รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะผู้นำการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21 ของมัธยมศึกษาตรัง กระบี่ผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา

ผู้แต่ง

  • สิริธนา บริบูรณ์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีธรรมาโศกราช
  • เกศริน มนูญผล มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีธรรมาโศกราช
  • สรัญญา แสงอำพร มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีธรรมาโศกราช

คำสำคัญ:

สมรรถนะผู้นำ, การพัฒนาสมรรถนะผู้นำ, การเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) ศึกษาสมรรถนะผู้นำการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21 2) สร้างรูปแบบสมรรถนะผู้นำการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21 และ3) ประเมินรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะผู้นำการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาตรัง กระบี่  ผู้วิจัยได้กำหนดกลุ่มประชากรในการวิจัยในครั้งนี้ ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา รองผู้อำนวยการ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาตรัง กระบี่  จำนวน 345 คน  และกระบี่ จำนวน 240 คน รวมทั้งสิ้น 585 คน  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ เป็นผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาตรัง กระบี่ จำนวนทั้งสิ้น 232 คน โดยกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่าง โดยใช้ตารางของ เครจซี และมอร์แกน สถิติที่ใช้ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

          ผลการวิจัยพบว่า

  1. สมรรถนะผู้นำการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษา ขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาตรัง กระบี่ ในด้านสมรรถนะผู้นำการเปลี่ยนแปลง ในศตวรรษที่ 21 ในการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษาประกอบด้านภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง ด้านสมรรถนะผู้บริหาร และด้านการบริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 เนื่องด้วยบริบทเฉพาะของแต่ละสถานศึกษาทำให้การบูรณาการเพื่อนำไปสู่การปฏิบัติจริงมีค่อนข้างน้อย
  2. รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะผู้นำการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหาสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาตรัง กระบี่ ประกอบด้วย 3 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 หลักการและวัตถุประสงค์ของรูปแบบ ส่วนที่ 2 รูปแบบส่งผลต่อการพัฒนาสมรรถนะผู้นำการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21 มีองค์ประกอบของรูปแบบ 3 องค์ประกอบ และส่วนที่ 3 การนำรูปแบบไปใช้
  3. รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะผู้นำการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษา ขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาตรัง กระบี่ มีความถูกต้อง ความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และมีความเป็นประโยชน์ทุกด้าน

References

ชูชาติ มงคลเมฆ. (2561). การพัฒนารูปแบบการพัฒนาสมรรถนะครูแบบมีส่วนร่วมของ โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 3. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.

ต้องลักษณ์ บุญธรรม. (2562). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของครู ในสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษา จังหวัดปทุมธานี. วารสารพัฒนาการเรียนการสอนมหาวิทยาลัย รังสิต, 13(2), 123-134

บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น.

รุ้งนภา จันทร์ลี (2562) ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 2. ใน วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.

ล้านนา มาปลูก. (2562). การศึกษาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาสหวิทยาเขตสุดถิ่นไทยสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 36. ใน การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองการศึกษา มหาบัณฑิตสาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยพะเยา.

ศุภกิจ เกษม. (2562). แนวทางการส่งเสริมภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาในโรงเรียน ขยายโอกาส สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 3. ใน วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์.

สาโรจน์ โอพิทักษ์ชีวิน . (2560). การบริหารเชิงกลยุทธ์. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์เพียร์สัน เอ็ดดูเคชั่น อินโดไชน่า.

สุวัฒน์ วิวัฒนานนท์. (2562). การศึกษาแนวทางการพัฒนาครูผู้ช่วยของโรงเรียนในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล. วารสารรามคำแหง ฉบับคณะศึกษาศาสตร์, 1(1), 47-53.

สุมาลี สะโรบล. (2562). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารที่ส่งผลต่อการเป็นชุมชนแห่งทางวิชาชีพของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ประถมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 2. ครุศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฎราชนครินทร์

อริสา นพคุณ. (2560). การพัฒนาสมรรถนะครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา. ใน ดุษฎีนิพนธ์ สาขาวิชาบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.

Infographics Lab 203. (2012). Infographics Process. Retrieved April 3, 2014, from http://visual.ly/infographics-process

Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30 (3), 607-610.

Lowrey, E. (1987, August). "The Effects of Four Drills and Practices Times Unit on the Decoding Performances of Students with Specific Learning Disabilities," Dissertation Abstracts International, 39, 817-A.

Ziegenfuss · (2010) · An emerging approach to harness the benefits of an Internet option is to mail a survey and offer an option to complete the survey online.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-29