การใช้ประโยชน์จากผลลูกตาลแก่สำหรับนวดฝ่าเท้าเพื่อส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุจากภูมิปัญญาของชุมชน ตำบลปากน้ำ อำเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา

Main Article Content

ชนะพล สิงห์ศุข
ศิรินันท์ คำสี
สุรีย์พร ธรรมิกพงษ์

บทคัดย่อ

การศึกษางานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการใช้ประโยชน์จากผลลูกตาลแก่สำหรับนวดฝ่าเท้าเพื่อส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุจากภูมิปัญญาของชุมชน ตำบลปากน้ำ อำเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง ได้แก่ ผู้สูงอายุที่เป็นสมาชิกชมรมผู้สูงอายุ จำนวน 20 คน กลุ่มผู้นำชุมชน จำนวน 20 คน การดําเนินการวิจัยแบ่งเป็น 3 ระยะ ได้แก่ 1) ศึกษาข้อมูลบริบทและความต้องการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ 2)พัฒนาลูกตาลนวดฝ่าเท้าเพื่อส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุจากภูมิปัญญาของชุมชน 3) ประเมินผลการดำเนินงานการใช้ประโยชน์จากผลลูกตาล การเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการจำแนกชนิดข้อมูล การวิเคราะห์คำหลักจากการสนทนากลุ่ม ผลการศึกษาพบว่า ชุมชนมีทรัพยากรที่เป็นอัตลักษณ์คือแหล่งท่องเที่ยวหมู่บ้านน้ำตาลสด ผลของต้นตาลที่นำไปทำขนมที่สร้างอาชีพบนเส้นทางการท่องเที่ยวเป็นสิ่งของเหลือใช้จึงได้คิดเห็นร่วมกันพัฒนาเป็นลูกตาลนวดฝ่าเท้า ความพึงพอใจของการใช้ประโยชน์จากผลลูกตาลนวดฝ่าเท้าเพื่อส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุ ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (4.38±0.82) ส่งผลทำให้ผู้สูงอายุผ่อนคลายและสามารถกระตุ้นปลายประสาทเป็นการส่งเสริมสุขภาพการดูแลเท้าของผู้สูงอายุ

Article Details

บท
Articles

References

กลุ่มข้อมูลข่าวสาร สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข, 2564. สถานะสุขภาพ. [ออนไลน์] ได้จาก: http://www.cco.moph.go.th/cco24/status/status_health.html

ไชยยันตร์ กัมปนาทแสนยากร. (2540). แนวคิดและหลักการด าเนินงานเมืองน่าอยู่. กรุงเทพ ฯ : กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข.

ดวงใจ พรหมพยัคฆ์ ลักคณา บุญมี ชไมพร จินต์คณาพันธ์. 2560. การนวดเท้าเพื่อลดอาการชาเท้าในผู้ป่วยไทยที่เป็นเบาหวาน การทบทวนงานวิจัยอย่างเป็นระบบ. วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์. 37(4), 118-129.

ระบบสถิติทางการทะเบียน, 2565. ประชากรผู้สูงอายุประเทศไทย.[ออนไลน์] ได้จาก:https://stat.bora.dopa.go.th/new_stat/webPage/statByAge.php

รังสิยา นารินทร์ และ เรณู มีปาน, 2558. นวัตกรรมการจัดการดูแลสุขภาพของชุมชน: ‘อาสาปันสุข’. ม.ป.ท.. [ออนไลน์] ได้จาก: https://cmudc.library.cmu.ac.th/frontend/Info/item/dc:95379

ศิรินันท์ คำสี และคณะ. 2564. การส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่นให้เป็นนวัตกรรมการออกกำลังกายของกลุ่มผู้สูงอายุตำบลปากน้ำ อำเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา. การประชุมวิชาการระดับชาติครั้งที่ 13 มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม การเผยแพร่ : ประชุมวิชาการ วันที่ตีพิมพ์/เผยแพร่ : ภาคบรรยาย สาขาสาธารณสุข สุขภาวะชุมชน และอนามัยสิ่งแวดล้อม วันที่ 8-9 กรกฎาคม 2564

สมพร ชินโนรส วันเพ็ญ ปานยิ้ม. 2544. การนวดจุดฝ่าเท้ากับการบรรเทาอาการปวด. Rama Nurs J. 7(3), 220-227.

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ, 2565. นวัตกรรมสร้างเสริมสุขภาพ เพื่อสังคมสุขภาวะที่ยั่งยืน. [ออนไลน์] ได้จาก: https://shorturl.asia/LC8z3 เมื่อ 28 กันยายน 2565

อรอนงค์ ศรีสองเมือง อภิญญา คารมปราชญ์ มณฑน์พิชาญ์ ชินรัตน์ จาริญญ์ จินดาประเสริฐ. (2563). ผลของโปรแกรมการนวดกดจุดสะท้อนฝ่าเท้าเพื่อลดความปวดในผู้ป่วยมะเร็ง. ศรีนครินทร์เวชสาร. 35(3),296-303.

DougansI. 1996. Complete illustrated guide to reflexology: Therapeutic foot massage for health and well-being. New York: Barnes & Noble.

World Health Organization ,2018.Ageing. [ออนไลน์] ได้จาก: https://shorturl.asia/aTbM0