การพัฒนากระบวนการเผาถ่านแบบดั้งเดิมสู่ชุมชนนวัตกรรมต้นแบบหมู่บ้านไร้ควัน เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตด้วยโมเดลเศรษฐกิจใหม่

Main Article Content

เทอดเกียรติ แก้วพวง
จิระศักดิ์ เฮงศรีสมบัติ
ปิยะพงษ์ ยงเพชร

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีลักษณะเป็นงานวิชาการเพื่อสังคมที่ได้ทำการวิจัยกระบวนการมีส่วนร่วมอย่างแท้จริงเพื่อนำไปสู่การแก้ไขปัญหาเชิงพื้นที่ผ่านการร่วมมือแบบภาคีระหว่างนักวิจัยและชุมชน ซึ่งวัตถุประสงค์หลักของงานวิจัยนี้เพื่อลดปัญหาควันไฟที่เกิดจากการเผาถ่านแบบดั้งเดิมในพื้นที่ของเกษตรกรที่มีอาชีพเผาถ่านที่มีจำนวน 49 เตา ในพื้นที่บ้านคลองอาราง จังหวัดสระแก้ว การวิจัยครั้งนี้แบ่งออกเป็น 6 ขั้นตอน ได้แก่ 1. ลงพื้นที่ศึกษาบริบทชุมชน 2. ศึกษานวัตกรรมและเทคโนโลยีพร้อมใช้ 3. ถ่ายทอดนวัตกรรมและเทคโนโลยี 4. พัฒนาศักยภาพนวัตกรชุมชน 5. วิเคราะห์และสรุปผลกับชุมชน และ 6. ส่งมอบและขยายผลในพื้นที่ จากการวิจัยได้มีการออกแบบและสร้างเตาเผาถ่านที่มีลักษณะเด่นใช้ระบบการไหลของอากาศผ่านช่องแคบบริเวณฐานเตาและปากปล้องเตาเกิดการไหลและเติมของอากาศทให้เกิดการเผาไหม้ที่สมบูรณ์ลดการเกิดควันจากการเผาส่งผลให้มีการปล่อยควันน้อย และการเผาด้วยกระบวนการไพโรไลซีลจากแก๊สในตัวเนื้อไม้ โดยมีเตาเผาในชุมชนจำนวน 40 เตา ทดแทนและลดการใช้งานเตาเผาถ่านแบบดั้งเดิมส่งผลให้เกิดปล่อยควันที่เป็นมลพิษในชุมชนลดน้อยลง ถ่านที่ได้จากการเผาไม้ยูคาลิปตัสและไม้กระถินณรงค์ในเตาแบบใหม่สามารถดูดซับไอโอดีนได้ 284.13 mg/g และ 288.55 mg/g ตามลำดับ นอกจากนี้สามารถสร้างภาคีเครือข่ายความร่วมมือสู่การเป็นต้นแบบศูนย์เรียนรู้ด้านพลังงานทดแทนในอนาคตต่อไป  

Article Details

บท
Articles

References

ศราพร ไกรยะปักษ์. (2553). รูปแบบที่เหมาะสมในการจัดการพลังงานชุมชน. วิทยานิพนธ์ ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (การจัดการสิ่งแวดล้อม) คณะพัฒนาสังคมและ สิ่งแวดล้อม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

สมาคมเทคโนโลยีที่เหมาะสม. (2549). คู่มือเตาเผาถ่าน 200 ลิตร. บริษัท พิฆเณศพริ้นท์ติ้ง เซนเตอร์จำกัด. กรุงเทพ.

สุพรชัย มั่งมีสิทธิ์. (2549). การสร้างเตาเผาถ่านแบบประหยัดของชุมชนคนเอาถ่าน. สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม. (2560). ถ่านดูดกลิ่น. มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน มผช. 180/2560 กรุงเทพมหานคร : สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2559). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่1 (2559-2564). กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

สำนักงานพลังงานภูมิภาคที่ 5 นครราชสีมา. (2550). ตัวอย่างผลการจัดทำยุทธศาสตร์พลังงานระดับชุมชน องค์การบริหารส่วนตำบลโคกว่าน อ.ละหานทราย จ.บุรีรัมย์. กระทรวงพลังงาน. เอกสารประกอบการบรรยาย การฝึกอบรม นักวางแผนพลังงานชุมชน.

กาญจนา แก้วเทพ. (2559). การเขียนบทความวิจัยเพื่อสังคม. กรุงเทพฯ : สถาบันคลังสมองของชาติ.

Joyce, S A., & MacFarlane. M. (2001). Social Impact Assessment inthe Mining Industry: Current Situation and Future Directions. London: Mining, Minerals and Sustainable Development.

Stavros, J.M. and Hinrichs, G. (2009) Thin Book of SOAR: Building Strengths-based Strategy. Bend, OR: Thin Book Publishers.

Kaewpuang, T., & Yongphet, P., (2022) Quality-of-life enhancement with solar energy through community innovator creating process for stability and sustainability. RMUTL Journal Socially of Engaged Scholarship. 6(1). Pp 21-30. (In Thai).

Yongphet, P., Kwamkhunkoei, J., Pakvilai, N., Nakpibal, P., Yuduang, N., & Phunphon, T., (2021) Foresight for sustainable management of a model community in renewable energy through participatory work processes between the university and the community. The 7th International (Virtual) Workshop on UI GreenMetric World University Rankings (IWGM 2021). 24-26 August 2021.

Yongphet, P., Wang, D., Maouche, C., Bahizire, G.M., Ondokmai, P., & Dutsadeesong, W., (2016) Guidelines for the sustainability of community energy management under the sufficiency economy philosophy. RMUTL Journal Socially of Engaged Scholarship. 2(1). 33-48.

Sittiritkawin, P., Yotkat, P., Saengnuan, S., & Rattanapho, K., (2023) Technology Transfer Movable Charcoal Kiln for Farmers in Chiang RaiProvince to Create a Career Wood Charcoal and Wood Vinegar. RMUTL Journal Socially of Engaged Scholarship. 7(1). 47-56. (In Thai).