พฤติกรรม ประโยชน์ และผลกระทบการสื่อสารโดยนิรนามในเฟซบุ๊ก

Main Article Content

ปองปรารถน์ สุนทรเภสัช
ชุตินิษฐ์ ปานคำ
อัจฉราภรณ์ วรรณมะกอก
กิติวัฒน์ กิติบุตร
เบญจวรรณ เลาลลิต
กนกพร เอกกะสินสกุล
ภาคภูมิ พิชวงศ์

บทคัดย่อ

       การสื่อสารโดยนิรนามมีคุณค่าหลายประการต่อสื่อพลเมืองอันนำไปสู่ระบอบประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม รวมทั้งการสร้างตัวตนออนไลน์ แต่เนื่องจากสิทธิในการสื่อสารโดยนิรนามอาจถูกนำไปใช้โดยมิชอบ การวิจัยนี้จึงสนใจศึกษา (1) พฤติกรรม (2) ประโยชน์ และ (3) ผลกระทบการสื่อสารโดยนิรนามในสื่อสังคมออนไลน์ ใช้การวิจัยแบบผสมผสาน โดยศึกษาเอกสารร่วมกับสำรวจความคิดเห็นจากการฝึกปฏิบัติในชั้นเรียนของนักศึกษา 48 คน ประกอบกับการเก็บข้อมูลจากเฟซบุ๊กเพจ 5 เพจ ซึ่งสุ่มตัวอย่างเพจที่นำมาศึกษาโดยใช้ดุลพินิจ ผลการวิจัยพบว่า


(1) พฤติกรรมการสื่อสารโดยนิรนาม (1.1) จากผลสำรวจจากการฝึกปฏิบัติในชั้นเรียน ผู้มีบัญชีเฟซบุ๊กส่วนตัว 1 บัญชี (ร้อยละ 58.3) รองลงไปคือ 2 บัญชี (ร้อยละ 31.3) ส่วนใหญ่ใช้ข้อมูล ชื่อ อีเมล หมายเลขโทรศัพท์จริง เพื่อสมัครสมัครใช้งานเฟซบุ๊ก มีผู้ใช้เฟซบุ๊กในลักษณะนิรนาม    ร้อยละ 27.1 และ (1.2) การเก็บข้อมูลจากเฟซบุ๊กเพจ พบว่าการสื่อสารนิรนามมีการตั้งชื่อโดยใช้นามแฝง ใช้ภาษาที่ไม่เป็นทางการและคำหยาบ การโพสต์ด่าว่าผู้อื่น ตำหนิการทำงานของฝ่ายรัฐ เหยียดชาติพันธุ์ ประทุษทางวาจา การเสียดสี แสดงมุกตลก สร้างวาทกรรมแปลก ๆ ตัดต่อภาพล้อเลียนบุคคลมีชื่อเสียง


(2) ประโยชน์ของการสื่อสารโดยนิรนาม ได้แก่ เสรีภาพในการสื่อสาร ป้องกันการล่วงละเมิดบุคคล เป็นเครื่องมือในการแสดงออกสิทธิของคนกลุ่มน้อยในสังคม การแสดงความคิดเห็น   ในประเด็นที่อ่อนไหว การลดความเครียด


(3) ผลกระทบของการสื่อสารโดยนิรนาม ได้แก่ การแสดงอารมณ์ความรุนแรง การคุกคามทางเพศออนไลน์ การละเมิดสิทธิผู้อื่น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

คณาธิป ทองรวีวงศ์. (2558). สิทธิในการสื่อสารข้อมูลออนไลน์โดยนิรนามของสื่อพลเมือง. วารสารนิติสังคมศาสตร์, (8)2, 72-128.

จิรัชญา ชัยชุมคุณ. (2563). เปลี่ยนโปรไฟล์ สวมรอยเป็นคนอื่น: ว่าด้วยด้านมืดของการอยากมีตัวตนในโลกโซเชียมีเดีย. สืบค้น 19 มิถุนายน 2564, จาก https://thematter.co/%20 social /duplicated-social-media-account/98498

ณัฐธิดา แขวงสวัสดิ์. (2560). การวิเคราะห์เนื้อหาทางด้านเพศ การใช้ภาษา ความรุนแรง ภาพ ตัวแทน และการเปิดรับ และทัศนคติที่มีต่อการถ่ายทอดสดบนเฟซบุ๊ก. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (นิเทศศาสตร์และนวัตกรรม). สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

ปองปรารถน์ สุนทรเภสัช. (2563). การสื่อสารอารมณ์ขันที่สะท้อนการเลือกปฏิบัติในสังคมไทย. วารสารนิเทศศาสตร์. 38(1), 69-82.

พรรณวดี ประยงค์ (2559), “เรื่องของ ‘ตัวตน’ บนโลกของเว็บไซต์โซเชียลเน็ตเวิร์ก: ขอบเขตของ ‘ตัวตนที่ปรารถนา’ และ ‘ตัวตนที่เป็นจริง’”, วารสารศาสตร์, 9(1): 7-32.

วัดสวนสันติธรรม. (2565, พฤษภาคม 14). พูดคำหยาบเป็นการเบียดเบียนด้วยวาจาหรือไม่ : หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช 30 เมษายน 2565 [วิดีโอ]. YouTube. https://www.youtube.com/watch?v=Y2IWXpP8eZ4&t=15s&ab_channel=Dhamma.com

สิรินทร์ มุ่งเจริญ. (2563). สรุปสาระสำคัญจากเสวนาวิชาการ หัวข้อ “ปัญหาโลก (ออนไลน์) แตก การคุกคามทางเพศบนโซเชียลมีเดีย” จัดโดยกลุ่มนิติวิชาการ วันจันทร์ที่ 16 พฤศจิกายน 2563 เวลา 17.00-19.30 น. ณ ห้อง น.301 คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต และถ่ายทอดสดทาง Facebook Page : กลุ่มนิติวิชาการ – Law TU Academic Assistance Center สืบค้น 19 มิถุนายน 2564, จาก https:// www.law.tu.ac.th/seminar-summary-online-sexual-harassment

เอกณัฐ วัฒนสมบัติ. (2562). ‘นิรนามบนโลกออนไลน์’ ว่าด้วยการมีตัวตนและไร้ตัวตนบนโซเชียลมีเดีย. สืบค้น 19 มิถุนายน 2564, จาก https://thematter.co/thinkers/disguise-on-online-world/81564

อัปสร เสถียรทิพย์และคณะ. (2564). การศึกษาความรุนแรงทางโซเชียลมีเดียและการรับรู้ของวัยรุ่น. ออนไลน์ สืบค้นเมื่อ 19 มิถุนายน 2564 จาก http://cclickthailand.com/wp-content/uploads/ 2020/04/14.pdf

Association for Progressive Communication (APC). (2015). The right to freedom of expression and the use of encryption and anonymity in digital communication. 25 March 2015. Retrieved 20 June 2021, from https://www.ohchr.org/Documents/Issues/Opinion/ Communications/ AssociationForProgressiveCommunication.pdf

TWF Agency. (2021). จำนวนผู้ใช้งาน Social Media ในประเทศไทย. สืบค้น 19 กุมภาพันธ์ 2564, จาก https://www. twfdigital.com/blog/2021/02/facebook-instagram-youtube-twitter-users-thailand-2021/