กระบวนการเรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตเห็ดด้วยเทคโนโลยีที่เหมาะสมในวิถีเกษตรเชิงพื้นที่: กรณีศึกษาชุมชนนวัตกรรม “ณ-วัด-ตะกำ ฟาร์มมีสุก” ตำบลแม่สุก อำเภอแจ้ห่ม จังหวัดลำปาง

Main Article Content

สันติ ช่างเจรจา
รุ่งนภา ช่างเจรจา
พงศ์ยุทธ นวลบุญเรือง
ศิริพร อ่ำทอง

บทคัดย่อ

กระบวนการเรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตเห็ดด้วยเทคโนโลยีที่เหมาะสมในวิถีเกษตรเชิงพื้นที่: กรณีศึกษาชุมชนนวัตกรรม “ณ-วัด-ตะกำ ฟาร์มมีสุก” ตำบลแม่สุก อำเภอแจ้ห่ม จังหวัดลำปาง มีวัตถุประสงค์สร้างผลผลิตเชิงกระบวนการด้านองค์ความรู้/เทคโนโลยีที่เหมาะสม เกิดพื้นที่การเรียนรู้และมีนวัตกรชุมชนที่มีความรู้และความสามารถขยายผลสู่การพัฒนาอาชีพให้ยั่งยืน โดยการพัฒนารูปแบบ/โมเดลการสร้างชุมชนนวัตกรรม (Learning and Innovation Platform: LIP) การมีส่วนร่วมยกระดับเกษตรวิถีชุมชนกลุ่มเพาะเห็ดบ้านแม่สุก กลไกการมีส่วนร่วมยกระดับการพัฒนากลุ่มเพาะเห็ดบ้านแม่สุกที่ใช้ทุนเดิมเป็นฐาน กำหนดขั้นตอนการดำเนินงาน 4 กิจกรรม ดังนี้กิจกรรมที่ 1 พัฒนากระบวนการกลุ่มเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม จัดเวทีประชุมชี้แจงสร้างความเข้าใจ การดำเนินการวิจัยและสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมของ  “เครือข่ายวิจัย” ร่วมดำเนินงาน Focus group สร้างค่านิยมของกลุ่มเครือข่าย วิเคราะห์และตรวจสอบข้อมูลปัญหาที่สอดคล้องกับความต้องการที่แท้จริงของชุมชน  เสริมทักษะความรู้ กระบวนการวิจัยแบบมีส่วนร่วม กิจกรรมที่ 2 กระบวนการรวบรวมค้นคว้าข้อมูลเชิงพื้นที่และประเด็น โดยมีกลไกการดำเนินงานสำรวจ รวบรวมข้อมูลเชิงพื้นที่ และศึกษากระบวนการผลิตเห็ด วิเคราะห์รายละเอียดฐานการเรียนรู้และพัฒนากระบวนการผลิตโดยใช้แบบสอบถามการผลิต กิจกรรมที่ 3 กลไกการบ่มเพาะนักวิจัยชุมชน/นวัตกรชุมชนด้านระบบการผลิตและการจัดการการผลิตที่มีประสิทธิภาพ ต้นทุนต่ำของชุมชน สร้างกระบวนการเรียนรู้การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (PAR) ระหว่างทีมนักวิจัยในโครงการกับทีมนักวิจัยชุมชน อบรมเชิงปฏิบัติการ และบ่มเพาะนักวิจัยชุมชนร่วมกับนักวิชาการ วางแผนการผลิต ร่วมกำหนดและออกแบบแนวทางการเรียนรู้พัฒนานวัตกรรมหรือการใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม เพื่อการทดลองจริงในพื้นที่การผลิต เปรียบเทียบกับรูปแบบการผลิตเดิมของนักวิจัยชุมชน และกิจกรรมที่ 4 การจัดเก็บข้อมูล ทำการวัดผลความรู้ทีมวิจัยชุมชนก่อนและหลังการดำเนินงานวิจัยโดยใช้แบบสอบถาม สัมภาษณ์ ความพึงพอใจต่อการดำเนินงานของกิจกรรมต่างๆ และในภาพรวมของการดำเนินงาน จำแนกวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงฐานทุนเดิมเกิดผลผลิตตามเป้าหมายชุมชนนวัตกรรมใน 4 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) พื้นที่การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 1 ต้นแบบการเรียนรู้ “ณ-วัด-ตะกำ ฟาร์มมีสุก” ตำบลแม่สุก อำเภอแจ้ห่ม จังหวัดลำปางที่มีองค์ประกอบของบ้าน วัด โรงเรียน (โมเดลการเรียนรู้พัฒนาอาชีพ) โดยมีวัดเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้สามารถเชื่อมโยงสู่แผนพัฒนาพื้นที่เชิงนโยบายของจังหวัดลำปาง 2) กิจกรรมการเรียนรู้ สำหรับสร้างเสริมทักษะการเรียนรู้บนห่วงโซ่คุณค่าการผลิตเห็ด เช่น การฝึกอบรม บ่มเพาะ ศึกษาดูงานแลกเปลี่ยนเรียนรู้ภายในและนอกชุมชน หรือขยายวงกว้างในระบบเครือข่ายออนไลน์ โดยมุ่งการเรียนรู้กลุ่มผู้สูงอายุในชุมชนให้มีการรวมกลุ่มอาชีพและสร้างรายได้ให้กับตนเองและครอบครัว 3) องค์ความรู้หรือนวัตกรรมพร้อมใช้ มีชุดความรู้เทคโนโลยีที่เหมาะสมสามารถขยายผลเชิงการจัดการห่วงโซ่คุณค่า ได้แก่ โรงเรือนเพาะเห็ด ระบบการให้น้ำในโรงเห็ดแบบอัตโนมัติอย่างง่ายสามารถเชื่อมโยงกับการจัดการผลผลิตเห็ดคุณภาพมีมาตรฐานปลอดภัย และการแปรรูปเพิ่มมูลค่าจากเห็ดได้ และ 4) นวัตกรชุมชน เกิดนวัตกรชุมชนในชุมชนบ้านแม่สุก จำนวน 9 คน มีพัฒนาการจากประสบการณ์ที่วัดผลจากความสามารถ ความพยายาม และทัศนคติในการรับ ปรับใช้ และขยายผลถ่ายทอดประสบการณ์ความรู้ตรงให้กับสมาชิกในชุมชนและผู้สนใจทั่วไปได้นำไปปรับใช้ได้จริง

