ดอยช้างป่าแป๋ : จากป่าจิตวิญญาณสู่เครือข่ายการเรียนรู้บนพื้นที่เขตวัฒนธรรมพิเศษ

Main Article Content

ประภาส ปิ่นตบแต่ง
กิตติ คงตุก

บทคัดย่อ

ปัญหาการบริหารจัดการทรัพยากรป่าไม้และที่ดินของรัฐส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตของชุมชนท้องถิ่นซึ่งเป็นชุมชนชาติพันธุ์บนพื้นที่สูงมาอย่างยาวนาน ภาย         ใต้ความเชื่อที่ว่าการอนุรักษ์ป่าต้องปราศจากการมีอยู่ของชุมชนในเขตป่า ส่งผลให้เกิดมาตรการปิดป่าและควบคุมพื้นที่ ผู้คนที่อยู่ในเขตป่าถูกอพยพก่อให้เกิดความขัดแย้งระหว่างชุมชนกับหน่วยงานภาครัฐ  แม้ภาคประชาชนจะเกิดการรวมตัวกันเป็นเครือข่ายเพื่อทำการต่อสู้หลากหลายรูปแบบแต่ก็ไม่อาจสร้างความเปลี่ยนแปลงเชิงนโยบายอย่างเป็นรูปธรรมได้  ชุมชนดอยช้างป่าแป๋ ตำบลป่าพลู อำเภอบ้านโฮ่ง จังหวัดลำพูน คือพื้นที่กรณีศึกษาที่สะท้อนให้เห็นความสามารถในการปรับวิธีการขับเคลื่อนสังคมโดยนำเอาวิถีป่าจิตวิญญาณของชุมชน มาสร้างเครือข่ายการเรียนรู้จนได้รับการประกาศให้เป็นพื้นที่เขตวัฒนธรรมพิเศษ  จากการศึกษาพบว่า ชุมชนดังกล่าวอาศัยกลวิธีสำคัญ คือ 1) การรวมคนที่มีความสนใจใกล้เคียงกัน เพราะจะช่วยให้มองเห็นเป้าหมายหรือวางวัตถุประสงค์ของเครือข่ายได้ชัดเจน 2) การถ่ายทอดและแบ่งปันข้อมูลองค์ความรู้ ทั้งภูมิปัญญาท้องถิ่นและภูมิปัญญาสากล ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการก่อเกิดองค์ความรู้ใหม่ 3) การแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารกับองค์กร ชุมชนท้องถิ่นของหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งในภาครัฐ เอกชน และภาคประชาชนกลุ่มอื่น ๆ เพื่อขยายความสัมพันธ์และบ่งบอกสถานะปัจจุบันของกันและกันในการพัฒนาชุมชนท้องถิ่นที่ตนเกี่ยวข้อง และ 4) การสร้างการมีส่วนร่วม ทั้งการร่วมจัดตั้ง ร่วมคิด ร่วมตัดสินใจ ร่วมบริหารจัดการและควบคุมสถานการณ์ที่เกิดขึ้นกับเครือข่าย

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

Doklamyai, P. (2016). ความรู้ อำนาจ และคนชายขอบในบริบทเสรีนิยมใหม่ [Knowledge, Power, and Men on the Edge in the Context of New Liberalism]. Northern Development Foundation.

Dondee, S. (2016) . Dynamics of the land reform movement in Thailand after the 1997 constitution: case study land reform network of Thailand. Chulalongkorn University. http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/54963

Gankanapan et al. (2004). รายงานการวิจัยระบบการเกษตรแบบไร่หมุนเวียน : สถานภาพและความเปลี่ยนแปลง [Research reports of Shifting cultivation: status and changes]. Chiang Mai University. https://cmudc.library.cmu.ac.th/frontend/Info/item/dc:334

Kaiyoorawong, S. et al. (2005). โครงการศึกษาและสำรวจข้อพิพาทและความขัดแย้งปัญหาที่ดินในประเทศไทย ระยะที่ 1 ภาคเหนือ [Study and Survey Project on Land Disputes and Conflicts in Thailand, Phase 1 Northern Region].The Thailand Research Fund. https://dric.nrct.go.th/Search/SearchDetail/156419

Kimphee, P. (1997). การพัฒนาเครือข่ายการเรียนรู้การศึกษานอกโรงเรียนเพื่อการพึ่งตนเองของชุมชน [Development of a Learning Network in non-formal education for Community selfreliance]. Chulalongkorn University.

Koomphaphant, G. (2563). การเรียนรู้และการต่อต้านขัดขืนบนบริบทโลกาภิวัตน์ขององค์กรภาคประชาสังคมไทย กรณีศึกษาองค์กรเครือข่ายโครงการผู้นำแห่งอนาคต. In คนเคลื่อนคน [Man move man], I. Boonyarit, (pp. 25-58). Leadership for the future, Faculty of learning sciences and education, Thammasat.

