แนวทางการออกแบบตลาดชุมชนด้วยแนวทางที่ยั่งยืน : กรณีศึกษา อ.พร้าว จังหวัดเชียงใหม่

Main Article Content

ธนิตพงศ์ พุทธวงศ์
จุรีพร เลือกหา

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มุ่งส่งเสริมพัฒนาพื้นที่แหล่งกระจายรายได้หมุนเวียนเข้าสู่ชุมชน ณ บริเวณหน้าฝายเก็บน้ำ แม่สะลวม เขตเทศบาล  อำเภอพร้าว โดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) ศึกษาสภาพบริบทชุมชน 2) พัฒนาต้นแบบโลโก้และรูปแบบร้านค้าชั่วคราวที่เหมาะสำหรับตลาดชุมชน 3) ประเมินความพึงพอใจที่มีผลต่อการออกแบบตลาดชุมชนที่สอดคล้องกับแนวความคิดการออกแบบที่ยั่งยืน ปัญหาที่พบ ได้แก่ ชุมชนมีผลผลิตทางด้านการเกษตร หัตถกรรม และงานฝีมือจำนวนมาก แต่ยังขาดพื้นที่จัดจำหน่ายสินค้าภายในชุมชน ดังนั้นทางเทศบาลต้องการสนับสนุน จัดทำกิจกรรมที่ส่งเสริมการจัดตั้งตลาดชุมชน ทุก ๆ วันเสาร์ เพื่อการสร้างงานสร้างรายได้ ของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน กลุ่มผู้สูงอายุ และกลุ่มชาติพันธุ์ ตามการพัฒนาแบบยั่งยืน (SDGs)  ทางเทศบาลได้ร่วมมือกับ คณาอาจารย์ และนักศึกษา สาขาสถาปัตยกรรมออกแบบภายใน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา จังหวัดเชียงใหม่ โดยมีการบูรณาการงานวิจัยเข้ากับการเรียนการสอน วิธีดำเนินงาน 1) สำรวจบริบทโดยรอบของพื้นที่ที่จะทำการออกแบบ 2)   ใช้กระบวนการคิดเชิงออกแบบ การสังเกต และการสัมภาษณ์เฉพาะกลุ่ม เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลและสร้างต้นแบบผลิตภัณฑ์ และนำเสนอเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็น สรุปผลแนวทางการออกแบบตลาดชุมชน พบว่าพื้นที่ทางด้านหน้าที่ติดกับถนนใหญ่ใกล้กับสามแยกมีความเหมาะสมสำหรับเป็นจุดเริ่มต้นของตลาด ด้านการออกแบบมีการพัฒนาโลโก้และรูปแบบร้านค้าโดยคำนึงถึงการออกแบบที่ยั่งยืน การคำนึงถึงวัสดุ ฟังก์ชั่นการใช้งาน และอัตลักษณ์ของชุมชนมาประยุกต์ใช้ ผลจากการวิพากษ์โดยทางเทศบาลเห็นด้วยกับแนวความคิดของนักศึกษาทั้ง 3 กลุ่ม ในเรื่องการนำเสนอที่มีความน่าสนใจ มีการสรุปค่าใช้จ่ายในการก่อสร้าง ซึ่งมีความเป็นได้ในการดำเนินการต่อไปในอนาคต

Article Details

บท
Articles

References

กานต์ คำแก้ว, วิฑูรย์ เหลียวรุ่งเรือง และ ลลิตา จรัสกร (2555). การใช้วัสดุในท้องถิ่นเพื่อการออกแบบ สถาปัตยกรรม ในพื้นที่ห่างไกล. Local Material Utilization for Architectural Design in Remote Areas.

กิตติพงษ์ ล้ออุทัย. 2554. แนวคิดในการอนุรักษ์ และ

พัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน กรณีศึกษา: ชุมชนตลาด ล่างใน เขตเมืองเก่าลพบุรี (Doctoral dissertation, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย).

พระครูใบฎีกา วิชาญวิสุทโธ และภักดี โพธิ์สิงห์. 2565. “การขับเคลื่อนตลาดนัดชุมชนสู่การพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก.” วารสารมหาจุฬาคชสาร. 13, 2: 1-14

สวลักษณ์ เชื้อสุวรรณ์. (2024). การศึกษา อัตลักษณ์ทางสถาปัตยกรรมเพื่อเสนอแนวทางการ ออกแบบสภาพแวดล้อมตลาดและร้านค้าชุมชน ต้นแบบสำหรับการพัฒนาเศรษฐกิจท้องถิ่นบ้านในวง ใต้อำเภอละอุ่น จังหวัดระนอง. วารสาร ตำหนัก, 1(2), 49-64.

สำนักงานสถิติจังหวัดเชียงใหม่. 2565. รายงานสถิติจังหวัดเชียงใหม่. Chaing Mai Provincial Statistical Report. เข้าถึงได้จาก: https://chiangmai.nso.go.th/images/s-101 .pdf. 30 มิถุนายน 2567.

สำนักงานสภาเกษตรกร จังหวัดเชียงใหม่, 2564. อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่. เข้าถึงได้จาก:

จาก: https://www.nfccmi.or.th/assets/

uploads/pages_img/57b40-จังหวัดเชียงใหม่.pdf. 28 มิถุนายน 2567.

Daniel. 2007. Sustainable Design: Ecology, Architecture, and Planning. Canada: John Wiley & Sons.

Erfaneh and Mohammadali. 2020. Sustainable

Street Furniture. Periodica Polytechnica Architecture. 51(1), 65-74

Ryan. 2018. Sustainable kiosk development utilising culturally adaptive user interfaces and a novel interaction method. Doctoral dissertation. University of West London.