การพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยการพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อยกระดับคุณภาพของกลุ่มผู้สูงอายุ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ของของกลุ่มผู้สูงอายุ เขตเทศบาลตำบลน้ำโจ้ อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปางโดยใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพเป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research) ผู้ให้ข้อมูลหลักในการศึกษาครั้งนี้ คือ สมาชิกกลุ่มผู้สูงอายุผู้ผลิตผ้ารองอเนกประสงค์ในตำบลน้ำโจ้ อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง จำนวน 14 คน และตัวแทนจากหน่วยงานพัฒนาชุมชน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก และการประชุมกลุ่มย่อย เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสัมภาษณ์ แบบสังเกต และแบบจดบันทึกข้อมูล การศึกษานี้แบ่งออกเป็น 3 ระยะ ดังนี้ ระยะที่ 1)วิเคราะห์บริบทชุมชน วิเคราะห์กลุ่ม วิเคราะห์ผลิตภัณฑ์ พฤติกรรมผู้บริโภค และสำรวจกระแสนิยม ระยะที่ 2) การให้ความรู้ด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์ การเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ กลยุทธ์การตลาด และการบริหารจัดการกลุ่ม และระยะที่ 3) ดำเนินการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ขยายตลาด การประยุกต์ใช้การตลาดเชิงสังคมและการตลาดเชิงสัมพันธ์ จากนั้น นำผลการวิจัยมานำเสนอเป็นโมเดลการพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ ข้อค้นพบจากงานวิจัยนี้ คือ 1) การปรับปรุงและพัฒนาผลิตภัณฑ์ส่งผลดีต่อคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ 2) ผลิตภัณฑ์เป็นหัวใจสำคัญของกลุ่มอาชีพ ควรให้ความสำคัญในการปรับปรุงและพัฒนาผลิตภัณฑ์ก่อนพิจารณาส่วนประสมทางการตลาดอื่น ความหลากหลายของผลิตภัณฑ์มีส่วนช่วยในการขยายตลาด 3) ปัจจัยสำคัญของกลุ่มอาชีพที่มีสมาชิกเป็นผู้สูงอายุ คือ ลักษณะเฉพาะของกลุ่มผู้สูงอายุ (สุขภาพ อายุ ทักษะ และความสามารถ) และพฤติกรรมผู้บริโภคที่ชอบช่วยเหลือและชอบบริจาค 4) คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุควรพิจารณาจากกลุ่มสัมพันธ์ การใช้เวลาว่าง การได้รับรายได้เสริม การได้รับการอุดหนุนช่วยเหลือ และการมีความอิ่มอกอิ่มใจ และ 5) การตลาดเอาใจใส่สังคมมีส่วนช่วยขยายลูกค้าและสร้างพันธมิตรทางธุรกิจ
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิทยาการจัดการและการบัญชี มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฎอุตรดิตถ์
บทความที่ลงตีพิมพ์ใน วารสารวิทยาการจัดการและการบัญชี มหาวิทยาลัยราชภัฎอุตรดิตถ์ ถือว่าเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้เขียน คณะบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย ผู้เขียนต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง
ผู้เขียนที่ตีพิมพ์ ยอมรับเงื่อนไขต่อไปนี้:
- ผู้เขียนรักษาลิขสิทธิ์และให้สิทธิ์วารสารในการตีพิมพ์ครั้งแรกพร้อมกับผลงานที่ได้รับใบอนุญาตพร้อมกันภายใต้ Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0) ที่อนุญาตให้ผู้อื่นแบ่งปันผลงานโดยรับทราบถึงผลงานของผู้เขียนและ การตีพิมพ์ครั้งแรกในวารสารนี้
- ผู้เขียนสามารถทำข้อตกลงเพิ่มเติมตามสัญญาแยกต่างหากสำหรับการเผยแพร่ผลงานฉบับตีพิมพ์ของวารสารแบบไม่ผูกขาด (เช่น โพสต์ลงในพื้นที่เก็บข้อมูลของสถาบันหรือตีพิมพ์ในหนังสือ) โดยรับทราบการตีพิมพ์ครั้งแรก ในวารสารนี้
- ผู้เขียนได้รับอนุญาตและสนับสนุนให้โพสต์ผลงานของตนทางออนไลน์ (เช่น ในคลังข้อมูลของสถาบันหรือบนเว็บไซต์) ก่อนและระหว่างขั้นตอนการส่งผลงาน เนื่องจากอาจนำไปสู่การแลกเปลี่ยนที่มีประสิทธิผล ตลอดจนการอ้างอิงงานที่ตีพิมพ์เร็วขึ้นและมากขึ้น
References
กมลพร กัลยาณมิตร. (2565). การพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุเปลี่ยนภาระเป็นพลังร่วมพัฒนาสังคม. วารสาร มจรพุทธปัญญาปริทรรศน์, 7(2), 31-46.
