ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการรับรู้คุณค่าของแบรนด์ Laptop ของนิสิตระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยนเรศวร จังหวัดพิษณุโลก

Main Article Content

ธีรดล พูพัฒนานุรักษ์
พัสกร ลิมานนท์ดำรงค์
วราวุฒิ สุกคร
ชาตรี ปรีดาอนันทสุข

บทคัดย่อ

      การวิจัยนี้เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการรับรู้ถึงคุณค่าของแบรนด์ Laptop ของนิสิตระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยนเรศวร เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 400 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วย ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมานใช้ T-Test, One-Way ANOVA และ Simple Correlation Analysis


     ผลทดสอบสมมติฐานพบว่า รายได้ต่อเดือนและแบรนด์ Laptop ที่สนใจซื้อในอนาคตที่ต่างกันจะมีผลต่อการรับรู้คุณค่าของแบรนด์ Laptop ต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ในด้านความตระหนักถึงแบรนด์ ด้านการรับรู้ถึงคุณภาพ และด้านความภักดีต่อแบรนด์ ส่วนปัจจัยด้านส่วนประสมทางการตลาด (7Ps) และช่องทางในการแสวงหาข้อมูลมีความสัมพันธ์กับการรับรู้คุณค่าของแบรนด์ Laptop อย่างมีนัยสำคัญ สำหรับปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด (7Ps) ที่กลุ่มตัวอย่างให้ความสำคัญที่สุด คือ ด้านกระบวนการ รองลงมาคือ ด้านบุคคล ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย ด้านการสร้างและการนำเสนอลักษณะทางกายภาพ ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านราคา และด้านการส่งเสริมการตลาด ตามลำดับ สำหรับช่องทางในการแสวงหาข้อมูลที่กลุ่มตัวอย่างให้ความสำคัญที่สุด คือ แสวงหาข้อมูลจากสื่อต่าง ๆ รองลงมาคือ แสวงหาข้อมูลจากประสบการณ์ตรงของผู้ใช้ จากตัวแทนจำหน่าย และจากตัวบุคคล ตามลำดับ และปัจจัยด้านการรับรู้คุณค่าของแบรนด์ Laptop ที่กลุ่มตัวอย่างให้ความสำคัญที่สุด คือ ด้านการรับรู้ถึงคุณภาพ รองลงมาคือ ด้านความตระหนักถึงแบรนด์ ด้านความจงรักภักดีต่อแบรนด์ และด้านความสัมพันธ์กับแบรนด์ ตามลำดับ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กองบริหารงานบุคคล มหาวิทยาลัยนเรศวร. (2565). จำนวนนิสิตมหาวิทยาลัยนเรศวร. https://mis.nu.ac.th/new/Pub_STDAllPrevious_RP.aspx

จิรารัตน์ ปุญญฤทธิ์. (2559). ส่วนประสมทางการตลาดและคุณค่าตราสินค้าที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์กลุ่มเอจล็อคของผู้แทนจำหน่าย บริษัท นู สกิน เอ็นเตอร์ไพร์ส (ประเทศไทย) จำกัดสาขากรุงเทพมหานคร.วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต.มหาวิทยาลัยกรุงเทพ. http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/2665

ธวัชชัย กลิ่นนาค. (2554). การศึกษาพฤติกรรมการแสวงหาข่าวสารและความพึงพอใจของ นักท่องเที่ยวที่มีต่อสื่อประชาสัมพันธ์ของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สุราษฎร์ธานี. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

http://tourismlibrary.tat.or.th/medias/KMUTT0007/KMUTT0007_abstract.pdf

ธีรวุฒิ เอกะกุล. (2543). ระเบียบวิธีวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. อุบลราชธานี: สถาบันราชภัฏอุบลราชธานี.

ภัทร ตั้งเจริญ. (2562). การรับรู้คุณค่าที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อแท็บเล็ตของผู้บริโภค. สารนิพนธ์ปริญญาการจัดการมหาบัณฑิต. วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล. https://archive.cm.mahidol.ac.th/bitstream/123456789/3859/1/TP%20BM.123%202562.pdf.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ. (2552). การบริหารการตลาดยุคใหม่. กรุงเทพฯ: ธรรมสาร.

ศิวฤทธิ์ นนทวุฒิสวัสดิ์, ศศนันท์ วิวัฒนชาต และ ฉัตยาพร เสมอใจ. (2563). ส่วนประสมทางการตลาดและกระบวนการตัดสินใจซื้อแล็ปท็อปในสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์. 5(3). 115-131.

สุรสิทธิ์ อุดมธนวงศ์. (2561). อิทธิพลของการรับรู้คุณค่าตราสินค้ากลุ่มยานยนต์ผ่านสื่อสังคมออนไลน์ ที่มีผลต่อคุณค่าของการแบ่งปันทางอิเล็กทรอนิกส์และความผูกพันตราสินค้าของผู้บริโภค. วารสารสุทธิปริทัศน์. 32(102). 249-263.

อิทธิพงค์ ชละธาร และพัชร์หทัย จารุทวีผลนุกูล. (2564). ส่วนประสมทางการตลาดและคุณค่าตราสินค้าที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อเสื้อผ้าตรายูนิโคล่ผ่านช่องทางออนไลน์ของผู้บริโภคในประเทศไทย. วารสารสมาคมนักวิจัย. 26(1). 16-29. http://www.ar.or.th/ImageData/Magazine/40053/DL_30488.pdf?t=637668860714430241.

Aaker, David. A. (1991). Managing Brand Equity. New York: The Free Press

Aaker, David. A. (1996). Measuring brand equity across products and markets. California Management Review. 38(3). 102-120.

Best, John. W. (1970). Research in Education (2nd Ed.). Englewood Cliffs, New Jersey: Prentice Hall.

Case, Donald. O. (2007). Looking for Information: A Survey of Research on Information Seeking Needs, and Behavior. London: Elsevier.

Cochran, William. G. (1977). Sampling Techniques (3rd Ed.). New York: John Wiley & Son.

Kotler, Philip. (1997). Marketing Management: Analysis, Planning, Implementation and Control (9th Ed.). New Jersey: Prentice Hall.

Morgan, N., Pritchard, A. and Piggott, R. (2003). Destination branding and the role of the stakeholders: The case of New Zealand. Journal of Vacation Marketing. 9(3). 285-299. https://journals.sagepub.com/doi/epdf/10.1177/135676670300900307

MReport (21 ตุลาคม 2564). ตลาด PC ทั่วโลก 2021 ไตรมาส 3 Lenovo ยังครองแชมป์อันดับ1 https://www.mreport.co.th/news/statistic-and-ranking/218-PC-shipments-2021-Q3