ผลของโปรแกรมการปรึกษากลุ่มแบบบูรณาการที่มีต่อการเผชิญปัญหา เชิงรุกของนักศึกษามหาวิทยาลัยเอกชน

ผู้แต่ง

  • จิตรภาณุ แย้มยิ่ง มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • สุเมษย์ หนกหลัง มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • นฤมล พระใหญ่ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

คำสำคัญ:

การเผชิญปัญหาเชิงรุก, การปรึกษากลุ่มแบบบูรณาการ, นักศึกษา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อเปรียบเทียบผลของโปรแกรมการปรึกษากลุ่มแบบบูรณาการที่มีผลต่อการเผชิญปัญหาเชิงรุกของนักศึกษามหาวิทยาลัยเอกชนแห่งหนึ่งก่อนเข้าร่วมโปรแกรมการการปรึกษาและหลังเข้าร่วมโปรแกรมการปรึกษา 2) เพื่อเปรียบเทียบผลของโปรแกรมการปรึกษากลุ่มแบบบูรณาการที่มีผลต่อการเผชิญปัญหาเชิงรุกของนักศึกษามหาวิทยาลัยเอกชนแห่งหนึ่งระหว่างกลุ่มทดลองและควบคุม ประชากร คือ นักศึกษาที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับปริญญาตรี ภาคปกติมหาวิทยาลัยเอกชนแห่งหนึ่ง ประจำปีการศึกษา 2566 จำนวน 5,157 คน กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 30 คน จากการกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างด้วยโปรแกรม G*Power 3.1 หาค่าขนาดกลุ่มตัวอย่าง ที่ 0.8 ค่าแอลฟา ที่ 0.05 ได้ขนาดกลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 23 คน เพื่อให้เกิดความเท่าเทียม และป้องกันการสูญหายของกลุ่มตัวอย่าง ผู้วิจัยจึงเพิ่มกลุ่มตัวอย่างประมาณร้อยละ 20 เป็นขนาดกลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 30 คน หลังจากนั้นใช้การสุ่มแบบหลายขั้นตอนเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมอย่างละ 15 คนโดยกลุ่มทดลองเข้าร่วมโปรแกรมการปรึกษากลุ่มแบบบูรณาการส่วนกลุ่มควบคุมเข้ากิจกรรมปกติของมหาวิทยาลัย เครื่องมือที่ในการวิจัย คือ 1) แบบวัดการเผชิญปัญหาเชิงรุกของนักศึกษามีค่าความเที่ยงทั้งฉบับเท่ากับ .951 และ 2) โปรแกรมการปรึกษากลุ่มแบบบูรณาการ        มีค่าความสอดคล้องอยู่ระหว่าง 0.67 – 1.00 วิเคราะห์ข้อมูลหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติ t-test แบบ Independent และ Paired

ผลการวิจัยพบว่า 1) การเผชิญปัญหาเชิงรุกโดยรวมและรายด้านของกลุ่มทดลองหลังการเข้าร่วมโปรแกรมฯ สูงกว่าก่อนการเข้าร่วมโปรแกรมฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ
2)  การเผชิญปัญหาเชิงรุกโดยรวมและรายด้านหลังการเข้าร่วมโปรแกรมฯ ของกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

References

จิราภา สีทา. (2564). อิทธิพลของกลุ่มเพื่อน ความเครียด กับพฤติกรรมเที่ยวสถานบันเทิงของนักศึกษา มหาวิทยาลัยเอกชนแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร. ใน โครงงานพิเศษทางจิตวิทยา. มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต.

ผ่องพรรณ เกิดพิทักษ์. (2561). บทวิจารณ์หนังสือ (Book review) Corey, Gerald (2012). Theory and practice of group counseling. California: Thompson Book/Cole inc. 539pp. วารสารเกษมบัณฑิต, 19(1), 227-280.

