การจัดการศึกษาตามอัธยาศัยเพื่อลดความเหลื่อมล้ำในมิติความรู้โดย เครือข่ายพ่อแม่ชุมชนเมืองสุราษฎร์ธานี

Main Article Content

กฤษณะ ทองแก้ว
เสน่ห์ บุญกำเนิด

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้วัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อพัฒนาศักยภาพเครือข่ายพ่อแม่เพื่อการจัดการศึกษาตามอัธยาศัยใน ชุมชนเมือง สุราษฎร์ธานี 2) เพื่อพัฒนาการจัดการศึกษาและเพิ่มทักษะชีวิตให้กับเด็กและเยาวชนผ่านเครือพ่อแม่ และ 3) เพื่อขับเคลื่อนนโยบายการจัดศึกษาตามอัธยาศัยในชุมชนเมืองสุราษฎร์ธานี ผลการวิจัยพบว่า เครือข่ายพ่อแม่ชุมชนเมือง 20 ครอบครัว มาจากครอบครัวนักธุรกิจ ข้าราชการ และเกษตรกร มีเยาวชนที่จัดการศึกษาตามอัธยาศัยจำนวน 31 คน โดยพ่อแม่นักธุรกิจ ให้ความสำคัญกับ การเท่าทันสื่อออนไลน์ มารยาททางสังคม ทุนทางสังคมและศักยภาพของเมือง ตามลำดับ พ่อแม่ข้าราชการ ให้ความสำคัญกับความรู้จากผู้เชี่ยวชาญ การเท่าทันสื่อออนไลน์ มารยาททางสังคม ทุนและศักยภาพของเมือง เครือญาติ และกลุ่มคนตามลำดับ และพ่อแม่เกษตรกร ให้ความสำคัญกับเครือญาติ และกลุ่มคนทางสังคม การเท่าทันสื่อออนไลน์ มารยาททางสังคม ทุนศักยภาพเมือง และ ความรู้จากผู้เชี่ยวชาญ ตามลำดับ สรุปได้ว่าเครือข่ายพ่อแม่ชุมชนเมือง ที่มีฐานจากนักธุรกิจ ข้าราชการ และเกษตรกร มีผลต่อการลดความเหลื่อมล้ำของความรู้บุตรหลานควรมีการสร้างเวทีให้เครือข่ายพ่อแม่ชุมชนเมืองได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง และจัดตั้งเครือข่ายการจัดการศึกษาตามอัธยาศัย โดยให้เครือข่ายพ่อแม่ชุมชนเมืองได้ร่วมวางแผนยกระดับ ประเมิน และกำกับการศึกษาในระบบให้เกิดผลสัมฤทธิ์ที่สอดคล้องกับศตวรรษที่ 21

Article Details

บท
Articles

References

กรมการศึกษานอกโรงเรียน. 2538. การศึกษาตลอดชีวิต. กรุงเทพฯ: กรมการศึกษานอกโรงเรียน.

กฤษณะ ทองแก้ว และเสน่ห์ บุญกำเนิด. 2564. การขับเคลื่อนการจัดการศึกษาตามอัธยาศัยโดยเครือข่ายพ่อแม่เพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ของเยาวชนในชุมชนสุราษฎร์ธานี. กรุงเทพฯ: สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ.

กาญจนา แก้วเทพ. 2545. สื่อสารมวลชน ทฤษฎีและแนวทางการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ศาลาแดง.

ภัสรา รู้พันธุ์ และคณะ. 2561. รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการแนวทางการศึกษานวัตกรรมด้านเด็กและเยาวชนฐานชุมชน

และโรงเรียนในเครือข่ายยุวชนสร้างสรรค์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

รัตนา ชูแสง และคณะ. 2546. รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษารูปแบบและแนวทางการจัด กระบวนการเรียนรู้ของเครือข่ายเยาวชนสุราษฎร์ธานี. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

ระพินทร์ ยืนยาว และ ธนพฤกษ์ ชามะรัตน์. 2563. กระบวนการสร้างเครือข่ายทางสังคมในการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพ. มนุษย์ศาสตร์สังคมศาสตร์ 37(1) มกราคม -เมษายน. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ธนพฤกษ์ ชามะรัตน์. 2554. การสร้างเครือข่ายทางสังคมของเกษตรกรอีสาน. วิทยานิพนธ์ระดับปริญญาเอก ปริญญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาสังคมวิทยา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

วิภา อุตมฉันท์. 2544. ปฏิรูปสื่อเพื่อสังคม หลักคิดและบทเรียนจากนานาประเทศ. กรุงเทพฯ: คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สฤนี อาชวานันทกุล. 2554. ความเหลื่อมล้ำฉบับพกพา. กรุงเทพฯ: สำนักงานปฎิรูป.

สุภางค์ จันทวานิช. 2561. ทฤษฎีสังคมวิทยา.กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทาลัย.

สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดสุราษฎร์ธานี 2564. แผนพัฒนาการศึกษา (พ.ศ.2563-2565) ฉบับทบทวนประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2564. สุราษฎร์ธานี: สำนักงานศึกษาธิการ.

อานันท์ กาญจนพันธุ์. 2555. ถกความคิดสังคมศาสตร์ในสังคมไทย. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.