Lerdwicha, P. (1998). คีรีวง จากไพร่หนีนายถึงธนาคารแห่งขุนเขา. Chareonvitaya printing.

Moohae, B., Dokkum, C., Boonma, S., Boonma, S., Moohae, P., Yokwipaikun, W., Boonpang, S., Lakaew, W., Boonta, K. Kula, T., Meekhieow, S., Boonpang, C., Boonma, P., Akedumrongsak, T., Boonma, S., Kaewjai, S., Yingsinkarn, K., Kura, K., Kumbang, P., Kumngeun, J., Boonma, P., Kula, Y., Doohae, P., Laeli, S., Nithisombudchinda, R., Meekhieow, K., Moohae, T., Tameu, W. (2020). การสร้างพื้นที่เขตวัฒนธรรมพิเศษของชุมชนบ้านดอยช้างป่าแป๋สู่วิถีแห่งชีวิต [Creating a special cultural space for the community of Doi Chang Pah

Pae, towards the path of life]. Thailand Science Research and Innovation. https://digital.library.tu.ac.th/tu_dc/frontend/Info/item/dc:

Office of National Education Commission. (1993). รายงานผลการสัมมนาเชิงปฏิบัติการในการระดมสรรพกำลังเพื่อสร้างเครือข่ายการเรียนรู้ [Report on the results of the operational seminar on mobilizing resources to build a learning network]. Office Of National Education Commission.

Panitkul, P. et al. (2017) สิทธิของชุมชนชาวกะเหรี่ยง (ปกาเกอะญอ) กับการดำเนินเขตวัฒนธรรมพิเศษไร่หมุนเวียนในพื้นที่ยุทธศาสตร์การแก้ไขปัญหา ข้อพิพาทกรณีที่ดินทำกินและที่อยู่อาศัยของชุมชนกะเหรี่ยงในพื้นที่ป่าภาคเหนือ [Rights of Kariang Community (Pakagekayo) and the Implementation of the Special Cultural Zone: Circulate Farming Practices for resolving disputes in the case of arable land and habitation of Kariang communities in the northern forest area]. National Human Rights Commission (Thailand).

Pattanamongkol, T. (2019, March 12). พื้นที่ลุ่มน้ำชั้น 1 เอ 1 บี และ ความสำคัญของการกำหนดชั้นคุณภาพลุ่มน้ำไทย [Level 1 A1 B watershed areas and the importance of establishing the quality classification of Thai watershed]. https://www.sarakadee.com/2019/03/12/พื้นที่ลุ่มน้ำชั้น-1-เอ1-บ/.

Phatthanaphraiwan, S. (2019). Special Socio-cultural Zone of Pgaz K’ Nyau hermit Kon Ton TA lay Community in Mor ta – Hmong

Kwa village, Maejan sub district, Umphang district, Tak. Journal of Fine Arts, 1, 195-257. https://so02.tcithaijo.org/index.php/fineartsJournal/article/view/97812/76204.

Phonsri, S. (2007). เครือข่ายการเรียนรู้ในงานพัฒนาชุมชน [Community Development Learning Network] (2nd ed.). Odeonstore.

Pintobtang, P. (1997) . Politics of grassroots environtal movements inThai society. Chulalongkorn University.

Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre (2023). พื้นที่คุ้มครองวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์กับการส่งเสริมสุขภาวะกลุ่มชาติพันธุ์

[Protected area for preserving indigenous ways of life and promoting well-being of ethnic group]. https://section09.thaihealth.or.th/wpcontent/uploads/sites/26/2023/02/เอกสารห้องย่อย_-พื้นที่คุ้มครองวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์.pdf.

Sakham, P. (2009). Cultural capital or forest resource management: a case study at Pa-Sakae community, Tumbon E-pum,

Amphur Dansai, Loei Province. Khon Kaen University.

Sonthisamphan, K. (2018, April 4). นโยบายทวงคืนผืนป่ากับภาพสะท้อน อำนาจนิยม [Policy to Restore Forests and Reflect Authoritarian Power].

https://themomentum.co/reforestation-authoritarianism/.

Srisomboon, N. (2020, May 13). เขตวัฒนธรรมพิเศษ ‘ดอยช้างป่าแป๋’ เมื่อผู้คนส่งเสียงถึงรัฐว่าเขามีตัวตน. https://www.the101.world/doichang-parpae/.

Sumnuanyen, K. (2006). Dynamics of social movement tactics: the case of the land rights movement in Lumphun province.

Chulalongkorn University