ประสิทธิภาพการจัดการโลจิสติกส์ที่ส่งผลต่อผลการดำเนินงานด้านการเงินของโรงงานอุตสาหกรรมในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษตาก อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยเรื่อง ประสิทธิภาพการจัดการโลจิสติกส์ที่ส่งผลต่อผลการดำเนินงานของโรงงานอุตสาหกรรมในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษตาก อำเภอแม่สอด จังหวัดตากการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบขนาดของโรงงาน จำนวนพนักงาน เงินทุน และประเภทของโรงงานอุตสาหกรรมที่ทำให้เกิดประสิทธิภาพในการจัดการโลจิสติกส์ เพื่อเปรียบเทียบขนาดของโรงงาน จำนวนพนักงาน เงินทุน และประเภทของโรงงานอุตสาหกรรมที่ส่งผลให้ผลการดำเนินงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น เพื่อศึกษาประสิทธิภาพในการจัดการโลจิสติกส์ที่ส่งผลต่อผลการดำเนินงานของโรงงานอุตสาหกรรม ในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษตาก อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก โดยประชากรที่ใช้ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ผู้ประกอบการในโรงงานอุตสาหกรรม เขตพื้นที่เศรษฐกิจพิเศษ อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก จำนวน 73 โรงงาน โดยใช้เครื่องมือเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์แปรปรวนทางเดียว และการวิเคราะห์สหสัมพันธ์สัมประสิทธิ์ถดถอยแบบพหุ
ผลการวิจัย พบว่า ผู้ประกอบการโรงงานอุตสาหกรรมมีความคิดเห็นเกี่ยวกับประสิทธิภาพการจัดการโลจิสติกส์โดยรวมและรายด้าน อยู่ในระดับมากที่สุด และความคิดเห็นเกี่ยวกับผลการดำเนินงานโดยรวมและรายด้าน อยู่ในระดับมากที่สุด ผู้ประกอบการที่มีอายุในการดำเนินธุรกิจแตกต่างกัน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับประสิทธิภาพการจัดการโลจิสติกส์และมีความคิดเห็นเกี่ยวกับผลการดำเนินงานแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 จากการวิเคราะห์ความสัมพันธ์และประสิทธิภาพการจัดการโลจิสติกส์กับผลการดำเนินงาน พบว่า 1) ประสิทธิภาพการจัดการโลจิสติกส์ ด้านการติดต่อสื่อสารด้านโลจิสติกส์มีความสัมพันธ์กับผลการดำเนินงานโดยรวม 2) ประสิทธิภาพการจัดการโลจิสติกส์ ด้านการติดต่อสื่อสารด้านโลจิสติกส์ ด้านกระบวนการสั่งซื้อ ด้านการจัดซื้อ ด้านการบริหารสินค้าคงคลัง ด้านการขนส่ง มีความสัมพันธ์กับผลการดำเนินงานด้านการเงินของโรงงานอุตสาหกรรม
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิทยาการจัดการและการบัญชี มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฎอุตรดิตถ์
บทความที่ลงตีพิมพ์ใน วารสารวิทยาการจัดการและการบัญชี มหาวิทยาลัยราชภัฎอุตรดิตถ์ ถือว่าเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้เขียน คณะบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย ผู้เขียนต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง
ผู้เขียนที่ตีพิมพ์ ยอมรับเงื่อนไขต่อไปนี้:
- ผู้เขียนรักษาลิขสิทธิ์และให้สิทธิ์วารสารในการตีพิมพ์ครั้งแรกพร้อมกับผลงานที่ได้รับใบอนุญาตพร้อมกันภายใต้ Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0) ที่อนุญาตให้ผู้อื่นแบ่งปันผลงานโดยรับทราบถึงผลงานของผู้เขียนและ การตีพิมพ์ครั้งแรกในวารสารนี้
- ผู้เขียนสามารถทำข้อตกลงเพิ่มเติมตามสัญญาแยกต่างหากสำหรับการเผยแพร่ผลงานฉบับตีพิมพ์ของวารสารแบบไม่ผูกขาด (เช่น โพสต์ลงในพื้นที่เก็บข้อมูลของสถาบันหรือตีพิมพ์ในหนังสือ) โดยรับทราบการตีพิมพ์ครั้งแรก ในวารสารนี้
- ผู้เขียนได้รับอนุญาตและสนับสนุนให้โพสต์ผลงานของตนทางออนไลน์ (เช่น ในคลังข้อมูลของสถาบันหรือบนเว็บไซต์) ก่อนและระหว่างขั้นตอนการส่งผลงาน เนื่องจากอาจนำไปสู่การแลกเปลี่ยนที่มีประสิทธิผล ตลอดจนการอ้างอิงงานที่ตีพิมพ์เร็วขึ้นและมากขึ้น
References
กฤษณ์ชาคริตส ณ วัฒนประเสริฐ. (2558). การจัดการโลจิสติกส์และซัพพลายเชนเชิงวิศวกรรม. ปัญญาชน.
