ความสัมพันธ์ระหว่างการผลักดันนโยบายสาธารณะและการกำหนดนโยบายสาธารณะ

ผู้แต่ง

  • สัญญา เคณาภูมิ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
  • จักรี ศรีจารุเมธีญาณ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
  • พระครูปลัดอำนาจ จิตร์มั่น มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

นโยบายสาธารณะ, การผลักดัน, การกำหนดนโยบาย

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการผลักดันนโยบายสาธารณะและการกำหนดนโยบายสาธารณะ กล่าวคือ นโยบายสาธารณะเป็นแนวทางกิจกรรม การกระทำโดยมีการวางแผน การจัดทำโครงการ วิธีการบริหารหรือกระบวนการดำเนินงานให้บรรลุวัตถุประสงค์ในเรื่องที่สำคัญต่อการแก้ปัญหาของสังคม ซึ่งรัฐบาลได้ทำการตัดสินใจและกำหนดไว้ล่วงหน้า นโยบายสาธารณะซึ่งเป็นเพียงแนวทางที่เสนอขึ้นสู่การผลักดันให้เป็นรูปธรรม ไม่ว่าจะเป็นตัวแทนของพรรคการเมือง ตัวแทนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ตัวแทนของหน่วยงานรัฐ แต่อาจเกิดจากการผลักดันของประชาชนหรือนักวิชาการก็ได้ จะต้องผ่านกระบวนการหนึ่งที่เรียกว่า กระบวนการทางนโยบายสาธารณะ ได้แก่ การกำหนดวาระนโยบาย การพัฒนาข้อเสนอ การตัดสินใจเชิงนโยบาย การดำเนินตามนโยบาย และการประเมินผลนโยบาย ซึ่งรัฐบาลมีอำนาจหน้าที่อันชอบธรรมที่จะกำหนดและตัดสินใจเลือกที่จะนำนโยบายสาธารณะเพื่อใช้ในการบริหารประเทศ เพื่อตอบสนองความต้องการ ค่านิยม ทัศนคติ และแก้ปัญหาต่าง ๆ ในสังคมให้กับประชาชนที่ยั่งยืนต่อไป

References

คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. (2564). นโยบายสาธารณะ กับ กระบวนการทางนโยบายสาธารณะ. เรียกใช้เมื่อ 12 พฤษภาคม 2566 จาก https://www.sdgmove.com/2021/09/07/sdg-updates-reasons-why-thais-public-policy-has-not-yet-sustainable/.

ธันยวัฒน์ รัตนสัค. (2551). นโยบายสาธารณะ. เชียงใหม่: คณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

พงค์เทพ สุธีรวุฒิ. (2561). การขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะแบบมีส่วนร่วม และการเชื่องโยงกับการจัดแผนพัฒนาพื้นที่ (จังหวัด). (เอกสารอัดสำเนา). สงขลา: สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

สมบัติ ธำรงธัญวงศ์. (2549). นโยบายสาธารณะ: แนวความคิดการวิเคราะห์และกระบวนการ. (พิมพ์ครั้งที่ 14). กรุงเทพมหานคร: เสมาธรรม.

สิริกาญจน์ เอี่ยมอาจหาญ. (2554). การนำนโยบายธรรมาภิบาลไปปฏิบัติในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น : วิเคราะห์กรณี องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอเมือง จังหวัดปราจีนบุรี. ใน ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์. มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

Anderson, James E. (1994). Public Policy – Making : Introduction. 2nd. New York : Houghton Mifflin Company.

Bardach, E. (2012). A Practical Guide for Policy Analysis: The Eightfold Path to More Effective Problem Solving. CQ Press.

Dunn, W. N. (2017). Public Policy Analysis: An Introduction (6th ed.). Routledge.

Dye, Thomas R. (1984). Understanding Public Policy. Englewood Cliffs : Prentice Hall.

Goodin, R. E. (1980). A Utilitarian Account of the Right to Privacy. In A. I. Goldman & J. J. Moriarty (Eds.), Social Experimentation (pp. 177–204). Springer.

Jordan, G., & Maloney, W. A. (1997). The Protest Business? Mobilizing Campaign Groups. Annual Review of Sociology, 23, 89–119. doi:10.1146/annurev.soc.23.1.89

Mintrom, M., & Vergari, S. (1996). Advocacy Coalitions, Policy Entrepreneurs, and Policy Change. Policy Studies Journal, 24(3), 420–434. doi:10.1111/j.1541-0072.1996.tb01525.x

Sabatier, P. A., & Jenkins-Smith, H. C. (1999). The Advocacy Coalition Framework: An Assessment. In P. A. Sabatier (Ed.), Theories of the Policy Process (pp. 117–166). Westview Press.

Sabatier, P. A., & Weible, C. M. (2014). Theories of the Policy Process. Westview Press.

Smith, M. A. (2015). Policy Advocacy in Hard Times. The American Review of Public Administration, 45(5), 575–591. doi:10.1177/0275074014554222

Stone, D. (2012). Policy Paradox: The Art of Political Decision Making (3rd ed.). W. W. Norton & Company.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-30