เศรษฐกิจพอเพียงและบัญชีครัวเรือน : แนวคิดการดำรงชีวิตอย่างยั่งยืนผ่านศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ

Main Article Content

ณัฏฐ์ดนัย ประเทืองบริบูรณ์
ปิยพัชร์ ศรีวงษ์วิศาล
โสภณ ตู้จินดา

บทคัดย่อ

       บทความนี้มีเจตนาที่จะนำเสนอแนวคิดการดำรงชีวิตอย่างยั่งยืนบนความสัมพันธ์ระหว่างหลักเศรษฐกิจพอเพียงและบัญชีครัวเรือน ในสภาวะการปรับตัวภายใต้ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น   ในศตวรรษที่ 21 เพื่อให้ประชาชนมีความสุขอย่างยั่งยืน ผ่านการศึกษาและสังเคราะห์ถึงหลักการ แนวคิด และทฤษฎี ที่ระบุไว้ในเอกสารวิชาการ งานวิจัย และแหล่งข้อมูลอิเลคทรอนิกส์ ที่เกี่ยวข้องด้วยวางลำดับประเด็นตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงประเด็นที่สุดท้ายตามวัตถุประสงค์การวิจัย และความเกี่ยวพันกันในประเด็นต่าง ๆ ตามกรอบแนวคิดการวิจัย ของศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริจำนวน 3 แห่ง ซึ่งคัดเลือกจากความแตกต่างของภูมิภาคคือ ภาคเหนือ ภาคอีสาน และภาคกลาง ที่มีความหลากหลายทางภูมิศาสตร์ เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมของพื้นที่ ได้แก่ 1) ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดเชียงใหม่ 2) ศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดสกลนคร และ 3) ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทรายอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดเพชรบุรี โดยทำการศึกษาในระหว่างเดือนกรกฎาคม พ.ศ.2564 ถึงเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2565


       ผลจากการสังเคราะห์ข้อมูลเกิดข้อค้นพบคือ ประชาชนสามารถเรียนรู้ในการนำพาตัวเอง ครอบครัว ชุมชน สู่ความสุขอย่างยั่งยืนบนความพอมีพอกิน อย่างสอดคล้องกับปัจจัยการผลิตทั้ง ดิน น้ำ และป่าไม้ ที่มีความสัมพันธ์กัน และการเรียนรู้เพื่อสร้างวินัยทางการเงินด้วยการจัดทำบัญชีครัวเรือน ส่งผลให้มีการออมเงินเพิ่มขึ้น ปัญหาหนี้สินลดลง จากการรับรู้ถึงระดับรายได้และรายจ่ายของตนเอง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรชนก สนิทวงค์ และณรงค์ เจนใจ. (2563). แนวทางการพัฒนาชุมชนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสู่การสร้างสังคมอยู่ดีมีสุข “พอมี พอกิน พอใช้” อย่างยั่งยืน. วารสาร มจร การพัฒนาสังคม, 5(1), 1-16.

กฤษฎา บุญชัย และคณะ. (2563). การประเมินความเสียหาย ผลกระทบและการปรับตัวของชุมชนท้องถิ่นต่อภาวะโรคระบาด COVID 19. กรุงเทพฯ : มูลนิธิชุมชนท้องถิ่นพัฒนา.

กิตติคุณ ด้วงสงค์, เอกรัตน์ มหามงฺคโล และสมพงษ์ ฐิตจิตฺโต. (2561). แนวคิดในการพัฒนาประเทศไทย. รายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 2 การวิจัยและนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาจิตใจและสังคมอย่างยั่งยืนในยุค Thailand 4.0, (น. 183-193). น่าน : วิทยาลัยสงฆ์นครน่าน เฉลิมพระเกียรติฯ.

กานต์มณี การินทร์. (2565). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อภาระหนี้ครัวเรือนในสถานการณ์ช่วงโควิด-19 ของเกษตรกรในเขตตำบลสะแกโพรง จังหวัดบุรีรัมย์. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 5(2), 458-472.

เกษร เกษมชื่นยศ. (2563). การพัฒนาของไทยตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน. วารสารจันทรเกษมสาร, 26(1), 16-30.

ชัยวุฒิ ครุฑมาศ, ไววิทย์ หนูเอก และสมโชค จักร์หรัด. (2564). การพัฒนาต้นแบบศูนย์การเรียนรู้การพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ประยุกต์สู่ โคก หนอง นา พัฒนาชุมชน ศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนนครศรีธรรมราช. นครศรีธรรมราช : ศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนนครศรีธรรมราช.

ทวีศักดิ์ อุ่นจิตติกุล. (2559). "ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ" ศาสตร์แห่งพระราชา. https://www.dailynews.co.th/articles/532281/

ธนัชชา จันคณา, พิพัฒน์ ไทยอารี และศิรภัสสรศ์ วงศ์ทองดี. (2564). คุณภาพชีวิตของบุคลากรในหน่วยงานราชการที่มีผลมาจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด 19 กรณีศึกษา : กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ. วารสารวิชาการไทยวิจัยและการจัดการ, 2(3), 16-45.

