การบริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาลของที่ทำการปกครอง อำเภอโนนสัง จังหวัดหนองบัวลำภู
คำสำคัญ:
การบริหารจัดการ, หลักธรรมาภิบาล, ที่ทำการปกครองอำเภอบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) การบริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาลของที่ทำการปกครองอำเภอโนนสัง 2) เปรียบเทียบการบริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาลของที่ทำการปกครองอำเภอโนนสัง ที่จำแนกตามเพศ อายุ ระดับการศึกษา และอาชีพ และ 3) เพื่อเสนอแนวทางเสริมสร้างการบริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาลของที่ทำการปกครองอำเภอโนนสัง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ คือประชากรผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ผู้มีอายุตั้งแต่ 18 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป ที่มีภูมิลำเนาอยู่ในเขตพื้นที่อำเภอโนนสัง จำนวน 397 คน ได้มาจากสูตรของ ทาโร ยามาเน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบที และการทดสอบเอฟ
ผลการวิจัยพบว่า
- การบริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาลของที่ทำการปกครองอำเภอโนนสัง จังหวัดหนองบัวลำภู โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.23, S.D = 0.26) และเมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านหลักประสิทธิผล ( = 4.62, S.D = 0.34) รองลงมา คือ ด้านหลักการตอบสนอง ( = 4.61, S.D = 0.35) และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านหลักสำนึกรับผิดชอบ ( = 3.91, S.D = 0.39)
- ผลการวิเคราะห์เปรียบเทียบการบริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาลของที่ทำการปกครองอำเภอโนนสังจังหวัดหนองบัวลำภูที่จำแนกตามเพศ อายุ ระดับการศึกษา และอาชีพ พบว่าโดยภาพรวมประชาชนที่มีเพศ อายุ ระดับการศึกษา และอาชีพต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของที่ทำการปกครองอำเภอโนนสัง จังหวัดหนองบัวลำภูไม่แตกต่างกัน
3. แนวทางพัฒนาการเสริมสร้างการบริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาลของที่ทำการปกครองอำเภอโนนสังจังหวัดหนองบัวลำภู ได้แก่ รับฟังความคิดเห็น ข้อร้องเรียน หรือข้อเสนอแนะจากประชาชนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย โดยการให้ข้อมูลที่ถูกต้องและตรงประเด็น
References
จิรายุ ทินจอง และชาญยุทธ หาญชนะ. (2567). การบริหารตามหลักธรรมาภิบาลขององค์การบริหารส่วนตำบลทรายทอง อำเภอศรีบุญเรือง จังหวัดหนองบัวลำภู. คณะรัฐศาสตร์ วิทยาลัยพิชญบัณฑิต.
ชิษณุพงศ์ อ่อนศิริ. (2565). การบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในอำเภอหนองแสง จังหวัดอุดรธานี. คณะรัฐศาสตร์ วิทยาลัยพิชญบัณฑิต.
ชูชาติ วโรดมอุดมกูล. (2558). ความคิดเห็นของประชาชน ในการบริหารจัดการที่ดีตามหลักธรรมาภิบาลขององค์การบริหารส่วนตำบลผ่านศึก อำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว. คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.
พิชัยรัฐ หมื่นด้วง และ นัสพงษ์ กลิ่นจําปา. (2564).การบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลขององค์การบริหารส่วนตําบลหนองบัว อําเภอเมือง จังหวัดหนองบัวลําภู.
Journal of Roi Kaensarn Academi, 6(9), 425–438.
องค์การบริหารส่วนตำบลโนนสัง. (2567). ข้อมูลพื้นฐาน อำเภอโนนสัง จังหวัดหนองบัวลำภู. เรียกใช้เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2567 จาก https://www.nonsang.go.th/.
ภมร วงษ์ศรีจันทร์. (2559). การบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของเทศบาลตำบลตาคลี อำเภอตาคลีจังหวัดนครสวรรค์. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์. มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
วรานุช เทพจันทร์ และโกศล สอดส่อง. (2566). การบริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาลของเทศบาลตำบลหนองแวงแก้มหอมอำเภอไชยวาน จังหวัดอุดรธานี. วิทยาลัยพิชญบัณฑิต.
Taro Yamane. (1973). Statistics: An Introductory Analysis.3rdEd.New York.Harper
and Row Publications.