คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุที่ได้รับเงินเบี้ยยังชีพในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลดงเย็น อำเภอบ้านดุง จังหวัดอุดรธานี
คำสำคัญ:
คุณภาพชีวิต, สูงอายุ, องค์การบริหารส่วนตำบลบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุที่ได้รับเงินเบี้ยยังชีพในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลดงเย็น 2) เพื่อเปรียบเทียบคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุที่ได้รับเงินเบี้ยยังชีพในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลดงเย็น ที่จำแนกเพศ อายุ อาชีพ และจํานวนสมาชิกในครอบครัว และ 3) เพื่อเสนอแนะแนวทางพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือกลุ่มผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลดงเย็น คำนวณตามสูตรการคำนวณของทาโร ยามาเน่ 300 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือแบบสอบถาม ประกอบไปด้วยเนื้อหา 3 ส่วน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือสถิติพรรณนา ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ T - test และ F - test ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามเท่ากับ 0.886
ผลการวิจัยพบว่า
- คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุที่ได้รับเงินเบี้ยยังชีพในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลดงเย็น อำเภอบ้านดุง จังหวัดอุดรธานี โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 3.78, S.D.= 0.35) และเมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือด้านร่างกาย ( = 3.94, S.D.= 0.56) รองลงมาคือด้านจิตใจ ( = 3.88, S.D.= 0.49) และด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือด้านสิ่งแวดล้อม ( = 3.65, S.D.= 0.72)
- ผลการเปรียบเทียบคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุที่ได้รับเงินเบี้ยยังชีพในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลดงเย็น ที่จำแนกเพศ อายุ อาชีพ และจํานวนสมาชิกในครอบครัว โดยภาพรวมผู้สูงอายุที่ได้รับเงินเบี้ยยังชีพในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลดงเย็น ที่มีเพศ อายุ อาชีพ และจํานวนสมาชิกในต่างกัน มีคุณภาพชีวิตไม่แตกต่างกัน
3. ผลการศึกษาข้อเสนอแนะแนวทางพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุที่ได้รับเงินเบี้ยยังชีพในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลดงเย็น ได้แก่ ควรมีการสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกให้กับผู้สูงอายุอย่างทั่วถึงและเพียงพอในสถานที่ราชการ สวนสาธารณะ
References
กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. (2559). สถานการณ์ทางสังคม 10 เรื่องเด่น 10 เรื่องที่รุนแรง ประจำปี 2559 ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์.
กรมกิจการผู้สูงอายุ. (2565). กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์, การ ดำเนินงานด้านผู้สูงอายุของประเทศไทยตามแผนปฏิบัติการระหว่างประเทศมาดริดว่าด้วยเรื่องผู้สูงอายุ.กรมกิจการผู้สูงอายุ. กรุงเทพมหานคร.
กองส่งเสริมศักยภาพผู้สูงอายุ กรมกิจการผู้สูงอายุ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. (2560). คู่มือการประเมินตนเองตามเกณฑ์มาตรฐานชมรมคลังปัญญาผู้สูงอายุ จังหวัดนครปฐม. สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล.
จักรพงษ์ เกเย็น. (2554). คุณภาพชีวิตผู้อยู่อาศัยในชุมชนของการเคหะแห่งชาติในเขต กรุงเทพมหานคร: ศึกษากรณี โครงการเคหะชุมชนทุ่งสองห้อง อาคารแฟลต เช่า. ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. กรุงเทพมหานคร: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
ปนัดดา วิชาราช. (2566). คุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในเทศบาลตำบลหนองแวง อำเภอวานรนิวาส จังหวัดสกลนคร. คณะรัฐศาสตร์ วิทยาลัยพิชญบัณฑิต.
ภรณ์แพร ตุ้มทอง และ เกวลิน ศีลพิพัฒน์. (2566). คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุจังหวัดนนทบุรี. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
รุ่งนภา ศรีวิชัยรัตน์. (2558). คุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ กรณีศึกษา เขตเทศบาลนครแหลมฉบัง อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี. ใน วิทยานิพนธ์การบริหารรัฐกิจ, สาขาวิชาการเมืองการปกครอง คณะรัฐประศาสนศาสตร. มหาวิทยาลัยพายัพ.
สุภัคชัย ดำสีใหม่ และคณะ. (2565). แนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครศรีธรรมราช.
อนรรฆ อิสเฮาะ. (2562). คุณภาพชีวิตของประชาชนในเขตองค์การบริหารส่วนตาบลสะกอม อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา. ใน สารนิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขารัฐประศานศาตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. สงขลา.
อรอุมา รัชชูวงศ์ และชาญยุทธ หาญชนะ. (2566). คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุองค์การบริหารส่วนตำบลโนนม่วง อำเภอศรีบุญเรืองจังหวัดหนองบัวลำภู. คณะรัฐศาสตร์ วิทยาลัยพิชญบัณฑิต.
Cronbach, L.J. (1951). Coefficient Alpha and the Internal Structure of Tests. Psychometrika, 16, 297 – 334.
Taro Yamane. (1973). Statistics: an introductory analysis. New York: New York: Harper. & Row.