การวิเคราะห์ปัจจัยสนับสนุนเศรษฐกิจฐานรากสู่ความเข้มแข็ง มั่นคงและยั่งยืน กรณีศึกษาชุมชน ตำบลหนองหาร อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชน The Analysis of Factors Supporting the Grassroots Economy towards Strength, Stability, and Sustainability: A Case Study of Nong Han Subdistrict, San Sai District, Chiang Mai Province, to Enhance the Quality of Life of the People
Main Article Content
บทคัดย่อ
แม้ชุมชนตำบลหนองหารจะมีทรัพยากรธรรมชาติและทุนทางสังคมที่อุดมสมบูรณ์ แต่การพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากยังประสบกับอุปสรรคที่เกี่ยวข้องกับการประสานงานที่ไม่ราบรื่นระหว่างภาคส่วนต่าง ๆ ขาดกลไกเชื่อมโยงที่ชัดเจน และยังเสี่ยงต่อผลกระทบจากปัจจัยภายนอก ซึ่งทำให้ศักยภาพในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไม่เต็มที่และขาดความยั่งยืน การศึกษานี้จึงมุ่งศึกษาวิเคราะห์ปัจจัยที่สนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากสู่ความเข้มแข็ง มั่นคง และยั่งยืน โดยใช้กรณีศึกษาชุมชนตำบลหนองหาร อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน งานวิจัยนี้ใช้วิธีการศึกษาภาคสนามเชิงคุณภาพ โดยเก็บข้อมูลผ่านการสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้างและการสนทนากลุ่มย่อยจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 63 คน ซึ่งประกอบด้วยผู้นำท้องถิ่น ผู้นำองค์กรชุมชน ตัวแทนภาครัฐและเอกชน ผู้แทนจากภาควิชาการ และประชาชนทั่วไป ข้อมูลได้ถูกรวบรวมผ่านหลายช่องทาง รวมถึงการวิเคราะห์เอกสาร การสำรวจพื้นที่ การสังเกตการณ์ การสัมภาษณ์ การสนทนากลุ่ม และการจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ก่อนนำมาวิเคราะห์และสังเคราะห์เป็นเนื้อหาที่นำเสนอในรูปแบบเชิงพรรณนา
ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยที่สนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากในชุมชนหนองหารสามารถแบ่งออกเป็น 4 หลัก ได้แก่ 1) ทุนมนุษย์ การพัฒนาความรู้และทักษะของประชาชนในพื้นที่ 2) ทุนทางสังคมและการสนับสนุนจากหน่วยงานภาครัฐ ที่ช่วยเสริมสร้างความร่วมมือในการบริหารทรัพยากร 3) ทุนทางเศรษฐกิจ ที่มีส่วนช่วยในการกระจายรายได้และเสริมสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจในระดับครัวเรือน และ 4) ทุนวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น ที่ส่งเสริมการรักษาเอกลักษณ์และการพัฒนาอย่างยั่งยืน องค์ประกอบเหล่านี้ล้วนมีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมความเข้มแข็งและยั่งยืนของเศรษฐกิจฐานรากในชุมชนอย่างมีประสิทธิภาพ
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กัมพล เพ็ชรล้อมทอง, สุรภา เอมสกุล, & ธนัสดา โรจนตระกูล. (2564). กระบวนการสร้างชุมชนเข้มแข็งอย่างยั่งยืนแบบพึ่งพาตนเอง. Journal of Roi Kaensarn Academi, 6(12), 354–368.
แก้วตา ผิวพรรณ, & ปวิตรา โคบำรุง. (2566). การวิเคราะห์เส้นทางความสัมพันธ์เชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อแนวทางการพัฒนาการทุนทางเศรษฐกิจท้องถิ่น เพื่อเพิ่มขีดความสามารถของผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชนในเขตภาคเหนือตอนล่าง ประเทศไทย. วารสารบัณฑิตแสงโคมคำ, 8(2), 260–281.
จักรี ศรีจารุเมธีญาณ, สมปอง สุวรรณภูมา, & สัญญา เคณาภูมิ. (2567). การจัดการทุนมนุษย์ในทศวรรษหน้า: แนวคิดและแนวทางการพัฒนา. วารสารนวัตกรรมการจัดการศึกษาและการวิจัย, 6(5), 1001–1016.
ชนัญชิดา ทิพย์ญาณ, ชวน เพชรแก้ว, สุธาวดี จินาญาติ, & ธนิศา สุขารมย์. (2564). นวัตกรรมการจัดการตนเองของชุมชนไชยาเพื่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจบนฐานวัฒนธรรมชุมชน. วารสารสังคมศาสตร์และวัฒนธรรม, 5(1), 47–60.
เดือนนภา ภู่ทอง. (2567). พลังชุมชนท้องถิ่น: พลวัตการขับเคลื่อนการจัดการป่าชุมชนโดยการนำทุนวัฒนธรรมชุมชนมาปรับใช้ในการบริหารจัดการป่าชุมชนเพื่อสร้างความเข้มแข็งสู่เศรษฐกิจฐานรากอย่างยั่งยืน. วารสารธุรกิจดิจิทัลและสังคมศาสตร์, 10(1), 1–15.
ทัศนีย์ ปิ่นสวัสดิ์. (2563). การพัฒนาระบบบูรณาการความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาคประชาชน ภาคเอกชนในการจัดการน้ำของจังหวัดชัยนาท. วารสารรัชต์ภาคย์, 14(37), 15–28.
