การสร้างนวัตกรรมในการอนุรักษ์และสืบทอดเพลงรำโทน มรดกทางภูมิปัญญาท้องถิ่นของอำเภอพนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี
คำสำคัญ:
การสร้างนวัตกรรม, การอนุรักษ์และสืบทอด, เพลงรำโทนอำเภอพนมทวน, จังหวัดกาญจนบุรีบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาเพลงรำโทน อำเภอพนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี 2) เพื่อสร้างนวัตกรรมในการอนุรักษ์และสืบทอดเพลงรำโทน อำเภอพนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี การวิจัยครั้งนี้ใช้รูปแบบการวิจัยเชิ่งคุณภาพ โดยข้อมูลที่ใช้ดำเนินการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ศึกษาค้นคว้าจาก เอกสาร ตำรา งานวิจัย และจากเทปคาสเซตต์ ที่เกี่ยวข้องกับเพลงรำโทน ของอำเภอพนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี
ผลการวิจัยพบว่า 1. เพลงรำโทน ของบ้านพนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี เป็นการละเล่นพื้นบ้านที่เกิดขึ้นในช่วงสงครามมหาเอเชียบูรพา หรือสงครามโลก ครั้งที่ 2 เมื่อปี พ.ศ. 2484 โดยบทเพลงที่ใช้ในการเล่นเพลงรำโทนของอำเภอพนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี จะเป็นบทเพลงร้องสั้นๆ จดจำง่าย มีเครื่องดนตรีที่ใช้ประกอบการเล่นเพลงรำโทน ประกอบด้วย กลองโทน ฉิ่ง และกรับ 2. นวัตกรรมในการอนุรักษ์และสืบทอดเพลงรำโทนอำเภอพนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี ครั้งนี้ ได้แก่ เอกสารคู่มือทำนองเพลงรำโทน อำเภอพนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี โดยได้กำหนดเนื้อหาออกเป็น 4 ส่วน ประกอบด้วย ส่วนที่ 1 ประวัติความเป็นมาของเพลงรำโทน อำเภอพนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี ส่วนที่ 2 เครื่องดนตรี และจังหวะหน้าทับที่ใช้ในการเล่นรำโทน ของอำเภอพนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี ส่วนที่ 3 บทร้องที่ใช้ในการเล่นเพลงรำโทน ของอำเภอพนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี และส่วนที่ 4 ทำนองเพลงรำโทน อำเภอพนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี โดยได้จัดทำเป็นรูปเล่ม สำหรับนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการอนุรักษ์และสืบทอดเพลงรำโทน ของอำเภอพนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี ให้คงอยู่ต่อไป
References
การแสดงเพลงรำโทนบ้านพนมทวน. (2546). การแสดงเพลงรำโทนบ้านพนมทวน บันทึกเมื่อ
เมษายน 2546 หอประชุมราชพล สถาบันราชภัฏกาญจนบุรี. [เทปบันทึกเสียง]
กาญจนบุรี: สาขาวิชาดนตรีศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี.
พูนพิศ อมาตยกุล.(2529). ดนตรีวิจักษ์: ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับดนตรีของไทยเพื่อความชื่นชม.
(พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: รักษ์สิปป์.
พระยาอนุมานราชธน. (2514).วัฒนธรรมและธรรมเนียมประเพณีต่างๆ ของไทย โดยเสถียรโกเศศ (นามแฝง). กรุงเทพมหานคร : ม.ป.พ.
เพลงพื้นบ้านพนมทวนกาญจนบุรี. (2530). เพลงพื้นบ้านพนมทวนกาญจนบุรี. [เทปบันทึกเสียง]. กาญจนบุรี: ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม วิทยาลัยครูกาญจนบุรี.
วัชระ สังโขบล และสุดารัตน์ ศรีมา.(2555). การพัฒนากระบวนการจัดการนวัตกรรมในชั้นเรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานด้วยการจัดการคุณภาพ. ในรายงานการวิจัย.กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.
วีรจักร วงศ์เงิน. (2551). เพลงรำโทน: กรณีศึกษาคณะรำโทนบ้านไร่กร่าง ตำบลสะท้อน อำเภอบ้านลาด จังหวัดเพชรบุรี. ใน ปริญญานิพนธ์ ศศ.ม. มานุษยดุริยางควิทยา. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.ถ่ายเอกสาร.
ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม วิทยาลัยครูกาญจนบุรี. (2530). เพลงพื้นบ้านพนมทวนกาญจนบุรี.กาญจนบุรี: วิทยาลัยครูกาญจนบุรี.
ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม สถาบันราชภัฏกาญจนบุรี . (2539). กาญจนบุรีศึกษา 2539 เชิดชูเกียรติ
ศิลปินแห่งแผ่นดินกาญจน์ : นายชู คุณพันธุ์ นายเนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์. กาญจนบุรี :
สถาบันราชภัฏกาญจนบุรี.
สุกัญญา สุจฉายา.(2543). เพลงพื้นบ้านศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 2). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุภักดิ์ อนุกูล. (2546). เพลงพื้นบ้านภาคกลางและภาคตะวันตก. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ สุวีริยาสาส์น.
สุมามาลย์ เรืองเดช. (2518). เพลงพื้นเมืองจากพนมทวน. กรุงเทพมหานคร: หน่วยศึกษานิเทศก์ กรมการฝึกหัดครู.
อมรา กล่ำเจริญ. (2553). เพลงและการละเล่นพื้นบ้าน. กรุงเทพมหานคร: โอเดียนสโตร์.