ปัจจัยเชิงสาเหตุของพฤติกรรมการเรียนรู้ผ่านอินเทอร์เน็ตของนิสิตระดับปริญญาตรี

Main Article Content

อนุชา ถาพยอม
บงกช ตั้งจิระศิลป์

บทคัดย่อ

           การวิจัยครั้งนี้มุ่งศึกษาพฤติกรรมและพัฒนาโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของพฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อการเรียนรู้ของนิสิตระดับปริญญาตรี ใช้การสุ่มตัวอย่างเป็นแบบชั้นภูมิ เก็บรวบรวมข้อมูลกับนิสิตระดับปริญญาตรี จำนวน 400 คน โดยใช้แบบสอบถามเก็บรวบรวมข้อมูล ข้อคำถามครอบคลุม 7 ด้าน ได้แก่ พฤติกรรม นโยบายของมหาวิทยาลัย พฤติกรรมการสอนของอาจารย์ พื้นฐานของครอบครัว การคบเพื่อน ลักษณะนิสัยส่วนตัว และความสามารถ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์อิทธิพลด้วยโมเดลสมการโครงสร้าง


            ผลการวิจัยพบว่า นิสิตมีพฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อเรียนรู้โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากทุกกลุ่ม ทั้งภาพรวม และกลุ่มย่อย ส่วนโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุมีความเที่ยงตรงอยู่ในเกณฑ์ปานกลาง โดยที่ตัวแปรสาเหตุทั้งหมดสามารถร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของตัวแปรผลพฤติกรรมได้ร้อยละ 71.60 ผลการศึกษาพบว่า ตัวแปรสาเหตุ 2 ตัวแปร (พื้นฐานครอบครัว และลักษณะนิสัย) มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการเรียนรู้ผ่านอินเทอร์เน็ตของนิสิตอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ผลการวิจัยชี้ให้ถึงพฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ตของนิสิต เพื่อเป็นแนวทางส่งเสริมพฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ตเชิงบวกและสร้างสรรค์ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อการศึกษาและดำเนินชีวิตประจำวัน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ชเนตตี สยนานนท์. (2555). พฤติกรรมและปัญหาการใช้อินเตอร์เน็ตของนักศึกษาปริญญาตรีมหาวิทยาลัยราชภัฏสมเด็จเจ้าพระยา. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ.

ประสาท เนืองเฉลิม. (2557). อินเทอร์เน็ตเพื่อการเรียนรู้. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

พนารัตน์ พรมมา. (2555). การศึกษาความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ตของนักศึกษา ระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต. คณะศึกษาศาสตร์: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. วารสารวิจัย มสด, 8(3), 147-162.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2551). แนวการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบ e-Learning. สืบค้น 5 มีนาคม 2565, จาก http://thungkaow.ac.th/client-upload/thungkaow/download/3.%20แนวทางการจัดการเรียนรู้.pdf

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545. กรุงเทพมหานคร: พริกหวานกราฟฟิค

Bandura, A. (1997). Self-efficacy: The Exercise of Control. New York: Freeman.

Blank, D. (2000). Blending: Experts weigh in on incorporating e-learning into training. The New Corporate University Review, 8, 6.

Gagné, R. M. (1985). The conditions of learning (4th ed.). New York: Holt, Rinehart & Winston.

Guglielmino, P.J., & Guglielmino, L.M. (2003). Are Your Learners Ready for E-learning. New York: AMACOM.

Hair, J. F., Black, W. C., Babin B. J., Anderson R. E., & Tatham R. L. (2010). Multivariate data analysis (6th ed.). New Jersey: Prentice Hall International.

Leekitchwatana, P. (2010). Development of Causal Relationship Model for e-Learning Behavior of High School Students in Thailand. E-Learn 2010 Proceedings, 4, 1944-1952.

Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis (3th ed.). New York: Harper and Row Publication.