษากระบวนการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและวัฒนธรรมองค์กรชุมชนในจังหวัดอุบลราชธานี.รายงานการวิจัย. สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

รุจ รัตนพาหุ. (2547). แนวทางการอนุรักษ์และพัฒนาพื้นที่ชุมชนตลาดสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี .วิทยานิพนธ์สถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วันชัย แก้วไทรสุ่น. (2559). การบริหารจัดการตลาดน้ำดำเนินสะดวกเพื่อรองรับ AEC อย่างยั่งยืน. ใน รวมบทความศิลปะและการบริหารศิลปวัฒนธรรม (น. xx-xx). กรุงเทพฯ: องศาสบายดี.

วนิดา พึ่งสุนทร. (2552). การบริหารจัดการมรดกทางวัฒนธรรมชุมชน. กรุงเทพฯ: J-Print.

วิรัช นิภาวรรณ. (2541). บทบาทขององค์กรในท้องที่มีต่อการบริหารและการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม: กรณีศึกษาจังหวัดอุบลราชธานี.วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต.ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

สหัทยา วิเศษ, พระครูโสภณปริยัติสุธี, & คณะ. (2563). รายงานการวิจัยการจัดการทรัพยากรวัฒนธรรมเชิงสร้างสรรค์ของกลุ่มจังหวัดล้านนา. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตพะเยา.

สักรินทร์ แซ่ภู, ณัฐวุฒิ อัศวโกวิทวงศ์, & คณะ. (2550). ย่านตลาด ๑๐๐ ปีสามชุกกับกลไกชุมชนในมิติการอนุรักษ์. กรุงเทพฯ: โครงการปฏิบัติการชุมชนและเมืองน่าอยู่ มูลนิธิชุมชนไท, สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ และสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน).

สุพจน์ ตปสีโล (พระใบฎีกา). (2556). รายงานการวิจัยเรื่องศึกษากระบวนการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและวัฒนธรรมขององค์กรชุมชนในจังหวัดอุบลราชธานี. กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยพระพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, วิทยาเขตอุบลราชธานี.

อรุณี จำปานิล. (2550). ประวัติศาสตร์ชุมชนตลาดสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี ระหว่างปี พ.ศ. 2466–2544. การค้นคว้าอิสระปริญญาโท. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร.