การพัฒนาการตลาดเชิงเนื้อหาสินค้าสมุนไพรแปรรูปแบบมีส่วนร่วม กรณีกลุ่มวิสาหกิจชุมชนสมุนไพรดาวอินคา ตำบลบ้านแก้ง อำเภอเมืองสระแก้ว จังหวัดสระแก้ว

Main Article Content

จิระศักดิ์ เฮงศรีสมบัติ
พรรณี พิมพ์โพธิ์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research: PAR) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาช่องทางการสื่อสารออนไลน์ของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนสมุนไพรดาวอินคา ตำบลบ้านแก้ง อำเภอเมือง จังหวัดสระแก้ว เพื่อให้สามารถดำเนินการตลาดเชิงเนื้อหา (Content Marketing) ได้อย่างมีประสิทธิภาพ การวิจัยใช้วิธีสัมภาษณ์เชิงลึก การสังเกต และแบบสอบถามในการเก็บข้อมูล โดยมีผู้ให้ข้อมูลหลักคือประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนฯ และสมาชิกจำนวน 7 คน รวมถึงการประเมินความพึงพอใจของผู้บริโภคจำนวน 100 รายที่ถูกเลือกแบบเจาะจง


            เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์เชิงลึก แบบสอบถาม และการสังเกต ผลการศึกษาพบว่า การสื่อสารผ่านช่องทางออนไลน์ของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนดาวอินคา มีประสิทธิภาพในระดับปานกลาง โดยมีความน่าสนใจของเนื้อหา การเปิดเผยข้อมูลใหม่ และความน่าเชื่อถืออยู่ในระดับที่สูง ด้านการพัฒนาเนื้อหาสำหรับการตลาดเชิงเนื้อหา (Content Marketing) ได้มีการสร้าง การจัดการ การเผยแพร่ และการเพิ่มความน่าสนใจให้กับเนื้อหา เพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ยั่งยืนระหว่างกลุ่มวิสาหกิจชุมชนและลูกค้า เนื้อหาที่พัฒนาขึ้นมี 3 ประเด็นหลัก 8 รูปแบบ ได้แก่ การสร้างการรับรู้ (Brand Awareness) การสร้างความน่าเชื่อถือ (Credibility) และการสร้างการมีส่วนร่วม (Engagement) ผ่านการนำเสนอในรูปแบบต่าง ๆ เช่น ประโยชน์ของสินค้า สมุนไพรที่ใช้ กระบวนการผลิต บทความรีวิวสินค้า และวิธีการใช้งานสินค้า

Article Details

บท
Articles

References

กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ. (19 เมษายน 2565). https://www.ditp.go.th/. เข้าถึงได้จากhttps://www.ditp.go.th/

contents_attach/584685/584685.pdf

ข้อมูลทั่วไป - สำนักส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่นและวิสาหกิจชุมชน. (5 พฤษภาคม 2566). เข้าถึงได้จาก สำนักส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่นและวิสาหกิจชุมชน: https://cep.cdd.go.th/เกี่ยวกับ-otop/ข้อมูลทั่วไปotop

กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ. (19 เมษายน 2565). https://www.ditp.go.th/. เข้าถึงได้จากhttps://www.ditp.go.th/

contents_attach/584685/584685.pdf

ข้อมูลทั่วไป - สำนักส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่นและวิสาหกิจชุมชน. (5 พฤษภาคม 2566). เข้าถึงได้จาก สำนักส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่นและวิสาหกิจชุมชน: https://cep.cdd.go.th/เกี่ยวกับ-otop/ข้อมูลทั่วไปotop.

ณัฏฐา อุ่ยมานะชัย. (2560). วิดีโอคอนเทนต์กับการตลาดแบบบอกต่อ. วารสารนักบริหาร, 22-28.

ณัฐพล ไยไพโรจน์. (2559). Digital marketing: Concept & case study (พิมพ์ครั้งที่ 3). นนทบุรี: ไอดีซีฯ.

นิวัฒน์ ชาตะวิทยากุล และ ไกรชิต สะตุเมือง. (2555). แรงจูงใจในการแบ่งปันวีดีโอคอนเทนท์บน. วารสารการเงินการลงทุน และการบริหารธุรกิจ, 1-18.

รัตนะ บัวสนธ์. (2551). การวิจัยเชิงคุณภาพทางการศึกษา. กรุงเทพฯ: คำสมัย.

รับฟังความเห็น (ร่าง) แผนปฏิบัติการด้านสมุนไพรแห่งชาติ ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2566-2570). (2564, พฤศจิกายน 17). Retrieved from กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก: https://www.dtam.moph.go.th/index.php/th/news/dtam-news/7816-pr1463.html

ปาริชาต สถาปิตานนท์. (2557). ระเบียบวิธีวิจัยการสื่อสาร. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อรรถชัย วรจรัสรังสี, และ พนม คลี่ฉายา. (2556). ประเภทเนื้อหาการตลาดบนเฟซบุ๊กแฟนเพจและความตั้งใจซื้อของผู้บริโภค. วารสารการประชาสัมพันธ์และการโฆษณา, 88-106.

P Kotler, H. Kartajaya, และ I. Setiawan. (2017). Marketing 4.0: Moving from traditional. Hoboken, NJ: John Wiley & Sons.