แนวทางการปรับปรุงห้องน้ำสาธารณะเมืองแพร่โดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วม กรณีศึกษา ห้องน้ำสาธารณะ วัดพระธาตุช่อแฮ จังหวัดแพร่
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยชิ้นนี้เป็นการศึกษาแนวทางการปรับปรุงห้องน้ำสาธารณะ กรณีศึกษา ห้องน้ำสาธารณะ วัดพระธาตุช่อแฮ จังหวัดแพร่ โดยการนำกระบวนการออกแบบโดยยึดผู้ใช้เป็นศูนย์กลาง (User-Centered Design) และการออกแบบอย่างมีส่วนร่วม (Participatory Design) มาปรับใช้ออกแบบปรับปรุงห้องน้ำภายในวัดพระธาตุช่อแฮ รองรับการใช้งานสำหรับบุคคลทุกกลุ่มในชุมชน และช่วยออกแบบสภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมสุขภาวะของชุมชน โดยมีกระบวนการวิจัยดังนี้ คือ 1) สำรวจกายภาพห้องน้ำวัดพระธาตุช่อแฮในปัจจุบัน 2) กิจกรรมเชิงปฏิบัติการ ระดมความคิด ให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้ใช้งานในชุมชนและบริบท 3) นำเสนอแบบร่างเพื่อร่วมตัดสินใจ กำหนดรูปแบบที่ต้องการ 4) ปรับปรุงและพัฒนาการออกแบบปรับปรุงห้องน้ำภายในวัดพระธาตุช่อแฮ 5) นำเสนอและสรุปผลการออกแบบเพื่อส่งมอบแก่ชุมชน
ผลการวิจัยสรุปได้ว่า แบบที่ชุมชนต้องการเลือกจากการนำข้อดี และความเป็นไปได้ของแบบร่างมาพัฒนาแบบสุดท้ายและส่งมอบให้กับชุมชนวัดพระธาตุช่อแฮ เพื่อใช้ในการปรับปรุงห้องน้ำเก่าที่เสื่อมโทรมให้สะอาดและถูกสุขอนามัย ตลอดจนคำถึงถึงบริบทโดยรอบเป็นสำคัญ ทั้งนี้นอกจากภาพลักษณ์และการใช้งานแล้ว แบบห้องน้ำยังได้คำนึงถึงวัสดุที่ใช้ และงบประมาณเป็นสำคัญด้วยเช่นกัน
Article Details
บทความนี้ได้รับการเผยแพร่ภายใต้สัญญาอนุญาต Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0) ซึ่งอนุญาตให้ผู้อื่นสามารถแชร์บทความได้โดยให้เครดิตผู้เขียนและห้ามนำไปใช้เพื่อการค้าหรือดัดแปลง หากต้องการใช้งานซ้ำในลักษณะอื่น ๆ หรือการเผยแพร่ซ้ำ จำเป็นต้องได้รับอนุญาตจากวารสาร