ปัจจัยการรับรู้ที่ส่งผลต่อการยอมรับการใช้แอปพลิเคชันธนาคารไทยของนักศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสกลนคร

Main Article Content

สุมินทร เบ้าธรรม
ดวงฤดี อู๋
จิราภา ชาลาธราวัฒน์
ภัทรพร ล้ำเลิศ
สุธิดา พาลึก
อมรสตรี พลศรีลา

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยการรับรู้ที่ส่งผลต่อการยอมรับการใช้แอปพลิ เคชันธนาคารไทยของนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสกลนคร เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 338 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์สหสัมพันธ์ และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ


          ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยการรับรู้ด้านสภาพอำนวยความสะดวก ปัจจัยการรับรู้ด้านประสิทธิภาพการใช้งานและปัจจัยการรับรู้ด้านความพึงพอใจในการแอปพลิเคชันเป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลทางบวกต่อการยอมรับการใช้แอปพลิเคชันของธนาคารไทย ส่วนปัจจัยการรับรู้ด้านความง่ายในการใช้งาน และปัจจัยการรับรู้ด้านอิทธิพลทางสังคมไม่มีอิทธิพลต่อการยอมรับการใช้แอปพลิเคชันของธนาคารไทย

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กัญญาภัทร ไสวอมร และกิติมา ทามาลี. (2563). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการยอมรับนวัตกรรมบริการธนาคารออนไลน์ในการทำธุรกรรมทางการเงินของลูกค้าธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ในจังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารบัณฑิตศึกษามหาจุฬาขอนแก่น, 7(3), 256-253.

จิรภัทร มิขันหมาก, นิสารัตน์ โสดามุก, ปณิสรา ตันติกุลชาติ และนลินภัสร์ บำเพ็ญเพียร. (2564). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการยอมรับการใช้แอปพลิเคชันเป๋าตัง. การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับชาติด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฎจันทรเกษม ครั้งที่ 4 , 103-108. กรุงเทพฯ : คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎจันทรเกษม.

เฉลิมศักดิ์ บุญประเสริฐ. (2560). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการยอมรับการใช้แอปพลิเคชันไลน์ของผู้สูงอายุ. (ปริญญามหาบัณฑิต). เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่.

ชัญญาพัทธ์ จงทวี. (2558). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความพึงพอใจในการใช้บริการ Mobile Banking ในเขตกรุงเทพมหานคร. (ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ฐาณัฐ ทับทิมทอง และจรัชวรรณ จันทรัตน์. (2561). ปัจจัยที่มีผลต่อความพึงพอใจในการให้บริการแบบ M-Banking ของธนาคารออมสิน กรณีศึกษา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. การประชุมนำเสนอผลงานวิจัยบัณฑิตศึกษาระดับชาติ ครั้งที่ 11, 1070-1083. กรุงเทพฯ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.

ณภัทร จรรย์จรัสสิน. (2562). การศึกษารูปแบบพฤติกรรมที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้ Mobile Banking. (ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพมหานค : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ณัฐพล สุทธิศักดิ์ศรี. (2563). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความตั้งใจใช้บริการทางอิเล็กทรอนิกส์ผ่าน Mobile Banking ของธนาคารออมสินในเขตราชบุรี. (ปริญญามหาบัณฑิต). นครปฐม : มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ธนาคารแห่งประเทศไทย. (2563). PS_PT_009 ธุรกรรมการชำระเงินผ่านบริการ Mobile banking และ Internet banking. https://app.bot.or.th/BTWS_STAT/statistics/BOTWEBSTAT.aspx?reportID=688&language=TH

บุญชม ศรีสะอาด. (2556). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.

ปวิตรา สอนดี. (2560). การยอมรับนวัตกรรมโมบายแบงค์กิ้ง แอปพลิเคชัน (Mobile Banking Application) ของกลุ่มผู้ใช้งานที่มีอายุ 40-60 ปี. (ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน. (2565). สถิติจำนวนนักศึกษา งานทะเบียนและประมวลผล. https://regis.rmuti.ac.th/wordpress/?p=1202

วรัญญู กิจเจริญธนารักษ์ และปวีณา คำพุกกะ. (2564). ปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับการใช้บริการแอปพลิเคชันทางการเงินผ่านสมาร์ทโฟน. วารสารบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 10(1), 129-145.

ละออคันธ์ ศรีใส. (2563). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อแนวโน้มพฤติกรรมการใช้บริการแอปพลิเคชันร้านค้าบนมือถือธนาคารกสิกรไทยจำกัด (มหาชน) (K PLUS SHOP) ในเขตกรุงเทพมหานคร. (ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ลัดดาวัลย์ สำราญ และอัชรินทร์ ศรีสุข. (2564). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการยอมรับการใช้แอปพลิเคชั่น Mymo. (รายงานวิจัย). พระนครศรีอยุธยา : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ.

ศิริลักษณ์ โรจนกิจอำนวย. (2562). การยอมรับการใช้โมบายแบงก์กิ้งของธนาคารพาณิชย์ไทยอย่างต่อเนื่อง. วารสารวิชาการบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 8(2), 10-21.

ศุภิสรา คุณรัตน์. (2561). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการยอมรับเทคโนโลยีทางการเงิน แอพพลิเคชั่น Mobile Banking ของผู้ใช้บริการในกรุงเทพมหานคร. (ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยสยาม.

อุบลวรรณ ขุนทอง, นรีรัตน์ อนันต์ชัยรัชตะ และบุญธรรม ราชรักษ์. (2563). ปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับเทคโนโลยีทางการเงิน กรณีศึกษาระบบการชำระเงินผ่านสมาร์ทโฟน ด้วยเทคโนโลยี Near Field Communication (NFC) ในการซื้อสินค้าของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร. วารสารรัชต์ภาคย์, 14(32), 23-36.

Foster, G. M. (1973). Tradition Societies and Technological Change. New York: Harper and Row Publishers.

Hair, J. F., Black, W. C., Babin, B. J., & Anderson, R. E. (2010). Multivariate Data Analysis: A Global Perspective (7th ed.). Upper Saddle River, NJ: Prentice Hall.

Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607–610.

Likert, R. (1967). The human organization: Its management and value. New York: McGraw-hill.

Nunnally, J. C. & Bernstein, I. H. (1994). Psychometric Theory. (3rded.). McGraw-Hill.

Rogers, M. E. (1983). Diffusion of Innovation. New York: The Free Press.

Rovinelli, R. J., & Hambleton, R. K. (1977). On the use of content specialists in the assessment of criterion-referenced test item validity. Dutch Journal of Educational Research, 2, 49-60.