การเปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลที่มีต่อการพัฒนาทักษะทางวิชาชีพของนักศึกษาสาขาวิชาการบัญชีมหาวิทยาลัยของรัฐในจังหวัดสกลนคร
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลที่มีต่อการพัฒนาทักษะทางวิชาชีพของนักศึกษาสาขาวิชาการบัญชีชั้นปีสุดท้าย มหาวิทยาลัยของรัฐในจังหวัดสกลนคร จากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 349 คน โดยใช้แบบสอบถามผ่านระบบ google form สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การเปรียบเทียบด้วยค่าสถิติที และการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว และทดสอบความแตกต่างรายคู่ โดยวิธี Scheffe
ผลการศึกษาพบว่า ความคิดเห็นของนักศึกษาสาขาวิชาการบัญชีชั้นปีสุดท้ายที่มีต่อการพัฒนาทักษะทางวิชาชีพในภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก โดยทักษะทางวิชาชีพด้านปัญญา มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมาคือ ทักษะทางวิชาชีพด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและการสื่อสาร และทักษะทางวิชาชีพด้านวิชาการเชิงปฏิบัติและหน้าที่การงาน ตามลำดับ ส่วนทักษะทางวิชาชีพด้านการจัดการตนเอง มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด นอกจากนี้ ยังพบว่า นักศึกษาที่มีเพศแตกต่างกัน มีความคิดเห็นต่อทักษะทางวิชาชีพแตกต่างกันเฉพาะด้านวิชาการเชิงปฏิบัติและหน้าที่การงาน ส่วนนักศึกษาที่มีสังกัดแตกต่างกัน มีความคิดเห็นต่อทักษะทางวิชาชีพในทุกด้านแตกต่างกัน
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิทยาการจัดการและการบัญชี มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฎอุตรดิตถ์
บทความที่ลงตีพิมพ์ใน วารสารวิทยาการจัดการและการบัญชี มหาวิทยาลัยราชภัฎอุตรดิตถ์ ถือว่าเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้เขียน คณะบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย ผู้เขียนต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง
ผู้เขียนที่ตีพิมพ์ ยอมรับเงื่อนไขต่อไปนี้:
- ผู้เขียนรักษาลิขสิทธิ์และให้สิทธิ์วารสารในการตีพิมพ์ครั้งแรกพร้อมกับผลงานที่ได้รับใบอนุญาตพร้อมกันภายใต้ Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0) ที่อนุญาตให้ผู้อื่นแบ่งปันผลงานโดยรับทราบถึงผลงานของผู้เขียนและ การตีพิมพ์ครั้งแรกในวารสารนี้
- ผู้เขียนสามารถทำข้อตกลงเพิ่มเติมตามสัญญาแยกต่างหากสำหรับการเผยแพร่ผลงานฉบับตีพิมพ์ของวารสารแบบไม่ผูกขาด (เช่น โพสต์ลงในพื้นที่เก็บข้อมูลของสถาบันหรือตีพิมพ์ในหนังสือ) โดยรับทราบการตีพิมพ์ครั้งแรก ในวารสารนี้
- ผู้เขียนได้รับอนุญาตและสนับสนุนให้โพสต์ผลงานของตนทางออนไลน์ (เช่น ในคลังข้อมูลของสถาบันหรือบนเว็บไซต์) ก่อนและระหว่างขั้นตอนการส่งผลงาน เนื่องจากอาจนำไปสู่การแลกเปลี่ยนที่มีประสิทธิผล ตลอดจนการอ้างอิงงานที่ตีพิมพ์เร็วขึ้นและมากขึ้น
References
กัลยา วานิชย์บัญชา. (2553). การใช้ SPSS for Windows ในการวิเคราะห์ข้อมูล. (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ :จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
กัญญารัตน์ ตาลิก, ณัชชา ธนกิจดำรง, และณัชสุดา บัวจอม. (2563). ทางเลือกในการประกอบอาชีพของนักศึกษาปีที่ 4 หลักสูตรบัญชีบัณฑิตในมหาวิทยาลัยของรัฐและเอกชน. ในการประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 15 และเครือข่ายวิจัยประชาชื่น ครั้งที่ 5 “โลกไร้พรมแดน ทิศทางการศึกษาสุขภาวะและนวัตกรรม” วันที่ 20 มีนาคม 2563 ณ ห้องประชุม ดร.ไสว สุทธิพิทักษ์ อาคาร 6 ชั้น 7.กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์, (น. 415-425).