Article Details

บท
Articles
Author Biography

รุ่งนภา ช่างเจรจา

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา 

References

ชัชรี นฤทุม. 2551. การพัฒนาการเกษตรแบบมีส่วนร่วม. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์กำแพงแสน, นครปฐม. 185 น.

นพพร พัชรประกิติ อภิรักษ์ สงรักษ์ อนิวรรต หาสุข ประภาศรี ศรีชัย สายชล ชุดเจือจีน สุดคนึง ณ ระนอง สุขาติ จันทรมณีย์ กนกรัตน์ รัตนพันธุ์ บุญรัตน์ บุญรัศมี และอุกฤษฏ์ ชำมริ. 2567. คู่มือการถ่ายทอดเทคโนโลยีทีเหมาะสม. โรงพิมพ์ไอคิว มีเดีย, สงขลา. 64 น.

ปุญญิศา วัจฉละอนันท์. การพัฒนาผู้ป่วยไตวายเรื้อรังโรงพยาบาลโนนสูง. วารสุขภาพและสิ่งแวดล้อมศึกษา ปีที่ 5 ฉบับที่ 2 เมษายน-มิถุนายน; 147-154.

พิชิต ฤทธิ์จรูญ. 2563. การบริหารจัดการโครงการวิจัยให้สัมฤทธิ์ผล. วารสารวิชาการศรีปทุม ชลบุรี. ปีที่ 17 ฉบับที่ 1 เดือนกรกฎาคม-กันยายน 2563; 179-189.

รุ่งนภา ช่างเจรจา สันติ ช่างเจรจา และนิอร โฉมศรี. 2563. การถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตสับปะรดนอกฤดูแบบมีส่วนร่วม. วารสารวิิชาการรัับใช้้ สัังคม มทร.ล้้านนา. 4(2); 35-45.

วรรณดี สุทธินรากร. 2557. การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมและกระบวนการทางสำนึก. สำนักพิมพ์สยาม. กรุงเทพมหานคร. 256 น.

สันติ ช่างเจรจา รุ่งนภา ช่างเจรจา และนิอร โฉมศรี. 2563.กระบวนการยกระดับคุณภาพผลิตภัณฑ์แบบมีส่วนร่วมของชุมชนปกาเกอะญอ: กรณีศึกษาบ้านแม่ปอคี จังหวัดตาก. วารสารวิิชาการรัับใช้้สัังคม มทร.ล้้านนา. 4(2); 59-68.

อมาวสี อัมพันศิริรัตน์ และพิมพิมล วงศ์ไชยา. 2560. การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม : ลักษณะสำคัญและการประยุกต์ใช้ในชุมชน. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, ปีที่ 36 ฉบับที่ 6 พฤศจิกายน - ธันวาคม พ.ศ.2560 : 192-202

อภิรักษ์ สงรักษ์ นพพร พัชรประกิติ อนิวรรต หาสุข ประภาศรี ศรีชัย สายซล ชุดเจือจีน สุดคนึง ณ ระนอง สุชาติ จันทรมณีย์ กนกรัตน์ รัตนพันธุ์ บุญรัตน์ บุญรัศมี สมรักษ์ รอดเจริญ เกศิณี ใหมคง สุริยนต์ สูงคำ ศกลรัตน์ ชูนุ่ม ศิลาวรรณ สังข์ทอง เอเชีย หงส์โสภา อัยวริณ แก้วชิด และสุดธิดา ชำนาญ. 2567. คู่มือปฏิบัติการขยายผลวิจัยเทคโนโลยีที่เหมาะสมเพื่อยกระดับเศรษฐกิจฐานราก. โรงพิมพ์ไอคิว มีเดีย, สงขลา. 56 น.

อนิวรรต หาสุข อภิรักษ์ สงรักษ์ นพพร พัชรประกิติ ประภาศรี ศรีชัย สายซล ชุดเจือจีน สุดคนึง ณ ระนอง สุชาติ จันทรมณีย์ กนกรัตน์ รัตนพันธุ์ บุญรัตน์ บุญรัศมี และอุกฤษฏ์ ชำมริ. 2567. คู่มือกระบวนการยอมรับเทคโนโลยีที่เหมาะสม. โรงพิมพ์ไอคิว มีเดีย, สงขลา. 30 น.