เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน เพื่อส่งบทความ

ในขั้นตอนการส่งบทความ ผู้แต่งต้องตรวจสอบและปฏิบัติตามข้อกำหนดรายการตรวจสอบการส่งทุกข้อ ดังต่อไปนี้ และบทความอาจถูกส่งคืนให้กับผู้แต่งกรณีที่ไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดทั้งหมด

  • The submission has not been previously published, nor is it before another journal for consideration (or an explanation has been provided in Comments to the Editor).
  • The submission file is in OpenOffice, Microsoft Word, or RTF document file format.
  • Where available, URLs for the references have been provided.
  • The text is single-spaced; uses a 12-point font; employs italics, rather than underlining (except with URL addresses); and all illustrations, figures, and tables are placed within the text at the appropriate points, rather than at the end.
  • The text adheres to the stylistic and bibliographic requirements outlined in the Author Guidelines.
  • กรุณาแจ้งเบอร์โทรศัพท์ที่ติดต่อได้ เพื่อสำหรับติดต่อประสานงาน

วิธีการจัดทำต้นฉบับบทความ จำนวน 10-15 หน้ากระดาษ A4 

1.ชื่อเรื่อง มีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
2.ชื่อผู้เขียน ระบุชื่อ-นามสกุลเต็มของผู้เขียน และผู้เขียนร่วมทุกคน ทั้งชื่อภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ทั้งในต้นฉบับและในกระบวนการจัดส่งผลงานเข้าระบบ
3.หน่วยงานหรือสังกัดของผู้เขียนและผู้เขียนร่วมทุกคน ให้ระบุชื่อหน่วยงานหรือสังกัด ของผู้เขียน ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ในรูปแบบเชิงอรรถ
4.บทคัดย่อ มีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ความยาวไม่เกิน 300 คำ และระบุคำสำคัญ จำนวน 3 คำ ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
5.ที่มาและความสำคัญ เรียบเรียงโดยแสดงถึงความสำคัญและที่มาของงานวิจัย หรืออธิบายความสำคัญของประเด็นปัญหา ปรากฎการณ์ที่ผู้เขียนมุ่งนำเสนอในบทความ ตรวจเอกสารที่เกี่ยวข้อง และวัตถุประสงค์ของงานวิจัยหรือเป้าหมายของบทความ
6.วัตถุประสงค์ : สามารถนำมาจากรายงานฉบับสมบูรณ์ได้ หรืออาจสรุปให้กระชับยิ่งขึ้นได้ ในกรณีที่เขียนบทความเชิงวิชาการให้อธิบายเป้าหมายหลักของการนำเสนอบทความที่มุ่งให้ผู้อ่านเข้าใจ
7. สมมติฐานการวิจัย: ในกรณีที่ท่านเขียนบทความวิจัยเชิงปริมาณ ควรระบุสมมติฐานการวิจัยให้เรียบร้อย
8. กรอบแนวคิดและทฤษฎี : สำหรับบทความวิจัยอาจแสดงด้วยแผนภาพ พร้อมทั้งเขียนพรรณนาสรุปถึงแนวคิดและทฤษฎีที่ใช้ในการวิจัย ไม่ควรใส่เฉพาะชื่อแนวคิดและทฤษฎี สำหรับบทความวิชาการไม่จำเป็นต้องระบุกรอบแนวคิด แต่สามารถนำเสนอแนวคิดและทฤษฎีที่ผู้เขียนได้ใช้เพื่อนำเสนอแนวคิดในบทความแทน
9.วิธีการวิจัย : สำหรับบทความวิจัยให้สรุปว่าใช้การวิจัยรูปแบบใด ประชากรหรือแหล่งข้อมูลเป็นใคร ขนาดตัวอย่างหรือจำนวนผู้ให้ข้อมูลเท่าไร เป็นใครบ้าง การทดสอบคุณภาพของเครื่องมือ วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล และการวิเคราะห์ข้อมูลแบบสั้น ๆ สำหรับบทความวิชาการไม่จำเป็นต้องนำเสนอวิธีวิจัย ผู้เขียนอาจใช้การอธิบายแนวทางหรือหลักการที่ผู้เขียนใช้ในการนำเสนอแนวคิด
10.ผลการวิจัยและอภิปรายผล : ไม่ควรนำผลการวิจัยในบทที่ 4 ของรายงานฉบับสมบูรณ์มาใส่ทั้งหมด แต่ควรเป็นการสรุปผลการวิจัย (เน้นไปที่ผลการทดสอบสมมติฐานหรือประเด็นสำคัญตามวัตถุประสงค์) โดยอาจจะกล่าวถึงผลการวิจัยและอภิปรายผลไปพร้อมกันในแต่ละประเด็นได้เลย ทั้งนี้อาจนำเสนอตารางหรือแผนภาพเฉพาะที่เป็นการสรุปผลการวิจัย ไม่ควรนำเสนอตารางหรือแผนภาพที่เป็นรายละเอียดทั้งหมด
11.ข้อเสนอแนะ : สำหรับบทความวิจัยควรมีข้อเสนอแนะจากผลการวิจัยในประเด็นที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ โดยไม่ต้องกล่าวทวนซ้ำถึงผลการวิจัย และอาจมีข้อเสนอแนะสำหรับเป็นแนวทางในการวิจัยครั้งต่อไปด้วย แต่ไม่ควรขาดข้อเสนอแนะจากผลการวิจัย สำหรับบทความวิชาการอาจนำเสนอแนวทางที่ผู้เขียนมุ่งเสนอสำหรับการหาทางออกหรือมุมมองต่อปรากฎการณ์และปัญหาที่เป็นจุดสนใจของบทความนี้

วิธีการเขียนเอกสารอ้างอิงตามแบบ APA Style
1.การเขียนอ้างอิงในเนื้อหา การอ้างอิงในบทความ กรณีผู้เขียนต้องระบุแหล่งที่มาของข้อมูลในเนื้อหาบทความ ให้ใช้วิธีการอ้างอิงในส่วนของเนื้อเรื่องแบบนาม-ปี (author-date in text citation) โดยระบุชื่อผู้แต่งที่อ้างอิง (ถ้าเป็นคนไทยระบุทั้งชื่อและนามสกุล ส่วนต่างชาติใช้ระบุเพียงชื่อสกุลเท่านั้น) พร้อมปีที่พิมพ์เอกสาร และอ้างอิงไว้ข้างหน้าหรือข้างหลังข้อความเพื่อบอกแหล่งที่มาของข้อความนั้น และควรระบุเลขหน้าของเอกสารที่อ้างอิงไว้ด้วย กรณีที่อ้างมาแบบคำต่อคำ ต้องระบุเลขหน้าของเอกสารที่อ้างอิงทุกครั้ง
2.การเขียนอ้างอิงในส่วนรายการรอ้างอิง เมื่อมีการอ้างอิงในบทความ ให้จัดทำรายการเอกสารอ้างอิงเป็นบรรณานุกรม (bibliography) ท้ายเรื่องไว้ด้วย โดยรวบรวมเอกสารทั้งหมดที่ผู้เขียนอ้างอิงในบทความในการเขียนบทความให้จัดเรียงรายการตามลำดับตัวอักษรผู้แต่งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ โดยใช้รูปแบบการเขียนเอกสารอ้างอิงแบบ APA (American Psychology Association)