ลักษณะประชากรศาสตร์ พฤติกรรมการเปิดรับชมละครโทรทัศน์เพศทางเลือกที่ส่งผลต่อทัศนคติและการยอมรับเพศทางเลือกของประชาชนทั่วไป ในเขตพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่

Main Article Content

อัญมณี ภักดีมวลชน
รติชา สุธรรมป๋า
วราพจน์ จันมะโน

บทคัดย่อ

        การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาพฤติกรรมการเปิดรับสื่อละครโทรทัศน์ที่เกี่ยวข้องกับเพศทางเลือก 2) เพื่อศึกษาทัศนคติและการยอมรับเพศทางเลือก และ 3) เพื่อศึกษาถึงลักษณะประชากรศาสตร์ พฤติกรรมการเปิดรับละครโทรทัศน์เพศทางเลือกที่ส่งผลต่อทัศนคติและการยอมรับเพศทางเลือกของประชาชนทั่วไป ในเขตพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่  เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) โดยใช้วิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research Method) ด้วยวิธีการเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถาม (Questionnaire) สุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage  random Sampling) จำนวน 400 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ Regression Analysis


       ผลการวิจัย พบว่า 1) พฤติกรรมในการรับชมละครโทรทัศน์ของกลุ่มตัวอย่างที่เกี่ยวกับเพศทางเลือก โดยรับชมโทรทัศน์ตอนออกอากาศจริง ร้อยละ 46.80 ช่วงเวลาในการรับชมละครโทรทัศน์มากที่สุด ได้แก่ ช่วงเวลา 20.01-22.00 น. ร้อยละ 27.80 รับชมละครโทรทัศน์ประมาณ 1-2 ชั่วโมง ร้อยละ 24.50 โดยมีความถี่ในการเปิดรับละครโทรทัศน์ที่เกี่ยวข้องกับเพศทางเลือก 1-2 ครั้งต่อสัปดาห์ ร้อยละ 42.50 และเหตุผลในการเปิดรับละครเพศทางเลือก พบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ให้การยอมรับในเรื่องของสิทธิและความเท่าเทียมทางเพศ ร้อยละ 27.30 2) ผลการวิเคราะห์ระดับทัศนคติและการยอมรับในเพศทางเลือกของกลุ่มตัวอย่างประชาชนทั่วไปในจังหวัดเชียงใหม่ มีค่าเฉลี่ยรวมอยู่ในระดับมาก (equation = 4.14, S.D.=0.50) และ 3) ปัจจัยความถี่ในการเปิดรับละครโทรทัศน์ ช่วงเวลาในการเปิดรับละครโทรทัศน์ เพศ ระยะเวลาในการเปิดรับละครโทรทัศน์ ระดับการศึกษา และรายได้ สามารถพยากรณ์ทัศนคติและการยอมรับเพศทางเลือกของประชาชนทั่วไป ในเขตพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ ได้ร้อยละ 34.30

Article Details

How to Cite
ภักดีมวลชน อ., สุธรรมป๋า ร., & จันมะโน ว. (2024). ลักษณะประชากรศาสตร์ พฤติกรรมการเปิดรับชมละครโทรทัศน์เพศทางเลือกที่ส่งผลต่อทัศนคติและการยอมรับเพศทางเลือกของประชาชนทั่วไป ในเขตพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่. วารสารวิทยาการจัดการและการบัญชี, 3(2), 39–56. สืบค้น จาก https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JMSA_FMS_URU/article/view/5404
บท
บทความวิจัย

References

กรุงเทพธุรกิจออนไลน์. (2563, 12 มิถุนายน). ส่องมูลค่าตลาด ‘ซีรีส์วาย’ เรื่องรัก ‘ชายชาย’ ที่ได้ใจคนดูทุกเพศ. https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/884794?_trms=bd521543c28f69c3.1624000613925