ธรรมพร ตันตรา, สุริยจรัส เตชะตันมีนสกุล, สถาพร แสงสุโพธิ์, เกรียงไกร เจริญผล, พัชราพรรณ ศรีสกลวัฒน์, ฤทัยลักษมี กิจบุญชู, & รุ่งทิวา เขื่อนแก้ว. (2565). กระบวนการขับเคลื่อนและพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากเชิงสวัสดิการของเทศบาลเมืองแม่โจ้และเทศบาลตำบลป่าไผ่ อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่. วารสารวิชาการวิทยาลัยบริหารศาสตร์, 5(2), 19–34.
นพรัตน์ ไชยชนะ. (2567). การพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากบนฐานทุนทางวัฒนธรรมโดยยุทธศาสตร์ BCG (Bio-Circular-Green Economy) กลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยงบ้านหนองบาง ตำบลลิ่นถิ่น อำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี. วารสารชุมชนวิจัยและพัฒนาสังคม, 18(4), 659–677.
บงกชมาศ เอกเอี่ยม. (2562). ภาวะผู้นำชุมชนท้องถิ่นกับการบริหารจัดการทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมแบบมีส่วนร่วมเพื่อสร้างความยั่งยืนของชุมชนแหล่งท่องเที่ยวจังหวัดเชียงใหม่. วารสารวิจัยและส่งเสริมวิชาการเกษตร, 36(3), 102–113.
พระครูพิสัยปริยัติกิจ อคฺควณฺโณ, & สมชาย เบ็ญจวรรณ. (2564). จิตอาสาพลังบวก: ชุมชนคุณธรรมกระบวนการในการขับเคลื่อนด้วยพลังบวร รูปแบบการสร้างความเข้มแข็ง มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืนภายใต้สถานการณ์ภาวะวิกฤติการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019. วารสารวิจัยธรรมศึกษา, 4(2), 115–125.
พระครูสมุห์ไพฑูรย์ พนมสวย, & สุทธญาณ์ โอบอ้อม. (2561). ศาสตร์พระราชากับการพัฒนาทุนมนุษย์ที่ยั่งยืน. วารสาร มจร. หริภุญชัยปริทรรศน์, 2(1), 95–108.
พฤทธิพงศ์ จักกะพาก. (2564). การพัฒนาทุนมนุษย์ตามแนวทางรัฐประศาสนศาสตร์. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 10(2), 354–363.
ภาวิดา เจริญจินดารัตน์. (2561). งานวิจัยท้องถิ่นเพื่อความเข้มแข็งของชุมชน. วารสารเกษตรพระจอมเกล้า, 36(2), 152–161.
มาริษา ศรีษะแก้ว, & สถาพร วิชัยรัมย์. (2562). เศรษฐกิจพอเพียง: แนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืนในประเทศไทย. วารสารสหวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์, 3(1), 39–49.
ยุวดี พ่วงรอด, วิจิตตรา พ่วงท่าโก, กัลยารัตน์ วุฒิปรัชญานันท์, & โชติบดี รัฐ. (2563). นโยบายสาธารณะด้านการสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม: กรณีศึกษาองค์การบริหารส่วนตำบลโพธิ์ประทับช้าง อำเภอโพธิ์ประทับช้าง จังหวัดพิจิตร. Journal of Roi Kaensarn Academi, 5(2), 122–141.
วินิจ ผาเจริญ, สุริยจรัส เตชะตันมีนสกุล, สถาพร แสงสุโพธิ์, & นนท์ น้าประทานสุข. (2564). การจัดการความรู้ด้านทุนทางสังคมเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนท้องถิ่นแบบมีส่วนร่วมของภาคประชาสังคมในพื้นที่เทศบาลตำบลป่าเมี่ยง อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่. รายงานการวิจัย.วิทยาลัยบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้.
ศุจินันทน์ ไตรระเบียบ, ชนัญชิดา ทิพย์ญาณ, & อมร หวังอัครางกูร. (2567). เครือข่ายความร่วมมือในการพัฒนากลุ่มเกษตรกรทำสวนทุ่งคาวัด อำเภอละแม จังหวัดชุมพร ภายใต้แนวคิดการเสริมสร้างพลังอำนาจ. วารสารสังคมศาสตร์และศาสตร์รวมสมัย, 5(2), 93–107.
สนธยา ปานแก้ว. (2567). บทบาทสตรีกับการพัฒนากลุ่มอาชีพแบบมีส่วนร่วมเพื่อสร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจและเพิ่มโอกาสกลุ่มแปรรูปผลิตภัณฑ์ชุมชนต่อการสร้างรายได้ที่มั่นคงในพื้นที่ตำบลนาเตย อำเภอท้ายเหมือง จังหวัดพังงา. วารสารภูมินิเวศพัฒนาอย่างยั่งยืน, 5(2), 12–27.
สมศักดิ์ สงวนดี. (2564). ทุนทางสังคมกับการพัฒนาชุมชน. วารสารวิชาการแห่งอนาคต, 1(1), 1–8.
สุชาติ อำนาจวิภาวี, ศิริวัฒน์ เปลี่ยนบางยาง, เพ็ญศรี ฉิรินัง, & จิระพันธ์ สกุณา. (2563). นโยบายของภาครัฐในการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมให้เกิดความยั่งยืน. วารสารนวัตกรรมการบริหารและการจัดการ, 8(3), 56–66.
อุไรวรรณ แมะบ้าน. (2563). การบริหารจัดการทุนทางสังคมเพื่อการพัฒนาชุมชนในรูปแบบชุมชนพึ่งตนเอง. วารสารนวัตกรรมการบริหารและการจัดการ, 8(2), 73–88.
Khatasombun, H. (2022). Social capital and model community development to create a sustainable community-based economy of Huay Kaew Sub-district, Bueng Na Rang District, Phichit Province. Journal of MCU Nakhondhat, 9(10), 32–48.
Palavicini Corona, E. (2012). Local economic development in Mexico: The contribution of the bottom-up approach (Doctoral dissertation, London School of Economics and Political Science).