ณดา จันทร์สม. (2563). บริหารการเงินเพื่อความพอเพียง. กรุงเทพฯ : ศูนย์ศึกษาการพัฒนาที่ยั่งยืนและเศรษฐกิจพอเพียง, สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

ณัฏฐ์ดนัย ประเทืองบริบูรณ์, ปิยพัชร์ ศรีวงษ์วิศาล และโสภณ ตู้จินดา. (2564 ก). กรอบแนวคิดการวิจัย. เชียงใหม่ : สังเคราะห์.

_______. (2564 ข). กระบวนทัศน์การดำรงชีวิตอย่างยั่งยืน. เชียงใหม่ : สังเคราะห์.

นภมณี เตพละกุล และวศินี ธรรมศิริ. (2561). เศรษฐกิจพอเพียงกับการบัญชี : งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง. วารสารวิชาชีพบัญชี, 14(44), 129-139.

ปภาพิต ศรีสว่างวงศ์. (2562). แนวทางการจัดทำบัญชีครัวเรือนสู่การสร้างภูมิปัญญาทางบัญชีภายใต้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของวิสาหกิจชุมชนจังหวัดมหาสารคาม. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

ผุสดี ทิพทัส, ชัยบูรณ์ ศิริธนะวัฒน์ และวิมลรัตน์ อิสระธรรมนูญ. (2553). สถาปัตยกรรมหลัง พ.ศ. 2540: วิกฤตการณ์และทางเลือกของสถาปนิกไทย. กรุงเทพฯ : สมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์.

ภัทรา เรืองสินภิญญา. (2555). “บัญชีครัวเรือน เรื่องใกล้ตัวที่ถูกมองข้าม”. วารสารวิทยาการ จัดการและสารสนเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 7(1), 20-28.

มนต์ทนา คงแก้ว, นัดพลพิชัย ดุลยวาทิต และกุลธีรา ทองใหญ่. (2561). สถานการณ์หนี้ครัวเรือนกับแนวทางการสร้างวินัยทางการเงิน เพื่อความพอเพียง. สงขลา : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย.

มูลนิธิชัยพัฒนา. (2559). การพัฒนาสังคมและการส่งเสริมคุณภาพชีวิตของประชาชน. http://chaipat.or.th/site-content/item/213-social-development-and-enhance-quality-of-life-of-people.html

รัฐพงศ์ บุญญานุวัตร. (2561). เดินหน้าประเทศไทย กับนวัตกรรมการพัฒนาทุนมนุษย์. มติชนออนไลน์ คอลัมภ์นิวส์มอนิเตอร์. https://www.matichon.co.th/news-monitor/news_1218456

ลลิตา บุดดา. (2559). หนี้ภาคครัวเรือนกับวัฏจักรธุรกิจไทย. คณะเศรษฐศาสตร์: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

วนิดา เสร็จกิจ. (2563). การพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืนในบริบทของการพัฒนาประเทศ. วารสารเศรษฐศาสตร์การเมืองบูรพา, 8(1), 73-98.

วสันต์ กาญจนมุกดา, ภานุธรรมสุวรรณ และวิวัฒน์ ฤทธิมา. (2564). การทำบัญชีครัวเรือนของเกษตรกรตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงพื้นที่จังหวัดพัทลุง. วารสารวิจัยวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์, 6(1), 187-198.

วันเพ็ญ จันทศรี. (2563). ศูนย์ศึกษาการพัฒนาฯ ทางออกยามวิกฤตของราษฎรไทย. https://www.ryt9.com/s/prg/3119288

วิทวัส เพ็ญภู่, เสรี ชัดแช้ม และพุฒิชาดา จันทะคุณ. (2563). การแก้ปัญหาที่ซับซ้อน: ทักษะที่สำคัญอันดับแรกของศักยภาพมนุษย์ในศตวรรษที่ 21. วารสารครุศาสตร์สาร, 14(1), 253-267.

วิรไท สันติประภพ. (2560). สุนทรพจน์ในงานแถลงข่าว โครงการแก้ไขปัญหาหนี้ส่วนบุคคลที่ไม่มีหลักประกัน (คลินิกแก้หนี้). ห้องประชุมภัทรรวมใจ อาคาร 2 ชั้น 2 ธนาคารแห่งประเทศไทย วันที่ 17 พฤษภาคม 2560.

สุภางค์ จันทวานิช และวิศนี ศิลตระกูล. (2539). การพัฒนาแนวคิดและเครื่องชี้วัดสังคมและคุณภาพชีวิตในต่างประเทศในการพัฒนาเครื่องชี้วัดคุณภาพชีวิตและสังคมไทย. กรุงเทพ : สำนักงานกองทุนสนับสนุนงานวิจัย.

สุวิทย์ เมษินทรีย์. (2557). แนวทางการพัฒนาการศึกษาไทยกับการเตรียมความพร้อมสู่ศตวรรษที่ 21. กรุงเทพ : สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ.

แสงเดือน อยู่เกิด. (2562). ปัจจัยที่มีผลต่อการจัดทำบัญชีครัวเรือนของกลุ่มศิลปหัตถกรรมในเขตจังหวัดภาคกลาง. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

สำนักงาน กปร. (2559). แผนแม่บทศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ พ.ศ. 2560 – 2564. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2565). การสำรวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือน พ.ศ. 2564. กรุงเทพฯ : สำนักงานสถิติแห่งชาติ.

UNESCO. (2013). Education for a Sustainable Future. UNESCO Asia-Pacific Regional Consultations on a Post-DESD framework. Bangkok, 16-17 May 2013.