กองวิชาการและแผนงานเทศบาลตำบลน้ำโจ้. (2562). แผนพัฒนาท้องถิ่น (พ.ศ.2561-2565). ลำปาง: เทศบาลตำบลน้ำโจ้ อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง.
เขมิกา. (2561, 16 ตุลาคม). 6 เครื่องมือการทำการตลาด. https://blog.sogoodweb.com/Article/Detail/90366/6-เครื่องมือการทำการตลาด!!
คอทเลอร์, พี., เฮสเสนเคียล, ดี. และลี, เอ็น. อาร์. (2556). Good Works (การบริหารการตลาดและองค์กรยุคใหม่เพื่อโลกสดใส เพิ่มกำไรและความสำเร็จ) (ณงลักษณ์ จารุวัฒน์, ผู้แปล). กรุงเทพฯ: เนชั่นบุคส์.
จริยา ศิริพันธ์ และทวี รักสกุล. (2565). ประสิทธิผลในภารกิจส่งเสริมคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุขององค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิ. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 5(3), 1026-1039.
ชโรฌา กนกประจักษ์ และพัชนี เชยจรรยา. (2564). การพัฒนาโมเดลสมการเชิงโครงสร้างปัจจัยการสื่อสารที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจบริจาคให้กับองค์กรไม่แสวงหาผลกำไร. วารสารการประชาสัมพันธ์และการโฆษณา, 14(2), 15-37.
ซิมเพิล เจอร์นี่. (2563, 29 กรกฎาคม). Cause Marketing คืออะไร. https://www.blockdit.com/posts/5f214d90b6f31f0c97d3f67e
ซีอีโอ วินเนอร์. (2565, 15 มีนาคม). ขั้นตอนในการขยายฐานลูกค้าของคุณ. https://www.seo-winner.com/Steps-to-expand-your-customer-base
ทาริกา สระทองคำ, อนงค์ ไต่วัลย์ และอมร ถุงสุวรรณ. (2565). รูปแบบการพัฒนาผลิตภัณฑ์ของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนที่ตอบสนองความต้องการลูกค้าในยุคอนาคต. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยเวสเทิร์น มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 8(1), 239-250.
เทศบาลตำบลน้ำโจ้. (2562, 14 มิถุนายน). ฐานข้อมูลสารสนเทศเทศบาลตำบลน้ำโจ้. https://sites.google.com/site/unamjocommunity/personal
นุสรา แสงอร่าม, วิจิตรา แซ่ตั้ง, ชิดชนก วงศ์เครือ และกัญญารัตน์ ไชยสงคราม. (6-7 สิงหาคม 2562). การใช้กลยุทธ์ผลิตภัณฑ์ของกลุ่มผู้สูงอายุ เขตเทศบาลตำบลน้ำโจ้ อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง [การนำเสนอภาคโปสเตอร์]. การประชุมวิชาและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติครั้งที่ 11 “ถักทองานวิจัยท้องถิ่น ก้าวไกลสู่สากล” (1,300-1,306). นครราชสีมา: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.
ไทยพับลิก้า. (2562, 30 สิงหาคม). EIC เปิดผลสำรวจปี 60 คนไทยใจบุญ ใช้จ่ายเพื่อการกุศล ยอดบริจาค ถวายพระ-ไหว้เจ้า 6,200 บาทต่อครัวเรือนต่อปี. https://thaipublica.org/2019/08/scb-eic-thai-household-merit-spending/
นารายณ์ เหยาหยุน. (ม.ป.ป.). การพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่และสาเหตุที่ทำให้ผลิตภัณฑ์ใหม่ล้มเหลว. https://slideplayer.in.th/slide/2084103/
บังอร สุวรรณมงคล. (2559, 17 สิงหาคม). สร้างยอดขาย ขยายตลาด อย่างมีกลยุทธ์ เขาทำกันอย่างไรนะ?. https://www.marketingoops.com/exclusive/how-to/build-market-revenue/
ปรีดี นุกูลสมปรารถนา. (2563, 05 พฤศจิกายน). การตลาดแบบ Relationship Marketing. https://www.popticles.com/marketing/what-is-relationship-marketing/
พวงทอง ไกรพิบูลย์. (2561, 2 ธันวาคม). ผู้สูงอายุ. https://haamor.com/ผู้สูงอายุ/
พัทธ์ธีรา สมทรง. (2021). ความสัมพันธ์ระหว่างบทบาทภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ นวัตกรรมผลิตภัณฑ์ และพันธมิตรทางธุรกิจที่มีผลกระทบต่อความได้เปรียบในการแข่งขันของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในเขตภาคเหนือตอนบน. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยธนบุรี, 15(2), 91-102.
