การส่งเสริมการตลาดและการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์จักสานไม้ไผ่ลวดลายดั้งเดิม กรณีศึกษา ชมรมผู้สูงอายุบ้านกิ่วแลป่าเป้า อ.แม่วาง จ.เชียงใหม่

Main Article Content

rackana kwawsibsam

บทคัดย่อ

บ้านกิ่วแลป่าเป้า อำเภอแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่  มีการจัดตั้งกลุ่มผู้สูงอายุรวมกลุ่มกันเพื่อเป็นการถ่ายทอดศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญา ที่เรียกว่า  “กลุ่มอุ้ยสอนหลาน ” โดยการสอนให้จักสาน แต่การพัฒนาการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์จักสานไม้ไผ่ลวดลายดั้งเดิมของบ้านกิ่วแลป่าเป้าประสบปัญหาการขาดความรู้ทางด้านการตลาดที่จะดำเนินการให้ธุรกิจเติบโตและยั่งยืน  ชุมชนส่วนใหญ่มองธุรกิจชุมชนเป็นเพียงรายได้เสริม ผู้วิจัยจึงมีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อศึกษาการส่งเสริมการตลาดและการจัดช่องทางการจำหน่ายของผลิตภัณฑ์จักสานไม้ไผ่ลวดลายดั้งเดิม         2) เพื่อพัฒนาและวางแนวทางด้านช่องทางการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์จักสานไม้ไผ่ลวดลายดั้งเดิม 3) เพื่อเสริมสร้างศักยภาพของผู้สูงอายุ ให้เข้ากับสังคมสูงวัยและสังคมไทยในศตวรรษที่ 21  และผลของการวิจัยสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับชุมชนอื่นๆ ที่เป็นผู้ผลิตผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นที่สร้างงานในรูปลักษณ์ที่ใกล้เคียงกันได้  ผลการวิจัยพบว่า จากแบบสอบถามเพื่อหาแนวทางในการส่งเสริมการตลาดและเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์จักสานไม้ไผ่จะต้องคำนึงถึงความเหมาะสมราคากับคุณภาพผลิตภัณฑ์ตอบสนองผู้ซื้อได้เหมาะสมมากที่สุด ( รองลงมาคือความต้องการเพิ่มมูลค่าของผลิตภัณฑ์จักสานไม้ไผ่ที่หลากหลาย ( และหัวข้อความประณีตสวยงามของผลิตภัณฑ์จักสานไม้ไผ่ (  ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์จักสานไม้ไผ่ใหม่มากที่สุดคือ ความเหมาะสมของราคาผลิตภัณฑ์และความมีเอกลักษณ์ของความเป็นพื้นถิ่น  คิดเป็นร้อยละ  22.58  สถานที่ในการขยายช่องทางการตลาดและการจัดจำหน่ายสินค้าผลิตภัณฑ์จักสานไม้ไผ่ใหม่มากที่สุดคือ Modern Trade คิดเป็นร้อยละ 38.71  และคิดราคาต้นทุนและกำไรของราคาขายของสินค้าของกลุ่มทุกผลิตภัณฑ์คิดกำไรจากราคาต้นทุนร้อยละ 20 สำหรับการขายส่ง  และมีแนวโน้มกำไรเพิ่มขึ้นร้อยละ  30-40 ขึ้นไปจากการขายปลีกในช่องทางออนไลน์


 

Article Details

บท
Articles