จารุวรรณ ชาวกล้า. (2555). ความสัมพันธ์ระหว่างความเชื่อมั่นในตนเองกับประสิทธิภาพการทำงานของนักบัญชีโรงพยาบาลของรัฐบาล ในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
จิตติมา บุตรพันธุ์. (2557). การจัดการโลจิสติกส์ของผู้ประกอบการในห่วงโซ่อุปทานการผลิตก๋วยเตี๋ยวเส้นสดในจังหวัดนครปฐม. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ชุติระ ระบอบ และคณะ. (2559). โครงการวิจัยประเมินหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน (หลักสูตรใหม่ พ.ศ. 2552). คณะบริหารธุรกิจมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ.
นฤภร เกิดรุ่งโรจน์ และ สุทธินันทน์ พรหมสุวรรณ. (2557). การศึกษาองค์ประกอบของการเป็นผู้ประกอบการที่ส่งผลต่อปัจจัยความสำเร็จในการดำเนินงาน ประเภทสินค้าและบริการ ในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร. คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
แพมาลา วัฒนเสถียรสินธุ์. (2559). ปัจจัยที่ส่งผลต่อปัญหาการสื่อสารในองค์กร กรณีศึกษา บริษัท ยูไนเต็ด แสตนดาร์ด เทอร์มินัล จำกัด (มหาชน). (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
วงจิตร ภูพวก และ วิโรจน์ เจษฎาลักษณ์. (2557). กระบวนการจัดการโลจิสติกส์ของอุตสาหกรรมผนังคอนกรีตมวลเบา กรณีศึกษา บริษัท ไซมีส อีโคไลท์ จำกัด. วารสารวิชาการ Viridian E-Journal Silpakorn University. 7(2). 840-851.
วรรษา ตั้งวราลักษณ์. (2553). การศึกษาประสิทธิภาพการดําเนินงานด้วยโปรแกรมระบบบริหารทรัพยากรองค์กร (Enterprise Resource Planning : ERP) กรณีการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค เขต 2 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จังหวัดอุบลราชธานี. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.
วาสนา จรูญศรีโชติกำจร, สุภาภรณ์ หมั่นหา, การันต์ เจริญสุวรรณ, กนิษฐา ศรีภิรมย์, วรางค์ รามบุตร และชลธิชา แสงงาม. (2560). ประสิทธิภาพการจัดการโลจิสติกส์ของแหล่งท่องเที่ยวจังหวัดกำแพงเพชร. วารสารวิทยาการจัดการสมัยใหม่. 10(2). 213 - 229.
วาสนา จรูญศรีโชติกำจร. (2563). การจัดการการดำเนินงาน. มหาวิทยาลัยราชภัฎกำแพงเพชร.
วิลาวัลย์ สากลาง. (2560). การจัดการโลจิสติกส์ของโรงสีข้าว กรณีศึกษา บริษัทโรงสีรุ่งอนันต์ จำกัด อำเภอพล จังหวัดขอนแก่น. วารสารวิชาการ Viridian E-Journal Silpakorn University. 10(3). 2472-2491.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). การประเมินผลการดำเนินงานตามแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบโลจิสติกส์ของประเทศไทย ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2556-2560). สำนักงานฯ.
สำนักงานอุตสาหกรรม จังหวัดตาก. (2560). ข้อมูลโรงงานแยกตามพื้นที่. http://www2.diw.go.th/factory/tumbol.asp
อดิศักดิ์ กรรณณรงค์. (2557). การวิเคราะห์องค์ประกอบของปัจจัยการดำเนินงานที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพการจัดการโลจิสติกส์ ของร้านจัดจำหน่ายวัสดุก่อสร้างในภาคใต้. วารสารเทคโนโลยีภาคใต้. 7(1). 65-72.
Mamata D. (2018). Reverse logistics in micro businesses: an exploratory study. University of Plymouth.
Masha Nur Salsabiela Binti M. (2017). Performance measurement framework for the oil and gas supply chain. University of Central Lancashire.
Robert S. Kaplan & David P. Norton. (1992). Using the Balanced Scorecard as a Strategic Management System. Harvard Business Review. January – February.