ส่วนประสมการส่งเสริมการตลาดออนไลน์และการรับรู้ภาพลักษณ์ตราสินค้าที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์พืชสมุนไพรหนองเสือ จังหวัดปทุมธานี

ผู้แต่ง

  • ธีทัต ตรีศิริโชติ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาส่วนประสมการส่งเสริมการตลาดที่เหมาะสมสำหรับผลิตภัณฑ์สมุนไพรไทยหนองเสือ จังหวัดปทุมธานี 2) เพื่อศึกษาการรับรู้ภาพลักษณ์ตราสินค้าผลิตภัณฑ์สมุนไพรไทยหนองเสือ จังหวัดปทุมธานี 3) เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนประสมการส่งเสริมการตลาดมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์สมุนไพรไทยหนองเสือ จังหวัดปทุมธานี และ 4) เพื่อศึกษาปัจจัยการรับรู้ภาพลักษณ์ตราสินค้าผลิตภัณฑ์มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์สมุนไพรไทยหนองเสือ จังหวัดปทุมธานี กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้บริโภคที่ซื้อผลิตภัณฑ์จากโรงพยาบาลหนองเสือ จังหวัดปทุมธานี จำนวน 450 ตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าที และการถดถอยเชิงพหุ

          ผลการวิเคราะห์ข้อมูล พบว่า กลุ่มตัวอย่างเป็นเพศหญิงมากกว่าเพศชายเล็กน้อย โดยเพศหญิง มีจำนวน 247 คน คิดเป็นร้อยละ 54.9 มีอายุอยู่ในช่วง 41-50 ปี โดยมีจำนวน 138 คน คิดเป็นร้อยละ 30.0 มีระดับการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี มีจำนวน 349 คน คิดเป็นร้อยละ 77.6 มีอาชีพเกษตรกร มีจำนวน 145 คน คิดเป็นร้อยละ 32.2 และมีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,000 – 14,999 บาท มีจำนวน 159 คน คิดเป็นร้อยละ 35.3 ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ปัจจัยส่วนประสมการส่งเสริมการตลาด ได้แก่ การโฆษณา การประชาสัมพันธ์และการเผยแพร่ข่าว การขายโดยบุคคล และการตลาดเจาะตรง มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์สมุนไพรไทยหนองเสือ จังหวัดปทุมธานี ยกเว้น การส่งเสริมการขาย และ ปัจจัยการรับรู้ภาพลักษณ์ตราสินค้าผลิตภัณฑ์ ได้แก่ ด้านคุณสมบัติ ด้านคุณประโยชน์ ด้านวัฒนธรรม ด้านบุคลิกภาพ และด้านผู้ใช้ มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์สมุนไพรไทยหนองเสือ จังหวัดปทุมธานี ยกเว้น ด้านคุณค่า

References

คณะการแพทย์บูรณาการ. (2565). คณะผู้บริหาร คณาจารย์ คณะการแพทย์บูรณาการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ลงพื้นที่ ร่วมให้การต้อนรับคณะกรรมมาธิการวิสามัญศึกษาแนวทางการพลิกโฉมพืชสมุนไพรไทยด้วยการวิจัยและนวัตกรรม เยี่ยมชม โครงการหนองเสือสมุนไพร โรงพยาบาลหนองเสือ จ.ปทุมธานี ในวันที่ 9 มีนาคม 2565. เรียกใช้เมื่อ 1 มิถุนายน 2565, จาก https://www.im.rmutt.ac.th/?p=20030.

ณัฐชยา ใจจูน. (2559). ภาพลักษณ์ตราสินค้าและการรับรู้คุณค่าที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์เสริมอาหารของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. ใน ภาคนิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. กรุงเทพมหานคร.

พรทิพย์ โอวาท และสุมาลี สว่าง. (2564). ปัจจัยภาพลักษณ์ตราสินค้าที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์สมุนไพรในจังหวัดปทุมธานี. การประชุมนำเสนอผลงานวิจัยบัณฑิตศึกษาระดับชาติ ครั้งที่ 16 ปี การศึกษา 2564 บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรังสิต.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ. 2552. การบริหารการตลาดยุคใหม่ (Marketing management) ฉบับปรับปรุงใหม่ ปี 2552. กรุงเทพมหานคร: ธรรมสาร.

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2564). (ร่าง) แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 “พลิกโฉมประเทศไทยสู่สังคมก้าวหน้า เศรษฐกิจสร้างมูลค่าอย่างยั่งยืน”. เรียกใช้เมื่อ 1 มิถุนายน 2565, จาก https://www.nesdc.go.th/download/document/Yearend/2021/plan13.pdf.

Belch, G.E., & Belch, M.A. (2004). Advertising and Promotion: An Integrated Marketing Communications Perspective. 6th ed. Boston: McGraw-Hill.

Boone, L. E. & Kurtz, D. L. (1995). Contemporary marketing (8th ed.). Unites States. The Dryden Press Harcourt Bruce College Publishers.

Kotler, P. (1997). Principles of Marketing. New Jersey: Prentice-Hall,Inc.

_____(2003). Marketing Management (11th ed.). New Jersey: Prentice-Hall.

Iyad A.Khanfar. (2016). The Effect of Promotion Mix Elements on Consumers Buying Decisions of Mobile Service: The case of Umniah Telecommunication Company at Zarqa city- Jordan. European Journal of Business and Management, 8(5), 94-100.

Russell, J.T., & Lane, W.R. (2002). Kleppner’s Advertising Procedure (15th ed). Upper Saddle River, NJ: Prentice Hall.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-30