Research แนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้า Eco Print เพื่อสร้างอัตลักษณ์ของ วิสาหกิจชุมชนผลิตภัณฑ์และหัตถกรรมบ้านแม่ลานเหนือ จ.แพร่

Main Article Content

น้ำฝน รักประยูร
ณัฐพร จันทร์ฉาย
นิติกาญจน์ นาคประสม
เกศินี วีรศิลป์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ คือ 1. เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้และพัฒนาผลิตภัณฑ์ Eco print ให้กับวิสาหกิจชุมชนผลิตภัณฑ์และหัตถกรรมบ้านแม่ลานเหนือ 2. เพื่อวิเคราะห์แนวทางการสร้างอัตลักษณ์ชุมชนสำหรับผลิตภัณฑ์ Eco print  ใช้กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการ  เครื่องมือที่ใช้ในกระบวนการวิจัย ได้แก่ การสนทนากลุ่มย่อยกับกลุ่มวิสาหกิจชุมชน  จำนวน 26 คน  ผลการวิจัย พบว่า การถ่ายทอดองค์ความรู้การทำผ้า Eco print มีขั้นตอนทำ 6 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การเตรียมผ้า 2) การเตรียมน้ำ Mordant  3) การเตรียมน้ำสีย้อมจากฝางเสน 4) การเตรียมใบไม้และการวางใบ  5) การนึ่ง และ 6) การซักฟิกสี  แนวทางการสร้างอัตลักษณ์ของชุมชน ประกอบด้วย 4 แนวทาง ได้แก่ 1. ผ้า Eco print  ประกอบด้วย ผ้าชิ้น ผ้าคลุมไหล่ เสื้อยืด 2. ผลิตภัณฑ์แปรรูป ประกอบด้วย ผ้าซิ่น ร่ม  3. นำเศษผ้ามาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์รองเท้าโบโร่แบบตัดปะผ้าเศษจากตีนจกและผ้า Eco print  และ 4. การเป็นแหล่งเรียนรู้ของชุมชนเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์หัตถกรรมผ้าทอมือและผ้า Eco print   สำหรับผลิตภัณฑ์ Eco print ที่เป็นอัตลักษณ์ชุมชนมีความเห็นร่วมกันในการจัดทำผ้าซิ่นจากผ้า Eco print   ซึ่งจะยึดตามแนวทางการทำผ้าซิ่นของอำเภอลองจะมีส่วนประกอบ 3 ส่วน  คือ มีส่วนประกอบหัวซิ่น ตัวซิ่น และตีนซิ่น  ไม่นิยมทอเต็มผืน  จึงนำแนวคิดดังกล่าวมาประยุกต์การนำผ้าทอมือส่วนที่เป็นตัวซิ่นมาต่อกับผ้า Eco print   ผ้าซิ่นทอมือมีลวดลายเฉพาะ เรียกว่า ตัวซิ่นต๋า มีลักษณะเป็นลายทางยาวตามเอกลักษณ์ของไทยวน ทำให้มีลักษณะที่แตกต่างจากคู่แข่งขันในตลาด ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ พบว่า สมาชิกกลุ่มมีรายได้จากการจำหน่ายผลิตภัณฑ์เพิ่มขึ้นร้อยละ 60  ด้านสังคม มีการจัดตั้งศูนย์เรียนรู้ของชุมชน และด้านสิ่งแวดล้อม ชุมชนเกิดจิตสำนึกในการอนุรักษ์ต้นไม้ เพื่อนำมาทำลวดลายบนผ้า

Article Details

บท
Articles

References

เกชา ลาวงษา, สุจาริณี สังข์วรรณะ และวีระศักดิ์ ศรีลารัตน์. 2565. การศึกษาการย้อมสีใบตะขบด้วยฝางเพื่องานพิมพ์สีธรรมชาติด้วยเทคนิคการถ่ายโอนสีสู่ผ้าฝ้าย. วารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี . 17, 3: 57-96.

ณัฐธิดา ภู่จีบ. 2566. การศึกษาความแตกต่างของการติดสีสำหรับพืชแต่ละชนิดผ่านการทดลองMordant ธรรมชาติด้วยเทคนิค Eco-printing. วารสารศิลป์ พีระศรี. 1, 11: 1-18.

ณัฐวุฒิ เงาะหวาน และเกษม มานะรุ่งวิทย์. 2565. การศึกษาการย้อมสีเส้นด้ายฝ้ายด้วยสีธรรมชาติจากใบสาบเสือ. วารสารสังคมศาสตร์วิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย. 15, 1: 116-131.

วีระศักดิ์ ศรีลารัตน์, สุจาริณี สังข์วรรณะ, ภัทรภร พุฒพันธ์, ธิติรัตน์ วงษ์กาฬสินธุ์, ณรัช พรนิธิบุญ และธนัง ชาญกิจชัญโญ. 2565. การพิมพ์สีธรรมชาติจากใบเพกาด้วยเทคนิคการถ่ายโอนสีสู่ผ้าฝ้าย.วารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. 17, 1: 45-55.

สุภสิทธิ์ พันแน่น. 2566. การศึกษาผลการจัดประสบการณ์แบบบูรณาการ เรื่องศิลปะผ้าพิมพ์สีและลวดลายจากใบไม้ของนักศึกษาชั้นปีที่ 1. วารสารสมาคมพัฒนาวิชาชีพการบริหารการศึกษาแห่งประเทศไทย. 5, 2: 53-61.

บจก. โอวรุ่งเรืองค้าผ้า จำกัด. 2566. ชนิดของเส้นใยผ้า สิ่งที่คุณควรรู้. [ออนไลน์] ได้จากhttps://aowfabric.com/textile-fibres/

Ananth, S., Vivek, P., Arumanayagam, T., & Murugakoothakoothan, P. 2014. Natural dye extract of lawsonia inermis seed as photo sensitizer for titanium dioxide-based dye sensitized solar cells. Spectrochemical Acta Part A: Molecular and Biomolecular Spectroscopy. 128, 420–426.

Baig, U., Khatri, A., Ali, S., Sanbhal, N., Ishaque, F., & Junejo, N. 2020. Ultrasound-assisted dyeing of cotton fabric with natural dye extracted from Marigold flower. Journal of The Textile Institute. 112, 5: 801–808.

Djandjang, P. S. & Vincentia, T. S. 2019. Mix Teknik Eco print dan Teknik Batik Berbahan Warna Tumbuhan Dalam Penciptaan Karya Seni Tekstil. CORAK Journal Seni Kriya. 8,1: 1-11.