กลยุทธ์การสื่อสารเพื่อสร้างอัตลักษณ์ผู้ประกาศข่าวรายการเรื่องเล่าเช้านี้กรณีศึกษาสรยุทธ สุทัศนะจินดา : ผ่านมุมมองผู้ควบคุมการผลิตรายการ
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความเรื่อง “กลยุทธ์การสื่อสารเพื่อสร้างอัตลักษณ์ผู้ประกาศข่าวรายการเรื่องเล่าเช้านี้ กรณีศึกษาสรยุทธ สุทัศนะจินดา” เป็นวิจัยเชิงคุณภาพ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอัตลักษณ์ของรายการเรื่องเล่าเช้านี้ และเพื่อศึกษากลยุทธ์การสื่อสารเพื่อสร้างอัตลักษณ์ของผู้ประประกาศข่าวรายการเรื่องเล่าเช้านี้ โดยบทความนี้ ผู้วิจัยได้สัมภาษณ์เชิงลึก นายพัฒนพงศ์ สาระมาศ ผู้ควบคุมการผลิตรายการเรื่องเล่าเช้านี้ และนายสรยุทธ สุทัศนะจินดา ผู้ประกาศข่าวรายการเรื่องเล่าเช้านี้ ผลการวิจัยพบว่า อัตลักษณ์ของรายการเรื่องเล่าเช้านี้ คือรายการเล่าข่าวซึ่งเป็นรายการแรกของช่อง 3 และคุณสรยุทธ สุทัศนะจินดา โดย การสื่อสารอัตลักษณ์ของรายการ นั้นจะแบ่งออกเป็น 4 แบบ แบบแรก อัตลักษณ์ด้านกราฟิก คือโลโก้และโทนสี อัตลักษณ์ด้านกราฟิก ของรายการเรื่องเล่าเช้านี้ซึ่งในส่วนของโลโก้คือ ลายมือของคุณสรยุทธ สุทัศนะจินดา ผู้ประกาศข่าวหลักประจำรายการ ส่วนโทนสีที่ใช้สำหรับรายการคือ สีส้มและสีเหลืองซึ่งเป็นสีที่ดูสดใสและมีพลังเหมาะกับเวลาออกอากาศในตอนเช้า แบบที่สอง อัตลักษณ์ที่สัมผัสได้ด้วยประสาทสัมผัสทั้ง 5 ได้แก่ รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส คือท่าทางในการนำเสนอข่าวและน้ำเสียงที่เป็นเอกลักษณ์ของผู้ประกาศ ซึ่งเป็นสัมผัสที่สำคัญของรายการที่เป็นที่จดจำของผู้ชม แบบต่อมา อัตลักษณ์ที่เชื่อมโยงกับพฤติกรรมของผู้บริโภค คือการเลือกนำเสนอข่าวที่สำคัญในแต่ละวัน โดยจะเน้นไปที่ข่าวนโยบายของภาครัฐที่มีผลต่อการดำเนินชีวิตของผู้ชมส่วนมาก แบบสุดท้าย อัตลักษณ์ที่เน้นคุณสมบัติของแบรนด์หรือสินค้า คือคุณสมบัติของแบรนด์หรือสินค้าเรื่องเล่าเช้านี้คือคุณสรยุทธเป็นแบรนด์สินค้าของรายการด้วยการที่ เล่าข่าวได้เข้าใจง่าย ประกอบกับการมีรีแอ๊คชั่นกับคุณผู้ชมเช่นการอ่าน SMS ตลอดเพื่อเป็นการสื่อสารกับคนดูอีกทางหนึ่ง และอีกสิ่งหนึ่งที่ทำให้ รายการเรื่องเล่าเช้านี้แตกต่างจากรายการเล่าข่าวรายการอื่นก็คือ การเปิดประเด็นในสังคมโดยการตั้งข้อสังเกต หรือข้อสงสัย รวมไปถึงการมีโครงการช่วยเหลือสังคมซึ่งเปรียบเหมือน CSR รายการอีกรูปแบบหนึ่ง โดยจะเป็นตัวที่ทำให้แฟนรายการเหนียวแน่นอยู่กับรายการดูรายการอย่างยาวนานเพราะสามารถเข้าถึงสังคม ชุมชนได้จริง ๆ ในส่วน การบริหารจัดการเพื่อสื่อสารอัตลักษณ์ผ่านกระบวนการผลิตรายการ ซึ่งแบ่งออกเป็น ขั้นตอนก่อนการผลิตรายการ ทีมงานจะมีการอัพเดตข่าวตลอดทั้งวัน และรวบรวมประเด็นข่าวต่าง ๆ รวมไปถึงเขียนสคริปต์และรีไรท์ข่าวประเด็นที่สำคัญในแต่ละวันก่อนนำเข้าสู่การผลิตรายการ ขั้นตอนผลิตรายการ จะมีการใช้ภาพจากสื่อสังคมออนไลน์ในแต่ละ Platform ที่มีค่อนข้างมากจึงทำให้ต้องมีการขออนุญาตจากเจ้าของภาพทุกครั้งเพื่อไม่ให้เกิดการฟ้องร้องในเรื่องของลิขสิทธิ์ และสุดท้าย ขั้นตอนหลังการผลิต จะมีการประเมินว่าข่าวที่นำเสนอไปในแต่ละวัน Feedback ของผู้ชมและคนในสังคมมากน้อยแค่ไหน ซึ่งเปรียบเสมือนเป็นการวัดเรตติ้งหรือความสำเร็จในการนำเสนอข่าว