รูปแบบการจัดการธุรกิจโรงแรมระดับ 5 ดาว อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ หลังการระบาดของโรคติดเชื้อโควิด 19
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่อง รูปแบบการจัดการธุรกิจโรงแรมระดับ 5 ดาว อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ หลังการระบาดของโรคติดเชื้อโควิด 19 มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจความสำเร็จของการจัดกิจกรรมตามรูปแบบการท่องเที่ยวของผู้ประกอบการโรงแรมระดับ 5 ดาว อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ (2) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนารูปแบบการท่องเที่ยวของ อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และงานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยแบบผสมผสาน โดยใช้วิธีวิจัยเชิงปริมาณ ซึ่งใช้เครื่องมือเป็นแบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูล จากนักท่องเที่ยวที่ใช้บริการโรงแรมระดับ 5 ดาว อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จำนวน 386 คน และวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (qualitative research) ได้ทำการศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลจากเอกสารหรือการวิจัยเชิงเอกสาร และกระบวนการสัมภาษณ์เชิงลึก โดยมีกลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลัก คือ ผู้บริหารโรงแรมระดับ 5 ดาว ในอำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จำนวน 6 ท่าน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การสรุปประเด็นการสัมภาษณ์และมีการอภิปรายผล โดยการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยเชิงปริมาณ พบว่า ค่าสถิติ KMO เท่ากับ 0.703 ค่าสถิติไคสแควร์ เท่ากับ 13692.904 โดยการวิเคราะห์องค์ประกอบสามารถสกัดปัจจัยได้ 5 องค์ประกอบ ซึ่งมีพิสัยของค่าไอเกนอยู่ระหว่าง 1.250 – 8.279 และมีค่าความแปรปรวนสะสมร้อยละ 51.74 ได้แก่ 1) ด้าน สิ่งดึงดูดใจ 2) ด้านเส้นทางการเข้าถึง 3) ด้านสิ่งอำนวยความสะดวก 4) ด้านกิจกรรมไฮไลท์ และ5) ด้านที่พัก และผลการวิจัยเชิงคุณภาพ พบว่า ผู้ประกอบการณ์ทำการประชุมหาแนวทางการปรับปรุงการให้บริการโดยเพิ่มจุดเด่น เพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวให้กลับมาเที่ยวหลังสถานการณ์โควิด-19 จัดการฝึกอบรมพนักงานเพื่อเพิ่มมาตรการความปลอดภัยหลังสถานการณ์โควิด-19 องค์กรได้ศึกษาเกี่ยวกับทัศนคติและศักยภาพของพนักงานที่มีต่อการทำงานในปัจจุบัน และมีการเพิ่มสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ เข้ามาใช้ดึงดูดนักท่องเที่ยวหรือการหารายได้เสริมให้กับองค์กร เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาองค์กรต่อไป โดยสรุปผลการวิจัยเชิงคุณภาพและวิจัยเชิงปริมาณมีความสอดคล้องกัน โดยจะต้องมุ่งเน้นการพัฒนาสิ่งดึงดูดใจ เส้นทางการเข้าถึงสิ่งอำนวยความสะดวก กิจกรรมไฮไลท์ และที่พักให้มีจุดเด่นเพิ่มมากขึ้นและสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการพักผ่อนและทำกิจกรรมไปพร้อมกันภายในโรงแรมได้
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิทยาการจัดการและการบัญชี มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฎอุตรดิตถ์
บทความที่ลงตีพิมพ์ใน วารสารวิทยาการจัดการและการบัญชี มหาวิทยาลัยราชภัฎอุตรดิตถ์ ถือว่าเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้เขียน คณะบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย ผู้เขียนต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง
ผู้เขียนที่ตีพิมพ์ ยอมรับเงื่อนไขต่อไปนี้:
- ผู้เขียนรักษาลิขสิทธิ์และให้สิทธิ์วารสารในการตีพิมพ์ครั้งแรกพร้อมกับผลงานที่ได้รับใบอนุญาตพร้อมกันภายใต้ Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0) ที่อนุญาตให้ผู้อื่นแบ่งปันผลงานโดยรับทราบถึงผลงานของผู้เขียนและ การตีพิมพ์ครั้งแรกในวารสารนี้
- ผู้เขียนสามารถทำข้อตกลงเพิ่มเติมตามสัญญาแยกต่างหากสำหรับการเผยแพร่ผลงานฉบับตีพิมพ์ของวารสารแบบไม่ผูกขาด (เช่น โพสต์ลงในพื้นที่เก็บข้อมูลของสถาบันหรือตีพิมพ์ในหนังสือ) โดยรับทราบการตีพิมพ์ครั้งแรก ในวารสารนี้
- ผู้เขียนได้รับอนุญาตและสนับสนุนให้โพสต์ผลงานของตนทางออนไลน์ (เช่น ในคลังข้อมูลของสถาบันหรือบนเว็บไซต์) ก่อนและระหว่างขั้นตอนการส่งผลงาน เนื่องจากอาจนำไปสู่การแลกเปลี่ยนที่มีประสิทธิผล ตลอดจนการอ้างอิงงานที่ตีพิมพ์เร็วขึ้นและมากขึ้น
References
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2557). สถิตินักท่องเที่ยวที่ได้เดินทางมาท่องเที่ยวที่อําเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. ประจวบคีรีขันธ์. การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย.
