การพัฒนากลไกการขับเคลื่อนงานสุขภาวะชุมชน: บทเรียนจากโครงการพัฒนากลไกหน่วยจัดการจังหวัดศรีสะเกษ Development of Community Well-being Action Mechanisms: Lessons from the Provincial Management Unit Development Project in Sisaket Province
Main Article Content
บทคัดย่อ
การจัดการสุขภาวะชุมชนเป็นการดูแลสุขภาพแบบบูรณาการทั้งกาย จิตวิญญาณ การเมือง เศรษฐกิจ และสังคม มีความเกี่ยวข้องกับหลายภาคส่วน จึงต้องมีการจัดการสุขภาวะชุมชนอย่างเป็นระบบ การถอดบทเรียนนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสกัดองค์ความรู้และบทเรียนสำคัญจากการดำเนินงานโครงการพัฒนากลไกหน่วยจัดการจังหวัดศรีสะเกษในประเด็นการจัดการความปลอดภัยทางถนนและการลดการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ 2) เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยความสำเร็จและข้อจำกัดของการใช้กลไกหน่วยจัดการในการขับเคลื่อนงานสุขภาวะชุมชน และ 3) เพื่อพัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบายและรูปแบบการขับเคลื่อนงานสุขภาวะชุมชนที่มีประสิทธิผล วิธีการศึกษาใช้การวิจัยแบบผสมผสาน โดยเก็บข้อมูลจากการทบทวนเอกสาร สัมภาษณ์เชิงลึก สนทนากลุ่ม สังเกตการณ์แบบมีส่วนร่วม และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณจากฐานข้อมูลสุขภาพจังหวัด กรอบแนวคิดการวิจัยประยุกต์ใช้ทฤษฎีระบบนิเวศทางสังคมและแนวคิดธรรมาภิบาลเครือข่ายในการวิเคราะห์กลไกการขับเคลื่อนงาน
ผลการศึกษาพบว่า 1) องค์ความรู้และบทเรียนสำคัญจากการดำเนินงานคือ การจัดการสุขภาวะชุมชนที่มีประสิทธิผลต้องอาศัยกลไกที่บูรณาการความร่วมมือระหว่างภาคส่วนต่างๆ ผ่านการใช้ข้อมูลเชิงประจักษ์ การพัฒนาศักยภาพทีมงาน และการสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชน 2) ปัจจัยความสำเร็จประกอบด้วย ศักยภาพของทีมงาน การมีส่วนร่วมที่ครอบคลุมทุกภาคส่วน การบูรณาการกลไกการทำงานที่เหมาะสมกับบริบทพื้นที่ และการสนับสนุนจากหน่วยงานภายนอก ส่วนข้อจำกัดได้แก่ ความยั่งยืนของกลไก การประสานงานระหว่างหน่วยงาน และทัศนคติที่ฝังรากลึกในวัฒนธรรมท้องถิ่น 3) ข้อเสนอเชิงนโยบายและรูปแบบการขับเคลื่อนงานสุขภาวะชุมชนที่มีประสิทธิผล ได้แก่ โมเดลการจัดการความปลอดภัยทางถนนโดยใช้กลไก ศปถ. และโมเดลการลดการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์โดยใช้กลไก พชต. ที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในบริบทที่คล้ายคลึงกัน
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กระทรวงสาธารณสุข. (2564). ระบบสารสนเทศการแพทย์ฉุกเฉิน (Information Technology for Emergency Medical System: ITEMS). นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข.
จันทร์ โต๊ะสิงห์, ชญานิน กฤติยะโชติ, อนุพันธ์ สุวรรณพันธ์, & จุฑามาศ แก้วจันดี. (2567). รายงานการถอดบทเรียนโครงการพัฒนากลไกหน่วยจัดการจังหวัดศรีสะเกษ. กรุงเทพมหานคร: สำนักสร้างสรรค์โอกาสและนวัตกรรม สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ.
วิชัย โชควิวัฒน์, ศิริวรรณ พิทยรังสฤษฏ์, & อรพรรณ ศรีสุขวัฒนา. (2562). การทบทวนสถานการณ์การดำเนินงานด้านสุขภาวะชุมชนของประเทศไทย. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข, 13(1), 31–45.
สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดศรีสะเกษ. (2567). รายงานข้อมูลอุบัติเหตุทางถนนจังหวัดศรีสะเกษ ปีงบประมาณ 2564-2566. ศรีสะเกษ: สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดศรีสะเกษ.
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2565). การสำรวจพฤติกรรมการสูบบุหรี่และการดื่มสุราของประชากร พ.ศ. 2564. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานสถิติแห่งชาติ.
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดศรีสะเกษ. (2566). ข้อมูลพฤติกรรมการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ปี 2561-2565. ศรีสะเกษ: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดศรีสะเกษ.
สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย. (2563). รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาต้นทุนผลกระทบทางสังคม สุขภาพ และเศรษฐกิจของการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ.
Green, L. W., & Kreuter, M. W. (2005). Health program planning: An educational and ecological approach (4th ed.). New York: McGraw-Hill.
Haddon, W. (1980). Advances in the epidemiology of injuries as a basis for public policy. Public Health Reports, 95(5), 411–421.
Nutbeam, D., Harris, E., & Wise, M. (2010). Theory in a nutshell: A practical guide to health promotion theories (3rd ed.). Sydney: McGraw-Hill.
Rhodes, R. A. W. (2007). Understanding governance: Ten years on. Organization Studies, 28(8), 1243–1264.
Room, R. (2013). Sociocultural aspects of alcohol consumption. In P. Boyle, P. Boffetta, A. B. Lowenfels, H. Burns, O. Brawley, & W. Zatonski (Eds.), Alcohol: Science, policy, and public health (pp. 38–45). Oxford: Oxford University Press.
World Health Organization. (2010). Global strategy to reduce the harmful use of alcohol. Geneva: World Health Organization.
World Health Organization. (2022). Global status report on road safety 2022: Improving road safety for all road users. Geneva: World Health Organization.