คุณภาพการให้บริการของสำนักงานที่ดินจังหวัดหนองบัวลำภู
คำสำคัญ:
คุณภาพการให้บริการ, สำนักงานที่ดิน, ผู้รับบริการบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับคุณภาพการให้บริการของสำนักงานที่ดินจังหวัดหนองบัวลำภู 2) ระดับเปรียบเทียบคุณภาพการให้บริการของสำนักงานที่ดินจังหวัดหนองบัวลำภู ที่จำแนกตามเพศ อายุ ระดับการศึกษา และอาชีพ และ 3) แนวทางในการพัฒนาคุณภาพการให้บริการของสำนักงานที่ดินจังหวัดหนองบัวลำภู กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ คือประชาชนทั่วไปที่มาใช้บริการของสำนักงานที่ดินจังหวัดหนองบัวลำภู จำนวน 400 คน ด้วยการใช้สูตรของทาโร ยามาเน่ สุ่มกลุ่มตัวอย่างโดยวิธีการสุ่มแบบบังเอิญ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ คือ จำนวน ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ข้อมูล ทดสอบสมมติฐาน โดยใช้สถิติค่าที และใช้สถิติเอฟ
ผลการวิจัยพบว่า
- คุณภาพการให้บริการของสำนักงานที่ดินจังหวัดหนองบัวลำภู โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 3.94, S.D = 0.38) และเมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านความเป็นรูปธรรมของบริการ ( = 4.16, S.D = 0.36) รองลงมา คือ ด้านความเชื่อถือไว้วางใจได้ ( = 4.15, S.D = 0.36) และด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ด้านการรู้จักและเข้าใจผู้รับบริการ ( = 3.66, S.D = 0.69)
- การเปรียบเทียบคุณภาพการให้บริการของสำนักงานที่ดินจังหวัดหนองบัวลำภู ที่จำแนกตามเพศ อายุ ระดับการศึกษา และอาชีพ โดยภาพรวมประชาชนที่มีอาชีพต่างกัน มีความคิดเห็นต่อคุณภาพการให้บริการของสำนักงานที่ดินจังหวัดหนองบัวลำภู แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนประชาชนที่มีเพศ อายุ และระดับการศึกษาต่างกัน มีความคิดเห็นต่อคุณภาพการให้บริการของสำนักงานที่ดินจังหวัดหนองบัวลำภู ไม่แตกต่างกัน
- แนวทางในการพัฒนาคุณภาพการให้บริการของสำนักงานที่ดินจังหวัดหนองบัวลำภู ได้แก่ เปิดเผยข้อมูลต่าง ๆ เกี่ยวกับการให้บริการและค่าธรรมเนียมที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ประชาชนเข้าใจในกระบวนการและไม่มีข้อสงสัย
References
ธัมมาภรณ์ ศรีเคลือบ และพัฒน์ศิณ สำเริงรัมย์. (2559). การบริการสาธารณะของเทศบาล ศึกษากรณีเทศบาลตำบลเมืองบัวอำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด. รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต วิทยาลัยนครราชสีมา.
บุญชม ศรีสะอาด. (2538). วิธีการทางสถิติสําหรับการวิจัย. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส น.
มยุรี ขะพินิจ และชาญยุทธ หาญชนะ. (2565). คุณภาพการให้บริการของศาลจังหวัดหนองบัวลำภู. คณะรัฐศาสตร์ วิทยาลัยพิชญบัณฑิต.
วีณารัตน์ หนูแก้ว. (2559). คุณภาพการให้บริการของสำนักงานอัยการจังหวัดจันทบุรี. ใน วิทยานิพนธ์ นศ.ม. (บริหารรัฐกิจ) ชลบุรี. มหาวิทยาลัยบูรพา.
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2564). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ ๑๒ (พ.ศ. ๒๕๖๐-๒๕๖๔). เรียกใช้เมื่อ 2 มกราคม 2567 จาก https://www.nesdc.go.th/ewt_news.php?nid=6420&filename=de
สุวัตถิ์ ไกรสกุล และจุฑาภรณ์ คงรักษ์กวิน. (2560). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบลบางไผ่ อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี. วารสารร่มพฤกษ์ มหาวิทยาลัยเกริก, 35(2), 119-140.
สุนิสา วรรณภักดี และบุญเหลือ บุบผามาลา. (2566). คุณภาพการให้บริการของสำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดีจังหวัดหนองบัวลำภู.วารสารพุทธมัคค์ ศูนย์วิจัยธรรมศึกษา สํานักเรียนวัดอาวุธวิกสิตาราม, 8(2), 216-227.
สำนักงานที่ดินสำนักงานที่ดินจังหวัดหนองบัวลำภู. (2567). ข้อมูลพื้นฐานสำนักงานที่ดิน. จังหวัดหนองบัวลำภู.เรียกใช้เมื่อ 15 ธันวาคม 2567 จาก
Cronbach, L.J. (1951). Coefficient Alpha and the Internal Structure of Tests. Psychometrika, 16, 297 – 334.
Taro Yamane. (1973). Statistics: an introductory analysis. New York: New York: Harper. & Row.