การศึกษารูปแบบการจัดกระบวนการเรียนรู้ และปัจจัยที่ส่งผลต่อการจัดการเรียนรู้ในพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล

Main Article Content

ชลิดา จูงพันธ์

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจและรวบรวมองค์ความรู้เกี่ยวกับรูปแบบการจัดการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์ในพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ของประเทศไทย โดยเป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ ดําเนินการวิจัยผ่านการสังเกตกิจกรรม และสัมภาษณ์เชิงลึกผู้เกี่ยวข้องกับการจัดกระบวนการเรียนรู้ในพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ 6 ท่าน จาก พิพิธภัณฑ์ 3 แห่งในประเทศไทย จากน้ันจึงนำผลการสัมภาษณ์มาทําการวิเคราะห์ผลการศึกษาด้วยวิธีการวิเคราะห์แก่นสาระ (thematic analysis) ผลการศึกษาปรากฏรูปแบบการเรียนรู้ใน 3 ลักษณะ อ้างอิงตามข้อเสนอแนะของประภัสสร โพธิ์ศรีทอง (Posrithong, 2006) ได้แก่ 1) การเรียนรู้ที่เป็นระบบ 2) การเรียนรู้ด้วยตนเอง และ 3) การเรียนรู้ตามอัธยาศัย ขณะที่ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการจัดกระบวนการเรียนรู้ใน พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ที่ปรากฏในงานวิจัยคร้ังนี้มี 3 ปัจจัย ได้แก่ 1) หลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการ 2) ความเชี่ยวชาญของผู้จัดกระบวนการ และ 3) งบประมาณ ซึ่งผลการวิจัยดังกล่าวสอดคล้องกับงานวิจัยหลายชิ้นที่มีการศึกษาก่อนหน้านี้ ผลการวิจัยทั้งหมดชี้ให้เห็นถึงความสําคัญของผู้จัดกระบวนการเรียนรู้ในพิพิธภัณฑ์ที่มีบทบาทอย่างยิ่งต่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ ดังน้ันจึงเป็นประเด็นที่ควรทําการศึกษาเพิ่มเติมในอนาคตด้วย

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Charoontham, O., Chotisukan, S., & Sornkwan, J. (2018). การประเมินผลการดำเนินงานของสำนักงานพิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (องค์การมหาชน) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2556 –2558 [Performance Evaluation of The Golden Jubileemuseum of Agriculture Office (Public Organization) In the Fiscal Year Of 2013 To 2015]. Journal of Graduate Studies Valaya Alongkron Rajabhat University, 12(1), 204-217. https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JournalGradVRU/article/view/119493/91367

Chumpengpan, P. (1987). พิพิธภัณฑ์วิทยา [Museology]. Chao-Sam-Phraya National museum.

Guertin, L. A., Cao, E. T., Craig, K. A., George, A. E., Goldson, S. T., Makatche, S. P., ... & Williams, M. A. (2004). Bringing dinosaur science to the junior girl scouts through a college service-learning project. Journal of Science Education and Technology, 13, 523-531. https://doi.org/10.1007/s10956-004-1472-0

Harnik, P. G., & Ross, R. M. (2003). Assessing data accuracy when involving students in authentic paleontological research. Journal of Geoscience Education, 51(1), 76-84. https://doi.org/10.5408/1089-9995-51.1.76

Jarearnpoj, S., Juntawit, N., Photisoonthorn, V., & Juntarasakha, P., Aruyanak, J., Na Nakhon Phanom, S., Pojnanwanit, S., & Hasdin, K. (2004). คู่มือพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น [Handbook of local museums]. Office of National Museum, Ministry of Culture. https://www.finearts.go.th/storage/contents/2020/10/file/5FV9UraF9iBFHhvqptFejRKZbMyE9l5bKcRBuEgm.pdf

Jongkol, J. (1989). พิพิธภัณฑ์สถานวิทยา [Museology] (2nd ed.). Amarin.

