ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษา กับสมรรถนะด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตร เขต 1
คำสำคัญ:
ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์, สมรรถนะด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครู, ผู้บริหารสถานศึกษาบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตร เขต 1 2) ศึกษาการเป็นสมรรถนะด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตร เขต 1 และ 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษากับสมรรถนะด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ารศึกษาประถมศึกษาพิจิตร เขต 1 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูโรงเรียนขนาดเล็ก อำเภอเมืองพิจิตร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตร เขต 1 ปีการศึกษา 2567 จำนวน 214 คน แบ่งเป็นผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 87 คน จาก 87 โรงเรียน โดยการเลือกแบบเจาะจง และครูผู้สอน จำนวน 127 คน โดยกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างตามตารางสำเร็จรูปของ เครจซี่และมอร์แกน และเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น ตามสัดส่วนของครูแต่ละโรงเรียน จำนวน 87 โรงเรียน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามชนิดมาตราประมาณค่า 5 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน
ผลการวิจัยพบว่า
- 1. ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษา ในภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 64)
- สมรรถนะการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครู ในภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.71)
3. ผลการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษากับสมรรถนะด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครู โดยรวมมีความสัมพันธ์กันทางบวกในระดับสูง มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (r = 0.790**) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับนัยสำคัญ .01
References
จิราภรณ์ ยกอินทร์. (2560). การจัดการเรียนรู้ผ่านการลงมือปฏิบัติ. มหาวิทยาลัยสวนดุสิต.
ฉัตรชัย หวังมีจงมี และองอาจ นัยพัฒน์. (2560). สมรรถนะของครูไทยในศตวรรษที่ 21 : ปรับการเรียน เปลี่ยนสมรรถนะ. วารสารสถาบันเสริมศึกษาและทรัพยากรมนุษย์มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์, 12 (2), 47-63.
ชูศรี วงศ์รัตนะ. (2560). เทคนิคการใช้สถิติเพื่อการวิจัย. ศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ฐานะมาศ หาดยาว. (2564). ความต้องการจําเป็นและแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นําเชิงสร้างสรรค์ของผู้อำนวยการสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา จังหวัดเพชรบูรณ์. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยนเรศวร.
ณัฏฐกิตติ์ บุญเก่ง. (2565). ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษากับสมรรถนะครูใน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปัตตานี เขต 2. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 10). สุวีริยาสาน์ส.
บงกช วิจบ. (2560). ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาในเขตอำเภอเมือง จังหวัดปราจีนบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 7. ใน วิทยานิพนธ์ ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยบูรพา.
ไพฑูรย์ สินลารัตน์ และนักรบ หมี้แสน. (2561). ความเป็นผู้นำทางการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 3). โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ไพรบูรณ์ จารีต. (2553). สมรรถนะของข้าราชการครูกรุงเทพมหานคร เขตยานนาวา. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา.
มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
สถิรพร เชาวน์ชัย. (2561). เอกสารประกอบการสอน การวิจัยทางการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยนเรศวร.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตร เขต 1. (2566). แผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา ระยะ 5 ปี (พ.ศ.2566-2570). กลุ่มนโยบายและแผนสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตร เขต 1.
สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ. (2567). แผนปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ 2567 ของสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ. สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2557). การศึกษาไทยในโลกศตวรรษที่ 21. ใน การประชุมวิชาการระหว่างประเทศ, การศึกษาไทยในโลกศตวรรษที่ 21. สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา, กรุงเทพมหานคร.