บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อสมรรถนะเทคโนโลยีสารสนเทศของครูโรงเรียนเอกชน สังกัดสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนนทบุรี

ผู้แต่ง

  • สำนวน คุณพล มหาวิทยาลัยเกริก
  • เสาวภาคย์ แหลมเพ็ชร มหาวิทยาลัยเกริก

คำสำคัญ:

บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษา, สมรรถนะเทคโนโลยีสารสนเทศ, ครูโรงเรียนเอกชน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษา
2) ศึกษาระดับสมรรถนะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของครู 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษากับสมรรถนะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของครู และ
4) ศึกษาบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อสมรรถนะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของครูในโรงเรียนเอกชน สังกัดสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนนทบุรี กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ คือ ครูในโรงเรียนเอกชน สังกัดสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนนทบุรี จำนวน 346 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางของเครจซี่และมอร์แกน และใช้วิธีสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น ตามสัดส่วนกระจายตามอำเภอที่ตั้งของโรงเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ

            ผลการวิจัยพบว่า 1) บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในภาพรวมอยู่ในระดับมาก
2) สมรรถนะเทคโนโลยีสารสนเทศของครูในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 3) บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษามีความสัมพันธ์ทางบวกกับสมรรถนะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของครูในโรงเรียนเอกชนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ 4) บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษา 4 ตัวแปร ได้แก่ บทบาทการส่งเสริมพัฒนาครู บทบาทการจัดสรรทรัพยากร บทบาทการสร้างขวัญกำลังใจ และบทบาทการประเมิน สามารถร่วมกันพยากรณ์สมรรถนะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของครูได้ร้อยละ 76.10 โดยมีความคลาดเคลื่อนมาตรฐานของการพยากรณ์เท่ากับ 0.224 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2567). นโยบายและจุดเน้นของกระทรวงศึกษาธิการ ปีงบประมาณ พ.ศ.2567. เรียกใช้เมื่อ 7 ตุลาคม 2567, จากhttps://moe360.blog/2023/01/04/policy-and-focus-moe-fiscal-year-2024/

กุลภัสสร ป้องคํา และธดา สิทธิ์ธาดา. (2566). บทบาทผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อทักษะการจัดการเรียนรู้ของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานครเขต 1. วารสารสิรินธรปริทรรศน, 24(2), 422-436.

ธีระพงษ์ แก้วฝ่าย. (2563).การพัฒนาศักยภาพครูในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการจัดการเรียนรู้ โรงเรียนบ้านนาฮี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 3. ใน วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

นรินทร์ รักไธสงค์ สุภัชฌาน์ ศรีเอี่ยม และชาญชัย วงศ์สิรสวัสดิ์. (2564). ความสัมพันธ์ระหว่างบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษากับการดำเนินงานการประกันคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. วารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์, 7(3), 82-97.

นัทธีรัตน์ พีระพันธุ์. (2567). รูปแบบการพัฒนาทักษะทางเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของครูเพื่อสร้างการเรียนรู้ของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21. เรียกใช้เมื่อ 14 กันยายน 2567, จาก https://researchcafe.tsri.or.th/communications-technology-competencies-for-thai-teachers-in-the-21st-century/

นิรภาดา โพธิ์บุบผา. (2564). โปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะครูด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการจัดการเรียนการสอนสำหรับโรงเรียนศึกษาสงเคราะห์ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ. ใน วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ปาณิสรา โชคคเณศร์. (2563). บทบาทผู้บริหารสถานศึกษาในการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน ตามความคิดเห็นของครูหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 3 จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. ใน วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.

พิชิต สนั่นเอื้อ. (2563). รูปแบบการพัฒนาครูผู้สอนในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อการจัดการเรียนรู้ สำหรับผู้เรียนที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ ของศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดอุดรธานี. ศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดอุดรธานี. อุดรธานี.

เพชรรัตน์ วงค์คำ. (2562). แนวทางการพัฒนาสมรรถนะด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ของครูโรงเรียนมัธยมศึกษา ในจังหวัดปทุมธานี. ใน วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยรังสิต.

ศุภกฤต ดิษฐสุวรรณ. (2566). รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการจัดการเรียนรู้ของครูเพื่อยกระดับคุณภาพผู้เรียนโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการสุวรรณภูมิ. Journal of Roi Kaensarn Academi, 8(3), 194-214.

สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนนทบุรี. (2565). แผนพัฒนาการศึกษาจังหวัดนนทบุรี (พ.ศ.2566-2567). สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนนทบุรี. นนทบุรี.

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2565). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 พ.ศ. 2566 – 2570. กรุงเทพ: สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี.

สำนักตรวจราชการและติดตามประเมินผล. ข้อมูลระบบสารสนเทศ. เรียกใช้เมื่อ 23 กันยายน 2567, จาก https://sp.moe.go.th/sp_information/

สุรัตน์ จันทโช. (2566). บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษายุคโลกพลิกผันที่ส่งผลต่อการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการเรียนการสอน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตราด. ใน วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.

อุบลรัตน์ หิริณวรรณ. (2563). การเสริมสร้างสมรรถนะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษาโดยใช้การเรียนรู้แบบแลกเปลี่ยนเรียนรู้. ใน วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

Cronbach, L. J. (1970). Essentials of Psychological Testing. New York: Harper & Row.

Ekantiningsih, P. D., & Sukirman, D. (2023). Trends of education and training teacher competency in information and communication technology. Jurnal Inovasi Teknologi Pendidikan, 10(1), 87-105.

Krejcie, R. V. and Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement. 30(3), 607-610.

Nurlatifah, L., Dewi, L., & Kurniawan, D. (2023). Analysis of information and communication technologies (ICT) competencies of primary school teachers. Proceedings of the 3rd International Conference of Humanities and Social Science, 3, 127–137.

Yuting, Z., Adams, D. & Lee, K.C.S. (2022). The relationship between technology leadership and teacher ICT competency in higher education. Education and Information Technologies, 27(7), 10285–10307.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-02-28