พจนา เปลี่ยนเกิด. (2563). การเสริมสร้างการเผชิญปัญหาเชิงบวกของนักเรียนพยาบาล สังกัดกระทรวงกลาโหม โดยใช้รูปแบบการให้คำปรึกษากลุ่มแบบเน้นจุดแข็ง. ใน ปริญญานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

พจมาลย์ สกลเกียรติ. (2555). การเปรียบเทียบการใช้ชีวิตของนักศึกษามหาวิทยาลัยเอกชนในเขตกรุงเทพมหานครและต่างจังหวัด. ใน รายงานผลการวิจัย. มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

ภูริเดช พาหุยุทธ์. (2560). การศึกษาและพัฒนาการเผชิญปัญหาเชิงบวกของนักเรียนวัยรุ่นโดยการให้คำปรึกษากลุ่มเชิงรุก. ใน ปริญญานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

วรทัย ปิ่นกง. (2563). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความฉลาดทางอารมณ์และการเผชิญปัญหากับการปรับตัวของนักศึกษามหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต. ใน โครงงานพิเศษทางจิตวิทยา. มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต.

วรรณี แกมเกตุ. (2555). วิธีวิทยาการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์ = Research methodology in behavioral sciences (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร: ภาควิชาวิจัยและจิตวิทยาการศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วัชรี ทรัพย์มี. (2550). กระบวนการปรึกษา : ขั้นตอน สัมพันธภาพ ทักษะ = The counseling process : stages, rapport, skills (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วัณยรัตน์ คุณาพันธ์, สมโภชน์ อเนกสุข, และดลดาว ปูรณานนท์. (2562). การศึกษากระบวนการปรับตัวที่มีประสิทธิผลสำหรับนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาเอกชน. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 13(1), 95-105.

ศิริพงศ์ รักใหม่, สิริฉันท์ สถิรกุล เตชพาพงษ์, และพันธ์ศักดิ์ พลสารัมย์. (2562). แนวโน้มสถาบันอุดมศึกษาเอกชน : ทางเลือกแห่งอนาคต. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี, 13(1), 250-269.

สรรเสริญ หุ่นแสน. (2547). การสร้างชุดการสอนกิจกรรมแนะแนวเพื่อพัฒนาความสามารถทางสังคมของนักเรียนช่วงชั้นที่ 4. ใน สารนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. (2557). ข้อบังคับสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ฉบับที่ 4 แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ.2557. กรุงเทพมหานคร: สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี.

สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม. (2562). นโยบายและยุทธศาสตร์การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พ.ศ.2562 - 2570 และแผนด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พ.ศ.2563 - 2565. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม.

อรพรรณ ตาทา, ภูชงค์ เหล่ารุจิสวัสดิ์, และ เอสเตอร์ กรีนกลาส. (2556). การทดสอบความเที่ยงตรงและความเชื่อถือได้ของแบบวัดกลวิธีการเผชิญความเครียดเชิงรุก ฉบับภาษาไทย. จุฬาลงกรณ์เวชสาร, 57(6), 765 – 778.

อรพรรณ ลือบุญธวัชชัย. (2553). การให้คำปรึกษาทางสุขภาพ. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: คณะพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Aspinwall, L. G., & Taylor, S. E. (1997). A Stitch in Time: Self-Regulation and Proactive Coping. Psychological Bulletin, 3(121), 417-436.

Corey, G. (2012). Theory and practice of counseling & psychotherapy (9th ed.). belmont california: Cengage Learning.

Corey, G. (2016). Theory and practice of group counseling (9th ed.). belmont california: Brooks/Cole.

Greenglass, E., Schwarzer, R., Jakubiec, D., Fiksenbaum, L., & Taubert, S. (1999). The proactive coping inventory (PCI): A multidimensional research instrument. 20th International Conference of the Stress and Anxiety Research Society (STAR). Cracow: Poland

Norcross, J. C., & Beutler, L. E. (2011). Integrative psychotherapies. In R.J. Corsini & D. Wedding (Eds.), Current psychotherpies (9ed ed., pp.502-535). belmont california: Cengage Learning.

Schwarzer, R., & Taubert, S. (2002). Tenacious goal pursuits and striving toward personal growth: Proactive coping. In E. Frydenberg (Ed.), Beyond coping: Meeting goals, visions and challenges. London UK: Oxford University Press.

Schwarzer, R., & Knoll N. (2003). Positive Coping: Mastering Demands and Searching for Meaning. Freie: Universität Berlin.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-30