ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการตั้งใจซื้อซ้ำของธุรกิจ ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมอีฟซี่ มิกซ์ ออยล์

Main Article Content

ศุภรัตน์ ศรีสวัสดิ์
พิมพ์แพร ศรีสวัสดิ์

บทคัดย่อ

        การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดผลิตภัณฑ์อาหารเสริม อีฟซี่ มิกซ์ ออยล์ 2) การตั้งใจซื้อซ้ำผลิตภัณฑ์อาหารเสริม อีฟซี่ มิกซ์ ออยล์ และ 3) ส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการตั้งใจซื้อซ้ำผลิตภัณฑ์อาหารเสริม อีฟซี่ มิกซ์ ออยล์ เป็นงานวิจัยเชิงปริมาณ ประชากรคือผู้บริโภคที่เคยซื้อผลิตภัณฑ์อาหารเสริม อีฟซี่ มิกซ์ ออยล์ กลุ่มตัวอย่างผู้บริโภคที่เคยซื้อผลิตภัณฑ์อาหารเสริม อีฟซี่ มิกซ์ ออยล์มากกว่า 1 ครั้ง ผ่านทางช่องทางออนไลน์และออฟไลน์จำนวน 323 คน สุ่มตัวอย่างด้วยวิธีไม่อาศัยหลักความน่าจะเป็นแบบสะดวก เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุคูณ


        ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดผลิตภัณฑ์อาหารเสริมอีฟซี่ มิกซ์ ออยล์ ความคิดเห็นโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย คือ ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านกระบวนการ ด้านสถานที่และการขนส่ง ด้านบุคลากรและการบริการ ด้านราคา ด้านกายภาพ และด้านการส่งเสริมการตลาด 2) การตั้งใจซื้อซ้ำของผู้บริโภคความคิดเห็นโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านการรับรู้คุณค่า ด้านการรับรู้ความเป็นธรรม ด้านความพึงพอใจของลูกค้า ด้านความจงรักภักดีของลูกค้า ด้านความพึงพอใจในแบรนด์   ด้านการรับรู้คุณภาพและบริการ และด้านต้นทุนการเปลี่ยนแปลงที่คาดหวัง ตามลำดับ และ 3) การวิเคราะห์การถดถอย ส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการตั้งใจซื้อซ้ำผลิตภัณฑ์อาหารเสริม อีฟซี่ มิกซ์ ออยล์ มี 7 ด้าน ได้แก่ ด้าน ผลิตภัณฑ์ ด้านกระบวนการ ด้านสถานที่และการขนส่ง ด้านบุคลากรและการบริการ ด้านราคา ด้าน กายภาพ และด้านการส่งเสริมการตลาด มีอิทธิพล ร้อยละ 95.5 ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05

Article Details

How to Cite
ศรีสวัสดิ์ ศ., & ศรีสวัสดิ์ พ. . . (2024). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการตั้งใจซื้อซ้ำของธุรกิจ ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมอีฟซี่ มิกซ์ ออยล์. วารสารวิทยาการจัดการและการบัญชี, 3(2), 19–37. สืบค้น จาก https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JMSA_FMS_URU/article/view/5513
บท
บทความวิจัย

References

กรุงเทพธุรกิจ. (2566, 23 สิงหาคม). สุขภาพ-ชีวิต. https://www.bangkokbiznews.com/ category/health

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2546). การวิเคราะห์สถิติ: สถิติสาหรับการบริหารและวิจัย. กรุงเทพฯ : ภาควิชาสถิติคณะพาณิชย์ศาสตร์และการบัญชีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

จริยา แย้มสำราญ. (2564). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความพึงพอใจและความตั้งใจในการซื้อซ้ำเสื้อผ้าผ่านร้านค้าบนสื่อสังคมออนไลน์. [สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยมหิดล.

เจียอี้ หลิวและนภาวรรณ เนตรประดิษฐ์. (2565). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดบริการที่มีผลต่อการซื้อซ้ำการเล่นเกมออนไลน์ของกลุ่มผู้บริโภคชาวจีน Gen Z ในเมืองเซี่ยงไฮ้ ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน. วารสารมหาวิทยาลัยพายัพมหาวิทยาลัยราชภัฏลําปาง, 32(1), 77 – 93.

ญาณวรุตม์ ธนพัฒน์เจริญ. (2564). การศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความตั้งใจซื้อซ้ำของตั๋วเครื่องบินภายในประเทศเพื่อการท่องเที่ยวในช่วงวิกฤตโควิด -19. [ปริญญาการจัดการมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยมหิดล.

