การส่งเสริมการนำผลประเมินภายนอกไปใช้พัฒนาคุณภาพสถานศึกษา : กรณีศึกษาโรงเรียนบ้านสวายสอ จังหวัดบุรีรัมย์

ผู้แต่ง

  • ณัฐตะวัน ลิ้มประสงค์ มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น วิทยาเขตวัชรพล
  • พิศุทธิ์ บัวเปรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์
  • ประสิทธิ์ ไชยศรี มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์
  • ปณิตา เนียมศร มหาวิทยาลัยปทุมธานี
  • รัตน์ฐาภัทร ธนโชติสุขสบาย มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น วิทยาเขตวัชรพล

คำสำคัญ:

การส่งเสริม, การนำผลประเมินภายนอกไปใช้, การพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน ช่วงแรกเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ และช่วงที่สองเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เพื่อโดยการส่งเสริมการนำผลประเมินภายนอกไปใช้พัฒนาคุณภาพสถานศึกษา มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ประเมินสถานภาพปัจจัยสภาพแวดล้อมภายนอก และภายใน 2. ประเมินความเสี่ยง 3. จัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาสู่การปฏิบัติ กลุ่มตัวอย่างได้จากการเลือกแบบเจาะจง ได้แก่ ผู้บริหาร และครูโรงเรียนบ้านสวายสอ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 3 รวม 16 คน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายใน และภายนอก แบบวิเคราะห์ความเสี่ยง แบบบันทึกการดำเนินงาน และแบบประเมินความพึงพอใจ การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหา สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัย พบว่า การส่งเสริมการนำผลการประเมินภายนอกไปใช้พัฒนาคุณภาพสถานศึกษา 3 ด้าน มีดังนี้ 1. สถานภาพปัจจัยสภาพแวดล้อมภายนอก มีค่าเฉลี่ย ( ) - 0.03 สภาพแวดล้อมภายในมีค่าเฉลี่ย ( ) 0.23 ผลการประเมินสถานภาพบนแกนความสัมพันธ์ของ SWOT อยู่ในช่วง STAR และมีอัตราการเติบโตขององค์กรสูง 2. การประเมินความเสี่ยง มี 7 ประเด็น คือ 1) งบประมาณไม่เพียงพอ 2) อัตรากำลังไม่เพียงพอ 3) สื่อ – อุปกรณ์ เทคโนโลยีในการใช้จัดการเรียนการสอน 4) อุบัติเหตุจากเครื่องเล่นสนาม 5) การพัฒนาบุคลากรสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้ 6) ความปลอดภัยของอาคารสถานที่ และ7) กลไกในการนำเครื่องมือวัดและประเมินผลไปใช้ และ 3. การกำหนดแผนยุทธศาสตร์และนำกลยุทธ์สู่การปฏิบัติ มีโครงการระดับปฐมวัย 8 โครงการ ระดับขั้นพื้นฐาน 15 โครงการ

 

References

เก็จกนก เอื้อวงศ์. (2565). การนำนโยบายไปปฏิบัติของผู้บริหารสถานศึกษา : สมรรถนะและ

แนวทางการพัฒนา. ครุศาสตร์สาร. 16(1), 77.

ดวงใจ ช่วยตระกูล. (2551). การบริหารความเสี่ยงในสถานศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

ใน ดุษฎีนิพนธ์ปริญญา ดุษฎีบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา ภาควิชาการบริหาร

การศึกษา. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

บุญฑวรรณ วิงวอน. (2556). การเป็นผู้ประกอบการโลกาภิวัตน์. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

โรงเรียนวัดหงส์ปทุมาวาส. (2560). แผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาระยะ 3 ปี พ.ศ. 2563 – 2565. (2563). ปทุมธานี: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.

แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560–2579. (พิมพ์ครั้งที่ 1 มีนาคม 2560). บริษัท พริกหวาน

กราฟฟิคจำกัด.

สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน). (2565). คู่มือปฏิบัติ

การส่งเสริมสถานศึกษาเพื่อการนำผลการประเมินคุณภาพภายนอกไปใช้พัฒนาคุณภาพ

การจัดการศึกษา. ประสานการจัดพิมพ์: ภารกิจส่งเสริมและพัฒนาสัมพันธ์. 2556.

Hill, M., & Hupe, P. (2014). Implementing public policy: An introduction to the

study of operational governance. (3rd ed.). London: Sage SAGE Publications.

Best, J.W. (1981). Research in Education. New Jersey: Prentice – Hall.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-30