รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน

รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน

ผู้แต่ง

  • จงดี เพชรสังคูณ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น
  • สมเกียรติ อุดมรัตนชัยกุล คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น
  • จุฬาพรรณภรณ์ ธนะแพทย์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น

คำสำคัญ:

ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ, ประสิทธิผลของโรงเรียน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาภาวะผู้นำ วัฒนธรรมองค์การ สมรรถนะขององค์การ ความผูกพันต่อองค์การและประสิทธิผลของโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน 2) เพื่อศึกษารูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุระหว่างภาวะผู้นำ วัฒนธรรมองค์การ สมรรถนะขององค์การ ความผูกพันต่อองค์การ กับประสิทธิผลของโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน 3) เพื่อตรวจสอบความสอดคล้องของรูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุประสิทธิผลของโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ กลุ่มตัวอย่างเป็น ผู้อำนวยการโรงเรียน และครูผู้สอนในโรงเรียน จำนวน 582 คน เครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน และการวิเคราะห์รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ (Structural Equation Model: SEM)

 

ผลการวิจัยพบว่า 1. โรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชนมีภาวะผู้นำ วัฒนธรรมองค์การ สมรรถนะขององค์การ ความผูกพันต่อองค์การ และประสิทธิผลของโรงเรียนอยู่ในระดับปานกลาง 2. ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนมากที่สุดคือ สมรรถนะองค์การ ส่วนปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนน้อยที่สุด คือ ภาวะผู้นำของผู้บริหารองค์การ และสมรรถนะขององค์การ วัฒนธรรมองค์การ ความผูกพันต่อองค์การมีอิทธิพลทางตรงต่อประสิทธิผลของโรงเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ  3. รูปแบบมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (χ2/df= 1.271, GFI = 0.983, AGFI = 0.964, RMSEA = 0.022) ซึ่งรูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยทั้ง 4 สามารถอธิบายความแปรปรวนประสิทธิผลของโรงเรียนได้ร้อยละ 84

References

เฉลียว ภากะสัย. (2560). ปัจจัยวัฒนธรรมองค์การที่มีอิทธิพลต่อความผูกพันต่อสถาบันของบุคลากรมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยบูรพา.

ชยาธิศ กัญหา. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยบูรพา.

ธวัชชัย ตั้งอุทัยเรือง. (2557). โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของประสิทธิผลโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็กสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในภาคกลางของประเทศไทย. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยคริสเตียน.

บัณฑิต ผังนิรันดร์. (2560). อิทธิพลของลักษณะองค์การนโยบายการบริหารและการปฏิบัติงานสภาพแวดล้อมการทำงานภายในองค์การแรงจูงใจในการทำงานความพึงพอใจในงานและความผูกพันต่อองค์การที่มีต่อประสิทธิผลของมหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการอุดมศึกษา. ก มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

พัฒนะ สีหานุ. (2563). รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนขนาดเล็กสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.

รุจา รอดเข็ม. (2557). การพัฒนารูปแบบการประเมินประสิทธิผลองค์การของวิทยาลัยในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขประยุกต์ตามแนวทางการประเมินองค์การแบบสมดุล. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

รังสรรค์ อ้วนวิจิตร. (2564). รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุประสิทธิผลของโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีนิพนธ์ สาขาวิชาการการจัดการ. มหาวิทยาลัยคริสเตียน.

สัมฤทธิ์ กางเพ็ง. (2561). ปัจจัยทางการบริหารที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลของโรงเรียน: การพัฒนาและการตรวจสอบความตรงของตัวแบบ. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

Arroba, T. and Kim, J. (2020). Pressure at Work: A Survivals Guide for Manger. (2nd ed.). London: McGraw-Hill.

Chowdhury, S. (2013). Organization 21C: Someday All Organizations Will Lead this Way. London: Prentice Hall.

Geijsel, F. and et. al. (2013). Transformational Leadership Effects on Teachers Commitment and Effort Toward School Reform. Journal of Educational Administration. 41(3).

Jeynes, W. H. (2017). The Relationship between Parental Involvement and Urban Secondary School Student Academic Achievement A Meta-Analysis. Urban education. 42(1).

Kast, F. E. and Rosenzweig. (2015). Organization and Management: A System and Contingency Approach. (4th ed.). New York: McGraw-Hill Book.

Owen, R. G. (2015). Organizational Behavior in Education. New York: Allyn and Bacon.

Reeves, J. B. (2010). Academic optimism and organizational climate: An Elementary School Effectiveness Test of Two Measures. 3439839 Ed.D., The University of Alabama, United States - Alabama. Retrieved on May 6, 2023, from http://search.proquest.com/docview/851889195?accountid=35151

Scott, W. R. (2013). Organizations: Rational Natural and Open Systems. New Jersey: Englewood Cliffs, Prentice Hall.

Steers, R. M. and Porter, L. W. (1977). Antecedents and Outcomes of Organizational Commitment. Administrative Science Quarterly.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-30