Joongpan, C., & Phutwatana, N. (2020). การศึกษาแนวคิด หลักการ และการดำเนินการสอนวิทยาศาสตร์ในพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ของประเทศไทย [A study of concept principles and science teaching operations on science museums of Thailand.] Faculty of Learning Sciences and Education, Thammasat University.

Kamolpattana, S., Chen, G., Sonchaeng, P., Wilkinson, C., Willey, N., & Bultitude, K. (2015). Thai visitors’ expectations and experiences of explainer interaction within a science museum context. Public Understanding of Science, 24(1), 69-85. https://doi.org/10.1177/0963662514525

Krucoff, R. (2019). Structuring teacher independence to transform student learning in the museum. Journal of Museum Education, 44(2), 178-186. ttps://doi.org/10.1080/10598650.2019.1590683

Kunsri, T. (2016). การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์: กรณีศึกษาพิพิธภัณฑ์สิรินธร ตำบลโนนบุรี อำเภอสหัสขันธ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ [Potential Devel Opment of Historical Tourism: A Case Study of Sirindhorn Museum,Subdidtrict Nonburi, Sahatsakhan District, Kakasin Province]. Veridian E-Journal, Silpakorn University (Humanities, Social Sciences and arts), 9(3), 1-16. https://he02.tci-thaijo.org/index.php/Veridian-E-Journal/article/view/66776

Laolapha, P. & Sengphol, K. (2021). การพัฒนาพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมการศึกษาเชิงสร้างสรรค์: พิพิธภัณฑ์วัดพระปฐมเจดีย์ราชวรมหาวิหาร จังหวัดนครปฐม [Development of Local Museum to Enhance Creative Education: Wat Phra Pathom Chedi Museum Nakhon Pathom Province]. Silpakorn Educational Research Journal , 4(1), 36-49. https://so05.tci-thaijo.org/index.php/suedureasearchjournal/article/view/6942

Office of the Education Council. (2010). แนวทางการพัฒนานโยบายการเรียนรู้นอกระบบโรงเรียนและการเรียนรู้ตามอัธยาศัยเพื่อสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและภูมิปัญญาไทย. [Guidelines for the development of non-formal and informal learning policies for building learning society according to the Sufficiency Economy Philosophy and Thai wisdom.]. Office of the Education Council, Bangkok, Thailand.

Posrithong, P. (2006). พิพิธภัณฑ์ไทยกับการไล่ตามความฝัน [Thai museum and chasing after dreams]. Thammasat University archives bulletinม 9. https://digital.library.tu.ac.th/tu_dc/frontend/Info/item/dc:174269

Sedzielarz, M., & Robinson, C. (2007). Measuring growth on a museum field trip: Dinosaur bones and tree cross sections. Teaching Children Mathematics, 13(6), 292-298. https://doi.org/10.5951/TCM.13.6.0292

Singh, P. K. (2004). Museum and Education. The Orissa Historical Research Journal, 47(1), 69-82. https://magazines.odisha.gov.in/journal/jounalvol1/pdf/orhj-10.pdf

Singyabut, K. (2014). การจัดการเชิงกลยุทธ์และปัจจัยความสำเร็จ: กรณีศึกษาสำนักงานพิพิธภัณฑ์เกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (องค์การมหาชน) [Strategic Management and Key Success Factors: A Case Study of The Golden Jubilee Museum of Agriculture Office (Public Organization)]. Journal of Business Administration The Association of Private Higher Education Institutions of Thailand, 3(1), 41-50. https://so02.tci-thaijo.org/index.php/apheitvu/article/view/95105

Suwansatit, P. (2017). การจัดการการเรียนรู้ด้านประวัติศาสตร์สำหรับเยาวชน ณ พิพิธภัณฑ์ผ้า ในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ [Historical Knowledge Management For Youth At Queen Sirikit Museum Of Textiles, Master’s Thesis, Thammasat University]. Thammasat University Digital Collections. https://doi.org/10.14457/TU.the.2017.70