รูปแบบการแก้ปัญหาการเขียนคำภาษาไทยไม่ถูกต้องของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้แบบฝึกหัดการเขียนคำในมาตราตัวสะกด กรณีศึกษา: โรงเรียนบ้านสำราญ ตำบลสำราญ อำเภอเมือง จังหวัดยโสธร A Model for Solving Thai Spelling Errors Among Fourth-Grade Students Using Word-Pattern Writing Exercises: A Case Study of Ban Samran School Samran Subdistrict Mueang District, Yasothon Province
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการแก้ปัญหาการเขียนคำภาษาไทยไม่ถูกต้องของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้แบบฝึกหัดการเขียนคำในมาตราตัวสะกด กรณีศึกษาโรงเรียนบ้านสำราญ ตำบลสำราญ อำเภอเมือง จังหวัดยโสธร การวิจัยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงกึ่งทดลอง โดยแบ่งกลุ่มตัวอย่างเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มทดลองที่ได้รับการสอนโดยใช้แบบฝึกหัดที่พัฒนาขึ้น จำนวน 7 คน และกลุ่มควบคุมที่ได้รับการเรียนการสอนแบบปกติ จำนวน 7 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแบบฝึกหัดการสะกดคำ แบบทดสอบก่อนและหลังการทดลอง และแบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนเกี่ยวกับการเรียนรู้การสะกดคำ โดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการหาค่าประประสิทธิภาพของชุดกิจกรรม E1/E/2
ผลการวิจัยพบว่า นักเรียนกลุ่มทดลองมีพัฒนาการด้านการเขียนคำที่ถูกต้องเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม ค่าประสิทธิภาพของชุดกิจกรรม / = 82.34/84.50 นักเรียนกลุ่มทดลองยังมีทัศนคติที่ดีขึ้นต่อการเรียนรู้การสะกดคำ โดยให้ความสนใจและมีความกระตือรือร้นในการฝึกฝนมากขึ้น ซึ่งชี้ให้เห็นว่า แบบฝึกหัดการสะกดคำที่พัฒนาขึ้นสามารถใช้เป็นเครื่องมือเสริมในการพัฒนาทักษะการเขียนภาษาไทยของนักเรียนระดับประถมศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถนำไปปรับใช้ในการเรียนการสอนสอนภาษาไทยในบริบทอื่น ๆ ได้
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กรรณิการ พวงเกษม. (2534). ปัญหาและกลวิธีการสอนภาษาไทยในโรงเรียนประถมศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์วัฒนาพานิช.
จิตรา สมพล. (2547). การพัฒนาแบบฝึกทักษะการเขียนสะกดคำ วิชาภาษาไทยชั้นประถมศึกษาปีที่ 6.วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. อุบลราชธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.
ชุติมา ธีรชัย. (2561). บทบาทของแบบฝึกหัดในการพัฒนาทักษะการเขียนของนักเรียนประถมศึกษา. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ณัฐญา เมืองสุข, & ศิริพร พึ่งเพ็ชร์. (2567). การพัฒนาความสามารถการอ่าน การเขียนสะกดคำภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบของฮันเตอร์ร่วมกับแบบฝึกทักษะ. Journal of MCU Ubon Review, 9(3), 447–456.
ธรรศพร เคยชิน, วิภาษณ์ เทศน์ธรรม, & พีรพงษ์ แสนสิ่ง. (2567). การพัฒนาทักษะการเขียนภาษาไทยโดยใช้ชุดแบบฝึกทักษะการเขียนภาษาไทยของนักเรียนชั้นปีที่ 3 โรงเรียนบ้านนาสะไมย์ ตำบลนาสะไมย์ อำเภอเมือง จังหวัดยโสธร. Journal of MBU Yotsunthon Review, 1(2), 29–43.
ธิดารัตน์ จูมพลา. (2546). การพัฒนาความพร้อมของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 โดยใช้แบบฝึกความพร้อมด้านสติปัญญา.ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ธีรวุฒิ เอกะกุล. (2543). ระเบียบวิธีวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. อุบลราชธานี: สถาบันราชภัฏอุบลราชธานี.
นิลาภรณ์ ธรรมวิเศษ. (2546). การพัฒนาแบบฝึกทักษะการเขียนสะกดคำในมาตราแม่กดสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 .วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. อุบลราชธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.
เบญจพร สร้อยสิริสุนทร, & อรนุช ลิมตศิริ. (2567). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทยเรื่องคำที่มาจากภาษาต่างประเทศของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ได้รับการสอนโดยใช้สื่อประสมและการสอนตามปกติ. Journal of Buddhist Education and Research, 11(2), 175–183.
พรกนก สุวรรณรัตน์, พัชยากรณ์ พูลเกตุ, & โสภณ ชัยวัฒนกุลวานิช. (2567). การพัฒนาทักษะการเขียนคำพื้นฐานภาษาไทย หมวดสัตว์ โดยใช้แบบฝึกทักษะการเขียนสำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน. วารสารราชภัฏเพชรบูรณ์สาร, 26(2), 113–121.
ภูริตา สมาธิฤาทัย, สนิท สัตโยภาส, & ศศิธร อินตุ่น. (2567). การสร้างหนังสือเสริมประสบการณ์พัฒนาผลสัมฤทธิ์การเขียนสะกดคำเรื่องสระในภาษาไทยสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1. Journal of MCU Ubon Review, 9(3), 474–486.
มนทิรา ภักดีณรงค์. (2541). การศึกษาแบบฝึกกิจกรรมขั้นที่ 5 ที่มีประสิทธิภาพและความคงทนในการเรียนรู้เรื่องยังไม่สายเกินไป วิชาภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โดยการสอนแบบมุ่งประสบการณ์ภาษา.วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
วจนะ พรสีเกาะ, ธัญญลักษณ์ เขจรภักดิ์, & สมาน เอกพิมพ์. (2567). การพัฒนาความสามารถการอ่านและการเขียนแจกลูกสะกดคำภาษาไทยโดยการจัดการเรียนรู้แบบ PWIM ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1. วารสารบัณฑิตศาส์น มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 22(2), 156–167.
วรรณา แซ่ตั้ง. (2541). การสร้างแบบฝึกหัดการเขียนสะกดคำของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1.ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร.
วิมลรัตน์ สุนทรโรจน์. (2549). เอกสารประกอบการสอนวิชา 0506703 การพัฒนาการเรียนการสอน. มหาสารคาม: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
เสาวพา บัวขนาบ, & กรวิภา สรรพกิจจำนง. (2567). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทยเรื่องสระเปลี่ยนรูปและสระลดรูปของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ระหว่างการสอนโดยใช้หนังสือส่งเสริมการอ่านเพิ่มเติมชุดหนูดีชวนอ่านสระกับการสอนแบบปกติ. วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 14(1), 194–206.
อรพินท์ ไชยยศ. (2562). การสะกดคำของนักเรียนประถมศึกษา. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
Byrne, B. (2005). Theories of learning and the development of literacy skills. Cambridge: Cambridge University Press.
Rovinelli, R. J., & Hambleton, R. K. (1977). On the use of content specialists in the assessment of criterion-referenced test item validity. Tijdschrift voor Onderwijs research, 2(2), 49–60.
Snowling, M., & Hulme, C. (2011). Children’s reading and spelling development. Oxford: Wiley-Blackwell.
Treiman, R. (1993). Beginning to spell: A study of first-grade children. New York: Oxford University Press.