กลยุทธ์การสื่อสารเพื่อสร้างของผู้ประกาศข่าวรายการเรื่องเล่าเช้านี้ โดยวัตถุประสงค์หลักก็คือการที่ทำให้ผู้ชมเข้าใจในข่าวต่าง ๆ อย่างง่าย โดยแบ่งออกเป็น 1. สาร(Message) ผู้ประกาศข่าวมองที่สารหรือข่าวเป็นหลัก 2. วิธีการสื่อสารก็คือการเล่าข่าว 3. กลยุทธ์การสื่อสาร คือการใช้ภาษาพูด ไม่ใช่ภาษาที่สละสลวย เน้นภาษาที่เข้าใจง่าย ท่าทางที่เป็นเอกลักษณ์จนเป็นที่จดจำ การนั่งขย่มตัว โยกซ้ายโยกขวา ซึ่งผู้ประกาศข่าวทุกคนนั้นจะมีเสน่ห์ในการเล่าของตนเอง โดยสิ่งเหล่านี้จะออกมาแบบอัตโนมัติระหว่างการเล่าข่าว ไม่ได้ผ่านการปรุงแต่งใด ๆ
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์บทความ
References
ภาษาไทย
กนกกาญจน์ โรจนศิลป์. (2560). ตระกูลรายการโทรทัศน์ ช่อง NOW 26 (Online). จาก https://praeprstation.blogspot.com/2017/04/blog-post.html
จิราภรณ์ สุวรรณวาจกกสิกิจ. (2535). สู่เส้นทางผู้ประกาศ. สืบค้น 13 มิถุนายน 2564, จากhttps://www.stou.ac.th/thai/schools/sca/document/%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B8%B9%E0%B9%88%E0%B8%9C%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A8-%E0%B8%A3%E0%B8%A8.%E0%B8%88%E0%B8%B4%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A0%E0%B8%A3%E0%B8%93%E0%B9%8C.htm
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์. (2564) “สรยุทธ” คุมข่าวช่อง 3 เต็มตัว เรตติ้งขยับขึ้นยกแผง. สืบค้น 14 พฤษภาคม 2564,จาก https://www.prachachat.net/marketing/news-667660
ยุบล เบ็ญจรงค์กิจ. (2554). การวางแผนและกรประเมินผลการสื่อสารเชิงกลยุทธ์. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วรรณรัตน์ รัตนวรางค์ และ ณปิติยา บรรจงจิตร์.(2552). นิเทศศาสตร์ประยุกต์กับการสื่อสารสุขภาพ: สื่อสารอย่างไรคนไข้เข้าใจไม่มีปัญหา. วารสารไทยเภสัชศาสตร์และวิทยาการสุขภาพ, 4(4).
สายสวรรค์ ขยันยิ่ง. (2553). เทคนิคการสื่อสารแบบผู้ประกาศข่าว. สืบค้น 17 มิถุนายน 2564 ,จาก http://www.saisawankhayanying.com/s-report/technical-communication/
สำนักนโยบายและวิชาการกระจายเสียงและโทรทัศน1, สำนักงาน กสทช. และสถาบันอาณาบริเวณศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. (2563). วิเคราะห์ประเภทรายการโทรทัศน์จำแนกตามอายุ.สืบค้นเมื่อ 12 มิถุนายน 2564, จาก http://www.bizpromptinfo.com/%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%9C%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B8%8AE0%B8%A1%E0%B9%82%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B8%97%E0%B8%B1%E0%B8%A8%E0%B8%99/
Bizprompt. (2563). ‘รายการข่าว’ ยืนหนึ่งกลุ่มรายการผู้ชมโทรทัศน์นิยมสูงสุด. สืบค้น 12 มิถุนายน 2564, จากhttp://www.bizpromptinfo.com/%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%9C%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B8%8A%E0%B8%A1%E0%B9%82%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B8%97%E0%B8%B1%E0%B8%A8%E0%B8%99/
ภาษาต่างประเทศ
CNN Official. (2021) Anchors and reporters. Retrieved from https://edition.cnn.com/specials/tv/anchors-and-reporters.