การวิเคราะห์ต้นทุนการผลิตผลิตภัณฑ์ต้นแบบจากส้มสีทองน่านของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผลิตภัณฑ์สมุนไพรบ้านเชียงยืน ตำบลบ่อสวก อำเภอเมือง จังหวัดน่าน
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาต้นทุนจากการลงทุนผลิตผลิตภัณฑ์ และ2) วิเคราะห์จุดคุ้มทุนและผลตอบแทนจากการลงทุนผลิตผลิตภัณฑ์ลูกประคบสมุนไพรและผลิตภัณฑ์ยาอบสมุนไพร เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้วิธีการสังเกตแบบมีส่วนร่วม โดยสัมภาษณ์แบบเจาะลึกและทำการเก็บข้อมูลจากประธาน สมาชิกวิสาหกิจชุมชนสมุนไพรบ้านเชียงยืน จำนวน 8 คน ข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์นำมาคำนวณต้นทุนการผลิต ซึ่งประกอบด้วย วัตถุดิบทางตรง ค่าแรงงานทางตรง และค่าใช้การผลิต วิเคราะห์จุดคุ้มทุนและอัตรากำไร ผลการศึกษาพบว่า ลูกประคบสมุนไพรมีต้นทุนการผลิตเท่ากับ 8,894.50 บาท หรือ 88.95 ต่อหน่วย ยาอบสมุนไพรมีต้นทุนการผลิตเท่ากับ 13,794.50 บาท หรือ 137.95 ต่อหน่วยการจำหน่ายลูกประคบสมุนไพรสร้างรายได้ 12,000 บาท โดยมีอัตรากำไรขั้นต้น 34.21% และมีอัตรากำไรสุทธิ 25.88% ต่อรอบการผลิต การจำหน่ายยาอบสมุนไพรสร้างรายได้ 18,000 บาทโดยมีอัตรากำไรขั้นต้น 28.92% และมีอัตรากำไรสุทธิ 23.36% ต่อรอบการผลิต จากการวิเคราะห์จุดคุ้มทุนของผลิตภัณฑ์ต้นแบบจากส้มสีทองน่าน จากการศึกษาพบว่า 1) ลูกประคบสมุนไพรมียอดขายที่จุดคุ้มทุน 7.75 หน่วยหรือ 930 บาท ต่อรอบการผลิต 2) ยาอบสมุนไพรยอดขาย ณ จุดคุ้มทุนเท่ากับ 6.21 หน่วยหรือ 1,118 บาท ต่อรอบการผลิต โดยผลิตภัณฑ์ที่มีอัตรากำไรขั้นต้นและอัตรากำไรสุทธิดีที่สุด ได้แก่ ลูกประคบสมุนไพร ดังนั้นวิสาหกิจชุมชนสมุนไพรบ้านเชียงยืนจึงสามารถกำหนดราคาขายได้สอดคล้องกับต้นทุนสินค้าที่แท้จริงและตัดสินใจเลือกลงทุนผลิตให้ได้ตรงกับจุดคุ้มทุน และวางแผนการผลิตผลิตภัณฑ์ที่สร้างผลกำไรได้มากที่สุด นอกจากนี้ วิสาหกิจชุมชนสมุนไพรบ้านเชียงยืนยังได้พัฒนาผลิตภัณฑ์ต้นแบบที่มีอัตลักษณ์ท้องถิ่นพิเศษซึ่งมาจาก "ส้มสีทองน่าน" เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมส้มสีทองน่านให้เป็นผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรหลักของจังหวัดน่านสะท้อนอัตลักษณ์ท้องถิ่นของชุมชน ผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นนี้จะสร้างความได้เปรียบเชิงกลยุทธ์และรับรองการเติบโตอย่างยั่งยืนของผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นในระยะยาว
Article Details
References
กุณฑีรา อาษาศรี. 2562. ความสัมพันธ์ระหว่างการจัดการความรู้ด้านต้นทุนผลิตภัณฑ์กับการวางแผนการดำเนินงานและการสร้างมูลค่าเพิ่มทางการตลาดอย่างยั่งยืนของกลุ่มวิสาหกิจชุนชนในเขตจังหวัดมหาสารคาม.รายงานการวิจัย.สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
เขมิกา สงวนพวก และจิตรลดา รอดพลอย. 2564.แนวทางการพัฒนาศักยภาพวิสาหกิจชุมชน
ชุมชนกลุ่มแปรรูปสมุนไพรพื้นบ้าน ในตำบลบ้านทราย อำเภอบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี. วารสารบริหารธุรกิจและสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง. 4, 3: 64 -84
ทศพร แก้วขวัญไกร. 2560. ทางรอดวิกฤติเศรษฐกิจด้วยแนวทางวิสาหกิจชุมชน. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์. 9,2: 33-50.
น้ำฝน รักประยูร, วิลาสินี บุญธรรม และณัฐพร จันทร์ฉาย. 2565. การพัฒนาผลิตภัณฑ์ไม้ไผ่และกลยุทธ์การตลาดเพื่อมุ่งสู่ตลาดสีเขียว. วารสารวิชาการรับใช้สังคม มทร.ล้านนา. 6,1: 31-40
บุญยิ่ง คงอาชาภัทร. 2562. 3 จุดอ่อน “OTOP ไทย”
กับ 5 เคล็ดลับความสำเร็จ 20 แบรนด์ไทยไม่แพ้ชาติใดในโลก. [ออนไลน์] ได้จาก: https://www.marketingoops.com/reports/industry-insight/decoding-the-success-of-thai-local-brand/
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคม แห่งชาติ. 2562. ยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20
ปี (พ.ศ. 2561-2580). พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : สำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการ ยุทธศาสตร์ชาติ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.
พรรณุภา ธุวนิมิตรกุล. 2563. การเงินธุรกิจ. (พิมพ์ครั้งที่ 11). กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ศิรประภา ศรีวิโรจน์ และลักขณา ลุสวัสดิ์. 2559.ธุรกิจ SMEs ของไทยกับความเสี่ยงด้านต้นทุนใน ยุคการค้าเสรีอาเซียน. วารสารวิชากาiมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับสังคมศาสตร์และ มนุษยศาสตร์. 6,1: 1-20.
อรอุมา สำลี, กนกนาถ ศรีกาญจน์ และเจษฎา ร่มเย็น.2565. การวิเคราะห์ต้นทุนผลิตภัณฑ์ใหม่ของผลิตภัณฑ์ชุมชน อำเภอฉวางจังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 9, 2: 57-77