กองเศรษฐกิจการท่องเที่ยวและกีฬา. (2563). สถานการณ์ด้านการท่องเที่ยวไทย. (มปท.). กระทรวงการท่องเทียวและกีฬา.
เฉลิมพล ศรีทอง และธีรพงษ์ เที่ยงสมพงษ์. (2564). แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวเมืองมรดกโลก และเมืองสร้างสรรค์โลก โดยชุมชนเมืองเก่าสุโขทัย สำหรับฐานวิถีชีวิตใหม่หลังสถานการณ์โควิด 19. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธนบุรี, 15(2), 103-114.
บริสุทธิ์ แสนคำ. (2564). พฤติกรรมท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวชาวไทยหลังสถานการณ์โควิด 19. วารสารศิลปศาสตร์และอุตสาหกรรมบริการ, 4(1), 160-167.
ศิริเพ็ญ ดาบเพชร. (2561). องค์ประกอบการท่องเที่ยวและช่องทางการสื่อสารภาพลักษณ์การท่องเที่ยวสำหรับกลุ่มนักท่องเที่ยวอนาคต กรณีศึกษาจังหวัดพิษณุโลก. วารสารการวิจัยเพื่อพัฒนาชุมชน (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์). 11(1), 79-98.
สมบูรณ์ สุริยวงศ์,บุญมี พันธุ์ไทย, เตือนใจ เกตุษา, สุรศักดิ์ อมรรัตนศักดิ์, สมจิตรา เรืองศรี และ เพ็ญศรี เศรษฐวงศ์. (2552). Educational Research and Statistics: วิจัยและสถิติทางการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ศูนย์ส่งเสริมวิชาการ.
สำนักงานปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2563). Covid -19 กับผลกระทบต่อการท่องเที่ยวไทย สถานการณ์การท่องเที่ยวของประเทศไทย ไตรมาส 1/2563. กรุงเทพฯ : สำนักงานฯ.
สุภมาส อังศุโชติ, สมถวิล วิจิตรวรรณา และรัชนีกูล ภิญโญภานุวัฒน์. (2552). สถิติวิเคราะห์สำหรับการวิจัยทางสังคมศาสตร์และพฤติกรรมศาสตร์:เทคนิคการใช้โปรแกรม LISREL. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ : เจริญดีมั่นคงการพิมพ์.
อุบลวรรณ สุวรรณภูสิทธิ์ และอำพล ชะโยมชัย. (2556). อิทธิพลของการสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการที่มีต่อการตัดสินใจท่องเที่ยวเชิงประสบการณ์ของนักท่องเที่ยวไทย. วารสารวิทยาการจัดการและการบัญชี. 2(1), 1-17.
Aaker, D. A., Kumar, V., and Day, G. S. (2001). Marketing Research. John Wiley and Son.
Cochran, W.G. (1953). Sampling Techniques. New York : John Wiley & Sons, Inc.
Likert, R.. (1967). The Method of Constructing and Attitude Scale. In Reading in Fishbeic, M (Ed.), Attitude Theory and Measurement (pp. 90-95). New York : Wiley & Son.
Loureiro, S. M. C., & Gonzalex, F. J. M. (2008). The importance of quality, satisfaction, trust, and image in relation to rural tourism loyalty. Journal of Travel & Tourism Marketing. 25(2), 117-136.
Nunnally, J. C. & Bernstein, I. H. (1994). Psychometric Theory. (3rded.). McGraw-Hill.
Xiang, Z., & Gretzel, U. (2010). Role of social mediain online travel information search. Tourism Management, 31(2), 179-188.