ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้แผนผังความคิดที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียน และความพึงพอใจต่อการเรียนรายวิชาวิธีวิทยา การจัดการเรียนรู้ 2 ของนักศึกษาหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต

ผู้แต่ง

  • สุวัทนา สงวนรัตน์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี

คำสำคัญ:

แผนผังความคิด, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน, ความพึงพอใจ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้แผนผังความคิด รายวิชาวิธีวิทยาการจัดการเรียนรู้ 2 และ 2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการเรียนโดยใช้แผนผังความคิด รายวิชาวิธีวิทยาการจัดการเรียนรู้ 2 กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษา ชั้นปีที่ 2  คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี ที่ลงทะเบียนเรียนวิชา คศ 1101209  วิธีวิทยาการจัดการเรียนรู้ 2 ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 52 คน ซึ่งได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย  แผนการจัดการเรียนรู้รายวิชาวิธีวิทยาการจัดการเรียนรู้ 2 โดยใช้แผนผังความคิด จำนวน 6 แผน  แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักศึกษาต่อการเรียนรายวิชาวิธีวิทยาการจัดการเรียนรู้ 2 โดยใช้แผนผังความคิด สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที

    ผลการวิจัยว่า 1. นักศึกษามีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้แผนผังความคิด รายวิชาวิธีวิทยาการจัดการเรียนรู้ 2 ก่อนเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้แผนผังความคิดมีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 6.87 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 2.48 และหลังเรียนมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 12.48 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 2.39 หลังเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้แผนผังความคิด สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. นักศึกษามีความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้แผนผังความคิด อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.51, S.D. = 0.17)

References

เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2559). เอกสารประกอบการบรรยายเรื่อง อนาคตใหม่ของการ

ศึกษาไทยในยุคThailand 4.0. เรียกใช้เมื่อ 24 มิถุนายน 2565, จาก

http://www.li.mahidol.ac.th/conference2016/thailand4.pdf.

ชีวิน สุขสมณะ. (2557). การใช้กิจกรรมแผนผังความคิดเพื่อส่งเสริมความเข้าใจในการอ่านจับ

ใจความภาษาญี่ปุ่นของนิสิตระดับปริญญาตรี. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยนเรศวร.

ชนัญธิดา เที่ยงราช. (2559). การพัฒนาความสามารถด้านการคิดวิเคราะห์ โดยใช้เทคนิคแผน

ผังความคิดประกอบแบบฝึกทักษะ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

นวพร ทรงวิชา. (2559). ผลการใช้แบบฝึกทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจโดยใช้

แผนที่ความคิด สำหรับนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 1. ในวิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.

ประทวน คล้ายศรี และกำธร ไพจิตต์. (2564). ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้แผนผังความคิดที่มี

ต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และความพึงพอใจต่อการเรียนรายวิชาการพัฒนาหลักสูตร

ของนักศึกษาครู.วารสารวิชาการหลักสูตรและการสอนมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร,

(39), 11-17.

สมศักดิ์ สินธุรเวชญ์. (2543). Mind Mapping กับคุณภาพการศึกษา. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนา

พานิช.

สุพิศ กลิ่นบุปผา. (2545).การศึกษาความสามารถของการเขียนความเรียงภาษาไทย ที่ใช้วิธี

แผนที่ความคิด (Mind Mapping) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 : กรณีศึกษา โรงเรียนพระปฐมวิทยาลัย 2 หลวงพ่อเงินอนุสรณ์ จังหวัดนครปฐม. เรียกใช้เมื่อ 30 มิถุนายน2565,จากhttp://www.sure.su.ac.th/xmlui/handle/123456789/8389

สุพรรณี ชาญประเสริฐ. (2557). Active Learning: การจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21.

นิตยสาร สสวท., 42(188), 3-6.

อมรรัตน์ งามบุญสร้าง. (2552). ผลการใช้กิจกรรมการเรียนรู้ โดยใช้เทคนิคแผนที่ความคิดต่อ

ความสามารถด้านการอ่านภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปี ที่ 6 โรงเรียนในเขตอําเภอลาดหลุมแก้ว สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาปทุมธานี เขต 1.ใน วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม.

อัชชญา วุฒิรักษ์. (2555). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาบัญชีเบื้องต้น 2 เรื่องรายการ

ปรับปรุงโดยใช้แผนที่ความคิด ระดับปวช. 1 แผนกพาณิชยการ. ใน รายงานการวิจัย วิทยาลัยอาชีวศึกษา สันติราษฎร์ในพระอุปถัมภ์ฯ .

Buzan, Tony, and Buzan, Barry. (2000).The Mind Map Book. Originally published.

London: BBC Book.

Puspakartika, A. (2016). Incresing Students’ Reading Comprehension through Mind Mapping Technique. (Master’sthesis).Retrieved from http://repository.unpas.ac.id/12332.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-30