ณัชชา ดวงพลอย. (2563). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความตั้งใจซื้อซ้ำเครื่องสำอางเคาน์เตอร์แบรนด์ BSC ในห้างสรรพสินค้าในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. [ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

ณัฐพงค์ พรเดชเดชะ, และ สุพิชา บูรณะวิทยาภรณ์. (2564). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อความตั้งใจใช้บริการซ้ำร้านอาหารญี่ปุ่นประเภทอิซากายะในกรุงเทพมหานคร. วารสารสหวิทยาการสังคมศาสตร์และการสื่อสาร, 5(4), 22–35.

นพดล โกฏิคำลือ. (2562). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อพฤติกรรมการซื้อซ้ำของผู้ใช้บริการสถานบริการน้ำมัน Mr. ปิโตรเลียมในเขตอำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่. [ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.

นภาพร ปิ่นภู่. (2560). กลยุทธ์การตลาดที่ส่งผลต่อความตั้งใจในการซื้อซ้ำสินค้าอุปโภคบริโภคผ่านระบบออนไลน์.[ค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยราชภัฎวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดปทุมธานี.

บุญไทย แสงสุพรรณ. (2562). คุณค่าของตราสินค้าและส่วนประสมทางการตลาดบริการ ที่มีผลต่อ่อ การตัดสินใจซื้อซ้ำของผู้บริโภคกาแฟร้านคาเฟ่อเมซอนศึกษาเฉพาะ สาขาในห้างสรรพสินค้าในเขตจังหวัดปทุมธานี.[ค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

ปรัศนีย์ ไชยชนะ. (2565). ปัจจัยคุณค่าตราสินค้าและอิทธิพลทางสังคมที่มีผลต่อความตั้งใจซื้อซ้ำผลิตภัณฑ์แบรนด์ยูเซอรินของผู้บริโภค. [ปริญญาการจัดการมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยมหิดล.

ฤทธิ์เจตน์ รินแก้วกาญจน์. (2561). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด (7P’s) และปัจจัยด้านการให้บริการที่มีอิทธิพลต่อความพึงพอใจของผู้ใช้บริการคลินิกการแพทย์แผนจีนหัวเฉียว. [วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยสยาม.

วริศรา ไทยป้อม ,ขวัญฤดี พรชัยทิวัตถ์, และ ปรวรรณ เสนาไชย (2564). การรับรูคุณค่าตราสินค้าและส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลกระทบต่อการตั้งใจซื้อคอนกรีตผสมเสร็จตราปูนอินทรีของผู้ประกอบการ ธุรกิจก่อสร้างในจังหวัดชัยภูมิ. วารสารวิชาการการตลาดและการจัดการ, 8(2), 75-87.

วันทนา ประณิธานธรรม. (2564). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีความสัมพันธ์ต่อการ ตัดสินใจซื้อซ้ำของธุรกิจเบเกอรี่ผ่านสื่อสังคมออนไลน์ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. (รายการผลการวิจัย). มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

สุปรียา ช่วยเมือง (2564). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดและคุณภาพบริการที่มีอิทธิพลต่อการกลับมา ใช้บริการซ้ำของผู้บริโภคร้าน After Yam โดยส่งผ่านความพึงพอใจ. วารสารมนุษย์ศาสตร์และ สังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, 12(2), 309-321.

อำนาจ บริพนธ์มงคล (2562). ปัจจัยส่วนผสมการตลาดบริการและคุณภาพการบริการหลังการขายที่มีมีผลต่อการตัดสินใจซื้อซ้ำของสินค้าประเภทเครื่องดูดฝุ่นอุตสาหกรรม : กรณีศึกษาบริษัทนีโอแมค อินเตอร์แอดวานซ์ จำกัด. [ค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

Cronbach, L. J. (1990). Essentials of psychological testing (5th ed.). Harper Collins Publishers.

Cochran, W.G. (1953). Sampling Techniques. New York : John Wiley & Sons.

Green, P. E., Tull, D. S., & Albaum, G. (1988). Research for marketing decisions. Englewood Cliffs, NJ: Prentice Hall.

Hair, J. F., Black, W. C., Babin, B. J. & Anderson, R. E. (2010). Multivariate Data Analysis (7th ed.). Upper Saddle River, NJ: Prentice Hall.

Hellier, P.K., Geursen, G.M., Carr, R.A. & Rickard, J.A. (2003). Customer Repurchase Intention: A General Structural Equation Model. European Journal of Marketing, 37, 1762-1800.

Kotler, P. (2003). Marketing management (11th ed.). Upper Saddle River, NJ: Prentice Hall.