ผลกระทบของส่วนประสมทางการตลาดต่อการตัดสินใจซื้อสมาร์ทโฟนของผู้บริโภควัยทำงานในเขตอำเภอเมืองจังหวัดอุตรดิตถ์

Main Article Content

อิราวัฒน์ ชมระกา
ณัฐศิรี สมจิตรานุกิจ
กุลยา อุปพงษ์

บทคัดย่อ

        การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประฟสงค์เพื่อศึกษาความคิดเห็นต่อส่วนประสมทางการตลาดและการตัดสินใจซื้อสมาร์ทโฟน และเพื่อศึกษาอิทธิพลส่วนประสมทางการตลาดกับการตัดสินใจซื้อสมาร์ทโฟนของผู้บริโภควัยทำงานในเขตอำเภอเมืองจังหวัดอุตรดิตถ์ ใช้แบบสอบถามเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลจากประชากรวัยทำงานในเขตอำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์ กำหนดขนาดตัวอย่างโดยสูตรของทาโรยามาเน ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 399 คน สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล เพื่อทราบค่าจำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุ ผลการศึกษา พบว่า ความคิดเห็นต่อส่วนประสมทางการตลาดอยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยมีค่าเฉลี่ยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านผลิตภัณฑ์มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมาคือ ด้านการส่งเสริมการตลาด ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย และด้านราคา ส่วนความคิดเห็นของผู้บริโภคต่อการตัดสินใจซื้อสมาร์ทโฟน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านพฤติกรรมภายหลังการซื้อมีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมาคือ ด้านการประเมินผลทางเลือก และด้านการรับรู้ปัญหากับด้านการตัดสินใจซื้อ สำหรับผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ส่วนประสมทางการตลาดทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านราคา ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย และด้านการส่งเสริมการตลาด มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสมาร์ทโฟนของผู้บริโภควัยทำงานในเขตอำเภอเมืองจังหวัดอุตรดิตถ์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จามีกร คำเทียน, กนกวรรณ แสนเมือง และ ชัชวาล แสงทองล้วน. (2562). ส่วนประสมการตลาดที่มีผลในการซื้อโทรศัพท์เคลื่อนที่ของผู้บริโภคในเขตจังหวัดราชบุรี. วารสารเครือข่ายส่งเสริมการวิจัยทางมนุษย์ศาสตร์และสังคม, 2(1), 25-36.

เชิดชัย ธรรมอมรพงศ์. (2563). ส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อความพึงพอใจในการซื้อโทรศัพท์สมาร์ทโฟนในกรุงเทพมหานคร. วารสารรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 3(1), 1-8.

ฐานิศา มณะโส และเทวี พึ่งชื่น (2556) พฤติกรรมและส่วนประสมทางการตลาดในการซื้อโทรศัพท์มือถือของนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม. สืบค้น 3 มกราคม 2654 จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JMSNPRU/article/view/157331/117615

ไทยวินเนอร์, ไทเกอร์. (2563). การตลาด 4P. สืบค้น 28 ตุลาคม 2563. จาก https://thaiwinner.com/4p-marketing-mix

นันทสารี สุขโต และคณะ. (2560). หลักการตลาด. กรุงเทพฯ: เพียร์สัน เอ็ดดูเคชั่น อินโดไชน่า.

โนวาซอฟ, 2563. กระบวนการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภค. สืบค้น 28 ตุลาคม 2563 จาก https://www.nanosoft.co.th/trip-business/75php

โนวาบิส. (2563). การตัดสินใจ. สืบค้น 28 ตุลาคม 2563 จาก https://www.novabizz.com/NovaACC/Behavior/Decision_Making.thm

บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.

มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. (2563). ขั้นตอนในการตัดสินใจซื้อ. สืบค้น 28 ตุลาคม 2563. จาก https://www.stou.ac.th/stouonline/lom/data/sms/market/Unit3/Subm3/U3-1thed

มาร์เก็ตเธียร์. (2020). สมาร์ทโฟนมากกว่าครึ่งที่ขายทั่วโลก คือสมาร์ทโฟนสัญชาติจีน แล้วแบรนด์ไหนขายได้เยอะสุด. สืบค้น 11 ธันวาคม 2564 จาก https://marketeeronline.co/archives/144812

วิทวัส รุ่งเรืองผล. (2563). หลักการตลาด. กรุงเทพฯ: มาร์เก็ตติ้งมูฟ.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์, ศุภร เสรีรัตน์, ปณิศา มีจินดา, และจิระวัฒน์ อนุวิชชานนท์, (2563). หลักการตลาด. นนทบุรี: ธรรมสาร.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2564). การสำรวจการมีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในครัวเรือน พ.ศ. 2564 (ไตรมาส 4). สืบค้น 5 ตุลาคม 2564 จาก http://www.nso.go.th/sites/2014/DocLib13/Pocketbook63.pdf

สิรินทร์ สุขหงษ์ทอง. (2560). ปัจจัยส่วนประสมการตลาดที่มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจซื้อ สมาร์ทโฟน จากบริษัท แอปเปิ้ล จำกัด ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

อรรคเดช จันทรมานะ. (2562). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสมาร์ทโฟนผ่านตลาดออนไลน์ในประเทศไทย. การค้นคว้าอิสระ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยสยาม.

Armstrong, G. & Kotler, P. (2017). Marketing an introduction. (13th ed). Malasia: Global Edition.

Belch, G. E. & Belch, M. A. (2015). Advertising and promotion. (10th ed). New York: McGraw-Hill.

Cadogan, J. W., Boso, N., Story,V. M., & Adeola, O. (2016). Export strategic orientation- performance relationship: Examination of its enabling and disenabling boundary conditions. Journal of Business Research, 69(11), 5046-5052.

Cronbach, L. J. (1974). Essential of Psychological Testing. New York: Harper&Row.

Hunt, C. H., Mello, J. E., & Deitz, G. D. (2018). Marketing. (2nd ed). New York: McGraw Hill.

Kemp, S. (2020). Special Report Digital 2020. Retrieved from https://wearesocial.com/uk/blog/2022/01/digital-2022/

Kerin, R. A. & Hartley, J. E. (2019). Marketing. (4th ed). New York: McGraw Hill.

Kotler, P. & Armstrong, G. (2011). Principle of Marketing. (14th ed). Pearson Education Inc: Prentice Hall.

Kotler, P. (2000). Marketing Management. (Millennium Edition), Custom Edition for University of Phoenix: Prentice Hall.

Kotler, P. (2003). Marketing Management. 11th ed. Upper Sanddle River. New Jersey : Prentice Hall.

Kotler, P., Keller, K. L., Hoon Ang, S., Tiong Tan, C., & Meng Leong, S. (2018). Marketing Management. (7 th ed). Malaysia: Pearson Education.

Lamb, C. W., Hair, J. F., & McDaniel, C. (2000). Marketing. United States: South – Western College Publishing.

Perreault, W. D., Cannon. J. P., & McCarthy, E. J. (2019). Essentials of Marketing. (16th ed). New York: McGraw-Hill.

Yamane, T. (1970). Statistic: an Introductory Analysis. (2nd ed). New York: Harper & Row.

Thomas, W. L. & David, H. J. (2012). Strategic Management and Business Policy: Toward Global Sustainability. (13th ed). Boston: Pearson.

Vanichbuncha, K. (2007). Statistical analysis: Statistics for management and research. (10th ed). Bangkok: Chulalongkorn University Press.