จันทัปปภา ปุณยวิทิตโรจน์ ศรัณยา เลิศพุทธรักษ์ และธีรวัฒน์ หังสพฤกษ์. (2563). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการทำงานของนักบัญชี. ในการประชุมวิชาการระดับนานาชาติและระดับชาติด้านบริหารธุรกิจและการบัญชี เครือข่ายสถาบันการศึกษาแห่งภูมิภาคด้านบริหารธุรกิจ ระหว่างวันที่ 20-21 กุมภาพันธ์ 2563 ณ ศูนย์ประชุมนานาชาติเอ็มเพรส โรงแรม ดิ เอ็มเพรส. เชียงใหม่, (น.33-45).
ณัฏฐยา ปัญญาไชยวิชญ์. (2560). ความสัมพันธ์ระหว่างทักษะทางวิชาชีพของผู้สอบบัญชีสหกรณ์ต่อความรับผิดชอบทางการสอบบัญชี. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน. นครราชสีมา.
นพพร จันทรนำชู และทิพย์วรรณ สุขใจรุ่งวัฒนา. (2561). แนวทางการพัฒนาทักษะวิชาชีพของนักศึกษาสถาบันการอาชีวศึกษาภาคกลาง 4 เพื่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์สู่ประเทศไทย 4.0. Veridian E-Journal, Silpakorn University, 11(3), 767-786.
นุจรี อร่ามรัตนพันธุ์. (2561). ทักษะวิชาชีพที่จำเป็นสำหรับนักบัญชีองค์กรรัฐวิสาหกิจในศตวรรษที่ 21: การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค เขต 1 (ภาคกลาง). (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. ปทุมธานี.
พิมพ์ผกา แก้วดี (2560). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อทักษะนักวิชาชีพบัญชีที่ผู้ประกอบการต้องการตามมาตรฐานการศึกษาระหว่างประเทศของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในจังหวัดสงขลา. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. สงขลา.
มยุรี เกื้อสกุล และวุฒิ วัชโรดมประเสริฐ. (2558). คุณสมบัติของนักบัญชีในสถานประกอบการตามมาตรฐานการศึกษาระหว่างประเทศสำหรับผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีที่ผู้บริหารที่เกี่ยวข้องกับงานบัญชีและนักบัญชี ในสถานประกอบการต้องการ กรณีศึกษา: สถานประกอบการนิคมอุตสาหกรรมสมุทรสาคร. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยธนบุรี. 9(20), 49-58.
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสกลนคร. (2564). ระบบรายงานสถิติต่าง ๆ. สืบค้น 17 มิถุนายน 2564, จาก https://misreg.csc.ku.acth/misreg/cscreport/index.php.
มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร. (2564) ระบบ Snru Connect S251. สืบค้น 14 กรกฎาคม 2564, จากhttps://connect.snru.ac.th/login_new.aspx.
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสกลนคร. (2564). ระบบ Rmuti. สืบค้น 14 กรกฎาคม2564, จาก https://sakonnakhon-ess.rmuti.ac.th/Rmuti/Registration/.
มาตรฐานการศึกษาระหว่างประเทศสำหรับผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี ฉบับที่ 3. (2548). สืบค้น 15 พฤษภาคม2564, จาก https://acpro-std.tfac.or.th/standard/5.
มาตรฐานการศึกษาระหว่างประเทศ ฉบับที่ 3 การพัฒนาทางวิชาชีพระยะเริ่มแรก-ทักษะทางวิชาชีพ (ฉบับปรับปรุง), 2557) สืบค้น 15 พฤษภาคม 2564, จาก https://acpro-std.tfac.or.th/standard/5.
ยุพา สะรุโณ. (2560). ทักษะทางวิชาชีพของผู้ทำบัญชีที่ส่งผลต่อคุณภาพงานบัญชีกลุ่มวิสาหกิจชุมชนในจังหวัดราชบุรี. (รายงานการวิจัย). ราชบุรี: มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง.
สงกรานต์ ไกยวงษ์. (2561). ความสำคัญของทักษะวิชาชีพบัญชีตามมาตรฐานการศึกษาระหว่างประเทศทางการบัญชี ฉบับที่ 3 ในโครงการสหกิจศึกษา. SUTHIPARITHAT, 32(103), 68-80.
อัมพร เที่ยงตระกูล. (2557). ความรู้ทางวิชาชีพ ทักษะทางวิชาชีพ และคุณค่าทางวิชาชีพของผู้สอบบัญชีรับอนุญาต ภายใต้มาตรฐานสากลที่มีผลต่อการดำเนินงานของผู้สอบบัญชีของผู้ใช้บริการกลุ่มสินค้าอุตสาหกรรมและกลุ่มเทคโนโลยีในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์: กรุงเทพมหานคร.
Hair, Joseph F., Black, William C., Babin, Barry., Anderson, Rolph E., and Tatham, Ronald L. (2006). Multivariate Data Analysis. (6th Ed). New Jersey: Pearson Education.
Nunnally, J. C. (1978). Psychometric theory. New York: McGraw-Hill.