พีพี. (2562, 11 กันยายน). คนไหนคนไทยจะรู้ได้ไง ถ้ามีน้ำใจละคนไทยแน่นอน! ครัวเรือนไทย 96% ใช้จ่ายเพื่อการกุศล เงินบุญสะพัดกว่า 1.3 แสนล้าน. https://www.brandbuffet.in.th/2019/09/insight-thai-cosumer-spend-for-charity/
ยุพา ทองสุข, ดวงใจ วัฒนสินธุ์ และภรภัทร เฮงอุดมทรัพย์. (2562). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความผาสุกทางใจของผู้สูงอายุ. วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต, 33(1), 95-110.
ลงทุนแมน. 10 ประเทศใจบุญที่ชอบบริจาคเงินมากที่สุดในโลก. [รูปภาพ]. Facebook. https://www.facebook.com/longtunman/photos/a.113656345833649/647879932411285/?type=3&theater
วณัฐพงศ์ เบญจพงศ์. (2563). การใช้เวลาว่างเพื่อเตรียมพร้อมวิถีแห่งความสุขก่อนวัยสูงอายุ. วารสารศึกษาศาสตร์ปริทัศน์, 35(3), 1-10.
วรรธนะรัตน์ ไชยวงศ์, นพมาศ ใจเปี้ย, กรรณิการ์ ยศบุญสุข และธัญญาลักษณ์ จันทร์. (2564). การพัฒนาผลิตภัณฑ์แปรรูปจากกะลามะพร้าว. วารสารบัญชีปริทัศน์, 6(2), 23-35.
วิจิตรา ศรีสอน, สัณฐาน ชยนนท์, ทิฆัมพร พันลึกเดช และองค์อร สงวนญาติ. (2564). การพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ อำเภอค้อวัง จังหวัดยโสธร. วารสารการบริหารนิติบุคคลและนวัตกรรมท้องถิ่น, 7(2), 15-31.
วิทมา ธรรมเจริญ, นิทัศนีย์ เจริญงาม และนิตยา ทองหนูนุ้ย. (2562). ปัจจัยทำนายการมีคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้สูงอายุในจังหวัดจันทบุรี. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 21(2), 48-64.
สำนักงานกองทุนการสร้างเสริมสุขภาพ. (2556, 4 มีนาคม). เปิดโพลพฤติกรรมการให้.https://www.thaihealth.or.th/เปิดโพลพฤติกรรม-การให้/
สุภัคชัย ดำสีใหม่, ไพรัตน์ ฉิมหาด และเดโช แขน้ำแก้ว. (2565). แนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ. วารสารมหาจุฬาคชสาร, 13(1), 1-10.
เสกสรร มนทิราภา. (2021). การประยุกต์ใช้สังคหวัตถุธรรมกับความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กร. วารสารมจรสังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 10(3), 360-370.
อังคณา ตาเสนา, ธีรศิลป์ กันธา, มัลลิกา ทองเอม และนิพิฐพนธ์ ฤาชา. (2565). การพัฒนาผลิตภัณฑ์ข้าวเกรียบของกลุ่มผู้สูงอายุบ้านห้วยกะโหลก ตำบลแม่ปะ อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 10(1), 18-32.
อิราวัฒน์ ชมระกา ณัฐศิรี สมจิตรานุกิจ และกุลยา อุปพงษ์. (2565). ผลกระทบของส่วนประสมทางการตลาดต่อการตัดสินใจซื้อสมาร์ทโฟนของผู้บริโภควัยทำงานในเขตอำเภอเมืองจังหวัดอุตรดิตถ์. วารสารวิทยาการจัดการและการบัญชี, 1(1), 65–89.
เอกพล เคราเซ, นำชัย ศุภฤกษ์ชัยสกุล, ศศิพัฒน์ ยอดเพชร และอัจศรา ประเสริฐสิน. (2562). คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ: ถอดรหัสจากผู้รู้และผู้เป็น. วารสารสังคมสงเคราะห์ศาสตร์, 27(2), 131-162.
Kotler, P. & Armstrong, G. (2018). Principles of Marketing. Harlow: Pearson Education Limited.
Kotler, P., Keller, K. L., Ang, S. H., Tan, C. T. & Leong, S. M. (2018). Marketing Management; An Asian Perspective. Harlow: Pearson Education Limited.
Osman, A., Othman, Y. H., Rana, S. M. S, Jin, L. Y. & Solaiman, M. (2016). Effectiveness of Promotional Tools to Influence the Purchase Decisions of Unsought Products: A Study on life insurance. The Social Sciences, 11(2), 87-92.
Schiffman, L. G. & Kanuk, L. (2010). Consumer Behavior (10th ed.). New Jersey: Pearson Education.
Smartbiz Team. (2020, September 30). Market Expansion Strategy: What You Need to Know. https://resources.smartbizloans.com/blog/business-marketing/market-expansion-strategy-what-you-need-to-know
Suttle, R. (2019, February 12). Growth Strategies in Business. https://smallbusiness.chron.com/growth-strategies-business-4510.html