เกรียงไกร ไชยมงคล. (2565). การศึกษาเปรียบเทียบการรับรู้และการยอมรับความหลากหลายทางเพศของนักศึกษาจากกลุ่มสาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ กลุ่มสาขาวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี กลุ่มสาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. [วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

เจสซิกา ไคลน์. (2564, 14 กันยายน). LGBT : อะไรทำให้ผู้หญิงมีความดึงดูดทางเพศที่เปลี่ยนแปลงได้มากกว่าผู้ชาย. https://www.bbc.com/thai/international-58548348

ณัฐพล พฤกษวันประสุต. (2561). การเปิดรับข่าวสาร การรับรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการใช้บริการเรียกรถโดยสารผ่านแอปพลิเคชั่นของกลุ่มเจนเนอเรชั่นวาย. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

บีบีซีนิวส์ไทย. (2567, 18 มิถุนายน). วุฒิสภาผ่านร่างกฎหมายสมรสเท่าเทียมแล้ว ส่งไทยเป็นชาติแรกในอาเซียนมีกฎหมายแต่งงานบุคคลเพศเดียวกัน. https://www.bbc.com/thai/articles/c4nnjd5v2zgo

ปุรินทร์ นาคสิงห์. (2556). การประกอบสร้างตัวตนเกย์ในภาพยนต์ไทย. วารสารสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 39(2), 35-53.

พัฒนพล วงษ์ม่วง และมยุรี ศรีกุลวงศ์. (2559). ตัวละครเกย์ในละครโทรทัศน์ไทยยุคใหม่. วารสารการสื่อสารและการจัดการ นิด้า, 2(2), 96-109.

รามาแชลแนล. (2561, 13 มีนาคม). เหตุผลของความหลากหลายทางเพศ. https://www.rama.mahidol.ac.th/ramachannel/article/

โรงพยาบาลกรุงเทพ. (2567). รู้จักกับเพศทางเลือก. https://www.bangkokhospital.com/content/lgbt-alternative-sex

ทรูไอดี. (2566, 2 พฤศจิกายน). เปิดลิสต์ ! ซีรีส์วาย 13 เรื่อง ต้อนรับเดือนพฤศจิกายน 2566. https://entertainment.trueid.net/detail/4pMxgxG7jB7W

สุภาวดี อินนุพัฒน์. (2552). การเปิดรับข่าวสาร การรับรู้ และการมีส่วนร่วมในโครงการประหยัดไฟฟ้ากำไร 2 ต่อ ของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร. [วิทยานิพนธ์วารสารศาสตรมหาบัณฑิต (สื่อสารมวลชน)]. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สุวัชรีย์ เดชาธรอมร. (2554). ความรู้และทัศนคติของบุคลากรเกี่ยวกับการพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล กรณีศึกษาโรงพยาบาลหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยบูรพา.

สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดเชียงใหม่. (2566, 29 พฤษภาคม). รองผู้ว่าฯ เชียงใหม่ ร่วมกิจกรรม Chiang Mai Pride 2023. https://chiangmai.prd.go.th/th/content/category/detail/id/9/iid/184993

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2566). จำนวนประชากรจังหวัดเชียงใหม่. https://stat.bora.dopa.go.th/stat/statnew/statMONTH/statmonth/#/displayData

อรทัย เลื่อนวัน. (2555). ปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับเทคโนโลยีสารสนเทศ: กรณีศึกษา กรมการพัฒนาชุมชน ศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะ. [วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

อภิญญา แก้วเปรมกุศล. (2562). การเปิดรับสื่อ การรับรู้ ทัศนคติ และการใช้ประโยชน์จากหลัก ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของเยาวชนในเขตกรุงเทพมหานคร. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

Allport, G. W. (1960). The open system in personality theory. The Journal of Abnormal and Social Psychology, 61(3), 301–310.

Morgan, M. (2009). Cultivation analysis and media effects. The Sage handbook of media processes and effects, 69-82.

Rogers, E. M., & Shoemaker, F. F. (1971). Communication of innovations: A cross-cultural approach (2nded.). Free Press.